อุบัติการณ์ความผิดปกติของโครโมโซมทารกจากน้ำคร่ำในหญิงไทยตั้งครรภ์ (Incidence of the fetal chromosomal abnormalities of amniocentesis in pregnant Thai women)

Authors

  • อัญชลี ระวังการ Anchalee Rawangkan สาขาวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา 56000 Microbiology and Parasitology Division, School of Medical Science, University of Phayao, Phayao 56000, Thailand
  • วิลาวัลย์ บำรุงหมู่ Wilawan Bamrungmu สาขาวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา 56000 Microbiology and Parasitology Division, School of Medical Science, University of Phayao, Phayao 56000, Thailand
  • วิภา สุวรรณชัยรบ Wipha Suwannachairop ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ กรุงเทพฯ 10220 Medical Genetics Center, Bangkok 10220, Thailand
  • วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ Verayuth Praphanphoj ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ กรุงเทพฯ 10220 Medical Genetics Center, Bangkok 10220, Thailand

DOI:

https://doi.org/10.14456/tjg.2015.3

Keywords:

ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์, การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด, การเจาะตรวจน้ำคร่ำ, มารดาอายุมาก, fetal chromosome abnormalities, prenatal diagnosis, amniocentesis, advanced maternal age

Abstract

Chromosomes contain genetic material and responsible for the control and transmit of the genetic information from parents to offspring. The chromosomal abnormalities can cause a risk to the physical conditions and mental disorders. This study reported the incidence of the chromosomal abnormalities in Thai pregnancy and also the maternal age factor associated with the chromosomes abnormalities. Retrospective reviews of the amniocentesis database from the Medical Genetics Center between December 2012 and September 2014 were analyzed in total of 8,960 cases. The incidence study was performed using 

Logistic regression to analyze the fetal chromosome abnormalities according to the advanced maternal age. The results shown that 304 amniotic fluid cases were the chromosomal abnormalities (incidence rate = 33.93), including 195 cases of karyotype abnormalities (incidence rate = 21.76), 41 cases of structural chromosome abnormalities (incidence rate = 4.58), and 56 cases of normal variants (incidence rate = 6.25). The most common of numerical chromosome abnormalities was a trisomy 21 (incidence rate = 11.5), whereas the trisomy 18 was a rare case (incidence rate = 4.91). On the other hand, the most common of structural chromosome abnormalities was the translocation (incidence rate = 1.79). However, the rate of chromosomal abnormality incidence in pregnancy, such as the trisomy 21, trisomy 18, 47,XXX, and the numerical chromosome abnormalities shows statistically significant correlated with the advanced maternal age (p<0.05).

โครโมโซมเป็นสารพันธุกรรมในการควบคุมและถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากพ่อแม่สู่ลูก เมื่อมีความผิดปกติของโครโมโซมเกิดขึ้นมักจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกายและสติปัญญา ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังเกี่ยวกับอุบัติการณ์ความผิดปกติของโครโมโซมในหญิงไทยตั้งครรภ์และศึกษาปัจจัยอายุของมารดาที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซม โดยทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากรายงานผลการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมจากน้ำคร่ำของศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึง กันยายน พ.ศ. 2557 จำนวนทั้งสิ้น 8,960 ราย การศึกษาอัตราอุบัติการณ์ความผิดปกติของโครโมโซมที่มีความสัมพันธ์กับอายุของมารดาโดยวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis) พบว่าตัวอย่างน้ำคร่ำมีความผิดปกติของโครโมโซมจำนวน 304 ราย คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 33.93 ประกอบด้วยความผิดปกติของโครโมโซมเชิงจำนวน 195 ราย (อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 21.76) ความผิดปกติของโครโมโซมเชิงโครงสร้าง 41 ราย (อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 4.58) ความผิดปกติของโครโมโซมที่สามารถพบได้ในคนปกติ (normal variants) จำนวน 56 ราย (อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 6.25) โดยความ

