การพัฒนาส่วนผสมของเนื้อดินปั้นโดยใช้แหล่งดินบ้านหนองหัวยาง เพื่อทำผลิตภัณฑ์สโตนแวร์

Main Article Content

เพียรพิณ ก่อวุฒิพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาส่วนผสมของเนื้อดินปั้นสำหรับทำผลิตภัณฑ์สโตนแวร์ มีวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบสมบัติของเนื้อดินปั้นที่มีอัตราส่วนผสมระหว่างดินบ้านหนองหัวยาง ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับดินขาวระนอง และทราย ด้วยการเลือกแบบเจาะจงจากตารางสามเหลี่ยม จำนวน 36 สูตรส่วนผสม โดยทำการเผาทดลองที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศออกซิเดชัน แล้วนำมาทดสอบสมบัติ             ทางกายภาพทั้งก่อนเผาและหลังเผา ได้แก่ ความหดตัว ความทนไฟ ความแข็งแรง การดูดซึมน้ำ และสีของเนื้อดินปั้น ขั้นตอนที่ 2 การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทถ้วยชามจากเนื้อดินปั้นสโตนแวร์ ด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและขึ้นรูปด้วยใบมีด


ผลการวิจัยพบว่า เนื้อดินปั้นจำนวน 22 สูตรส่วนผสม มีสมบัติตามเกณฑ์เนื้อดินปั้นสโตนแวร์ และคัดเลือกสูตรส่วนผสมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ คือ สูตรส่วนผสมที่ 17 ประกอบด้วยส่วนผสมของดินบ้านหนองหัวยาง ร้อยละ 30 ทราย ร้อยละ 20 และดินขาวระนอง ร้อยละ 50 มีค่าความหดตัวร้อยละ 11.08  มีค่าความแข็งแรง 190.30 Kg/cm3 และมีค่าการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 1.27 เพื่อทำการผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและขึ้นรูปด้วยใบมีด ซึ่งสามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ดีทั้งสองวิธี


Development of a clay mixture from Ban Nong Hua Yang soil for stoneware pottery production


The purpose of this research is to develop a mixture of clay for the manufacturing of stoneware.There are 2 steps to perform in this research project. The first step was to create a mixture of ceramic body and to study its various physical properties. The experimental samples were made up from various compositions of Ban Nong Hua Yang Clay (from Tha Thon in Phitsanulok province) and Ranong Clay. These 36 formulae were tested using a Purposive Sampling Technique along with a Triaxial Diagram of the different compositions at a temperature of 1230°C within an oxidation atmosphere. The testing of the physical properties were conducted before and after firing to measure shrinkage, the softening point, strength, water absorption and the fired color.


Step 2 in the research involved the production of tableware from a swivel wheel using the best composition selected from the results of step 1.


The results showed that 22 formulae passed the standard to be classed as stoneware clay. The 17th formula, which consisted of 30% Ban Nong Hua Yang Clay, 20% sand, and 50% Ranong clay was selected for te production. The shrinkage level was 11.08%, its strength was measured at 190.30 Kg/cm3, and water absorption of 1.27%. The product was formed by using a swivel wheel combined with a throwing and jigging method and gave good quality results.

Article Details

Section
บทความวิจัย