Announcements

ITECH New : แจ้งการเปลี่ยนชื่อวารสารและเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)

การเปลี่ยนชื่อวารสาร

ขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เปลี่ยนชื่อวารสารเป็น "วารสารวิชาการวิทยสารบูรณาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมประยุกต์" ชื่อภาาษาอังกฤษ "Wittayasara: Integration Apply Engineering and Industrial Technology" เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2567  ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป เพื่อให้สื่อถึงขอบเขตเนื้อหาของวารสาร และความเป็นสากลมากขึ้น และยังคงใช้เว็บไซต์เดิมในการเผยแพร่บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร

การปรับเปลี่ยนเลขมาตรฐานสากล

วารสารได้ดำเนินการยกเลิกการใช้เลขมาตรฐานสากลเดิม ISSN 1906-5337 (Print) และ ISSN: 2672-9539 (Online) ทั้งนี้ได้ดำเนินการขอเลข ISSN ใหม่ คือ ISSN 3027-8376 (Print) และ ISSN: 3056-9559 (Online) 

******************************

ITECH New : เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565......คณะกรรมการกองบรรณาธิการวารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดย ผศ.พงษ์สวัสดิ์ อำนาจกิติกร บรรณาธิการ พร้อมด้วย รศ.ดร.อนิรุจน์ มะโนธรรม รศ.ธิติมา คุณยศยิ่ง และ ผศ.ดร.วศิน์วิโรตม์ เนติศักดิ์ ตามที่กองบรรณาธิการ ได้จัดประชุม เนื่องในวาระเกษียณราชการของบรรณาธิการ โดยมี ผศ.ศุภวุฒิ ผากา คณบดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติร่วมกัน ให้ ผศ.ศุภวุฒิ ผากา ดำรงตำแหน่ง บรรณาธิการฯ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

********************************

E-Mail : journalItech@gmail.com และ journalItech@hotmail.com

เบอร์โทรศัพท์ 054-237399 ต่อ 1339 

Lampang Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

南邦皇家大學

 

 

  • จริยธรรมการตีพิมพ์

    2019-06-27

    จริยธรรมของการตีพิมพ์ (Publication Ethics) วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

                     วารสารคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าของผู้วิจัยสู่สังคมโดยรวม ควบคู่กับการคงไว้ซึ่งมาตรฐานด้านจริยธรรมสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นคาดหวังสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ผู้นิพนธ์    ผู้ตรวจประเมินบทความและบรรณาธิการ จะต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ที่วารสารกำหนดบทบาทและหน้าที่ไว้อย่างเคร่งครัด ดังนี้

     

    บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

                     1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความ ทั้งรูปแบบและคุณภาพของบทความ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร ก่อนกระบวนการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่

                     2. บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความบนพื้นฐานของการใช้หลักเหตุผล และคุณค่าทางวิชาการ โดยปราศจากผลประโยชน์เชิงธุรกิจหรือผลประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งปราศจากอคติใด ๆ ที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์

                     3. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) และการพิมพ์ซ้ำซ้อน (Duplication)  เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือผลงานตนเองโดยตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาแล้ว

                     4. ในกระบวนการประเมินบทความหากตรวจพบการคัดลอกผลงานผู้อื่น หรือเหตุความไม่แน่ใจหรือข้อสงสัยที่สำคัญ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลัก เพื่อให้โอกาสแก่ผู้นิพนธ์ชี้แจงก่อนการตัดสินใจ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความ นั้น ๆ        

                     5. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ตรวจประเมินบทความ รวมถึงบรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ

                     6. บรรณาธิการต้องมีระบบในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของ ผู้นิพนธ์ ผู้ตรวจประเมินบทความ รวมทั้งการปกปิดเนื้อหาหรือข้อมูลในบทความที่อยู่ในกระบวนประเมินบทความ มิให้เผยแพร่แก่ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

                     7. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสารให้เป็นตามวัตถุประสงค์ของวารสาร ต้องปรับปรุงและพัฒนาวารสารให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และมีความทันสมัย

                     8. บรรณาธิการควรรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับการตีพิมพ์เผยแพร่ เต็มใจที่จะแก้ไข การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย

     

    บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)

                     1. ผลงานของผู้นิพนธ์ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น

                     2. บทความของผู้นิพนธ์จะต้องไม่มีส่วนใดที่เป็นการลอกเลียนผลงานวิชาการ (Plagiarism) ทั้งของตนเองและผู้อื่น กรณีนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงในบทความของตนเอง จะต้องอ้างอิงผลงานนั้น ๆ อย่างถูกต้องและครบถ้วน

                     3. ผู้นิพนธ์ต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง บิดเบือน ปลอมแปลง หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ ข้อสรุปที่ได้นำเสนอในบทความควรอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานที่เกิดจากการศึกษาวิจัย ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัว

                     4. ผู้นิพนธ์พึงตระหนักว่าแต่ละวารสารมีวัตถุประสงค์และมาตรฐานที่แตกต่างกัน ผู้นิพนธ์ควรต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการของวารสาร การจัดทำบทความต้องจัดรูปแบบให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของเนื้อหาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร 

                     5. หากบทความของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และสัตว์ทดลอง ต้องเป็นผลงานที่ได้ดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลอง

                     6. ชื่อผู้นิพนธ์ทุกชื่อที่ปรากฏในบทความจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมที่สำคัญในการทำวิจัย กรณีมีผู้นิพนธ์หลายคน ต้นฉบับบทความควรได้รับความเห็นชอบจากผู้นิพนธ์ทุกคนในการส่งต้นฉบับให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์

     

     บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewer)

                     1. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยต้องประเมินคุณภาพบทความด้วยความเป็นกลางบนพื้นฐานของหลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว

                     2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานที่ตนเองทำการประเมิน ไม่เสนอแนะให้ผู้นิพนธ์อ้างอิงผลงานใดด้วยเจตนาเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง 

                     3. หากผู้ประเมินบทความตรวจพบว่า ผู้นิพนธ์บทความกระทำผิดจรรยาบรรณ ในประเด็น การลอกเลียนผลงานวิชาการ (Plagiarism) การพิมพ์ซ้ำซ้อน (Duplication) การบิดเบือนผลการวิจัย การใช้ผลการวิจัยหรือข้อมูลอันเป็นเท็จ ต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที

                     4. ผู้ประเมินบทความพึงให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้นิพนธ์ การชี้ถึงจุดเด่นและจุดอ่อนของผลงานเพื่อการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของบทความให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการส่งผลการประเมินตามกรอบเวลาประเมิน เพื่อให้กระบวนการประเมินบทความเสร็จสิ้นทันตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด

     

    กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

    Read more about จริยธรรมการตีพิมพ์