การพัฒนาเก้าอี้จากวัสดุพื้นถิ่น โดยใช้อัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษา:บ้านห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Authors

  • สิงหา ปรารมภ์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ภาควิชาโยธาและการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ถ.อินใจมี อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทร 055 411096 ต่อ 1361

Keywords:

เก้าอี้จากวัสดุพื้นถิ่น, อัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผา, chair from local materials, characteristic pattern of pottery

Abstract

การพัฒนาเก้าอี้จากวัสดุพื้นถิ่นโดยใช้อัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษา:บ้านห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายเครื่องปั้นดินเผาบ้าน ห้วยบง 2) เพื่อพัฒนาเก้าอี้โดยใช้อัตลักษณ์ลวดลายเครื่องปั้นดินเผา และ 3) เพื่อประเมินความพึง พอใจที่มีต่อเก้าอี ที่ใช้อัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผา

ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านห้วยบง ทราบว่า เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบเป็นไห มีทั้งหมด 7 แบบ และถ้วย มีจำนวน 9 แบบ ส่วนที่ 2 คือ นำผลที่ได้จากส่วนแรกสร้างต้นแบบเก้าอี้ ส่วนที่ 3 ทำการสอบถามความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 73 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการออกแบบที่มีความเหมาะสมกับเก้าอี้ โดย ใช้อัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ทุกรายการประเมิน ทั้งด้านความ เหมาะสมของรูปแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้ สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ลวดลายเครื่องปั้นดินเผา ความสวยงามของเก้าอี้ ลวดลายเหมาะสมกับการนำไปใช้การใช้วัสดุ รูปทรงของเก้าอี้ สามารถ สื่อถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ความเหมาะสมของโครงสร้างขนาดและสัดส่วน ของเก้าอี้และความพึงพอใจ โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับของความพึงพอใจมากอยู่ในระดับมาก เมื่อเทียบกับเกณฑ์ระดับ คะแนนของการประเมิน

 

A Chair Development form Local Materials by Adapting the Characteristic Patternof Pottery : A Study Case of Ban Huay Bong, Amphur muang, Uttaradit Province

The research studied the patterns of pottery produced by Ban Huay Bong community, and to use these patterns in the decoration of chairs made from local materials. These patterns were then evaluated by users. There were 7 patterns found on jars and 9 patterns found on cups. Suitable patterns were chosen and used in the decoration of chairs. Questionnaires were later sent to 73 respondents for evaluation of the chairs. The questionnaire was evaluated based on a five-point scale (from 1 to 5 corresponding to no satisfaction up to highly satisfied). The topics of evaluation included the suitability of the chair, the uniqueness of the pottery patterns, the attractiveness of the chair, the practicality of the chair, the choice of materials in making the chair, the shape of the chair, and its size and dimensions. The results showed that respondents were highly satisfied.

Downloads