ผิดปกติของโครโมโซมเชิงจำนวนที่พบมากที่สุด ได้แก่ trisomy 21 (อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 11.05) รองลงมา คือ trisomy 18 (อุบัติการณ์เท่ากับ 4.91) ส่วนความผิดปกติของโครโมโซมเชิงโครงสร้างที่พบมากที่สุด ได้แก่ translocation (อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 1.79) อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราอุบัติการณ์ความผิดปกติของโครโมโซมชนิด trisomy 21, trisomy 18, 47,XXX และความผิดปกติของโครโมโซมเชิงจำนวน มีความสัมพันธ์กับอายุของมารดาที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

References

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล (2558) การวิเคราะห์ Logistic Regression สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เอกสารการบรรยาย แหล่งที่มา: http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=701 (มกราคม 2558).

สมแข พวงเพ็ชร เชฐตุพล พูลจันทร์ จริยา ข่ายม่าน อุไรวรรณ จิโนรส สินิจธร รุจิระ บรรเจิด พรพรต ลิ้มประเสริฐ (2551) ผลโครโมโซมจากการตรวจเลือด: ประสบการณ์18 ปี ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ Thai J Genet 1: 146–162.

สุพรรณ ฟู่เจริญ (2556) ธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในภาคอีสานและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง Thai J Genet S: 17–22.

สุรชัย ว่องวิไลรัตน์ (2553) ภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะน้ำคร่ำโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจติดปลายเข็ม Buddhachinaraj Med J 27: 495–501.

สุธิราภรณ์ จันวดี วรางคณา ชัชเวช ฐิติมา สุนทรสัจ (2556) ผลของการให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ เปรียบเทียบระหว่างการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวและการใช้สื่อวิดิทัศน์ร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบย่อ สงขลานครินทร์เวชสาร 31: 245–252.

อมรา คัมภิรานนท์ (2546) พันธุศาสตร์มนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์ เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น, กรุงเทพฯ.

อัญชลี ระวังการ นงลักษณ์ เจนวิถี พีระพล วอง แน่งน้อย เจิมนิ่ม (2556) ความชุกของผู้มียีนแฝงธาลัสซีเมียจากการตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย Thai J Genet 2013, S: 156–159.

Kim YJ, Lee JE, Kim SH, Shim SS, Cha DH (2013) Maternal age-specific rates of fetal chromosomal abnormalities in Korean pregnant women of advanced maternal age. Obstet Gynecol Sci 56:160–166.

Luthardt FW, Keitges E (2001) Chromosomal Syndromes and Genetic Disease. Wiley Online Library.

Ocak Z, Özlü T, Yazıcıoglu HF, Özyurt O, Aygün M (2014) Clinical and cytogenetic results of a large series of amniocentesis cases from Turkey: Report of 6124 cases. J Obstet Gynaecol Res 40: 139–146.

Park IY, Kwon JY, Kim YH, Kim M, Shin JC (2010) Maternal Age-Specific Rates of Fetal Chromosomal Abnormalities at 16–20 Weeks’ Gestation in Korean Pregnant Women ≥ 35 Years of Age. Fetal Diagn Ther 27: 214–221.

Sener T, Mehmet Y, Ibrahim S, Haktan BE, Ragip AA, Metin I, Abdulgani T (2014) Retrospective analysis of 1429 cases who underwent amniocentesis and cordocentesis. Perinatal J 22: 138–141.

Shaffer LG, McGowan-Jordan J, Schmid M (2013) An International System for Human Cytogenetic Nomenclature (2013). Cytogenet Genome Res, Basel Karger.

Yaegashi N, Senoo M, Uehara S, Suzuki H, Maeda T, Fujimori K, Hirahara F, Yajima A (1998) Age-specific incidences of chromosome abnormalities at the second trimester amniocentesis for Japanese mothers aged 35 and older: collaborative study of 5484 cases. J Hum Genet 43: 85–90.

Zhang YP, Wu JP, Li XT, Lei CX, Xu JZ and Yin M (2011) Karyotype analysis of amniotic fluid cells and comparison of chromosomal abnormality rate during second trimester. Zhonghua FuChan Ke Za Zhi 46: 644–648.

Downloads

Issue

Section

Research Articles