การพัฒนาการจัดทำเอกสารวิชาการด้วยภาษา TeX

Authors

  • ธานินทร์ คูพูลทรัพย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง 52100 โทร 054-237352 โทรสาร 054-241079

Keywords:

โปรแกรมเรียงพิมพ์, เทค, ลาเทค, ซีเทค, typesetting program, TeX, LaTeX, XeTeX

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองสร้างเอกสารวิชาการด้วยโปรแกรมเรียงพิมพ์ LaTeX และ XeTeX ในเอกสาร 2 ประเภท ได้แก่รายงานวิจัยและบทความวิจัย เริ่มจากการใช้ package มาตรฐาน คือ xltxtra fontspec และ xunicode แล้วค่อยๆ เพิ่มการใช้งาน package เท่าที่จำเป็น ได้แก่ fancyhdr geometry natbib sectsty และ titlesec เพื่อให้ได้เอกสารที่มีลักษณะตามที่กำหนดโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง การประเมินประสิทธิผลเอกสารที่ทดลองสร้างขึ้น พบว่ามีปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ด้วยการใช้คำสั่งปกติ คือ เรื่องการอ้างอิงในเอกสาร สำหรับเจ้าของผลงานที่เป็นคนไทย เพราะการอ้างอิงนั้นจะดูที่คำสุดท้ายของชื่อ ซึ่งเป็นนามสกุล การแก้ไขให้อ้างอิงด้วยชื่อ ทำได้โดยการปรับแก้รูปแบบการอ้างอิงแบบชื่อเต็มของแฟ้มต้นแบบบรรณานุกรม

การนำต้นแบบ z รายงานวิจัยและบทความวิจัยไปใช้ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบข้อกำหนดเบื้องต้น เทคนิคในการวางตัวอักษร การสร้างตาราง และนำเข้ารูปภาพ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากบทที่ 2 ของรายงานวิจัยฉบับนี้

 

Development of Academic Document with TeX

This study aimed to create a document template for research reports and research articles using the typesetting programs LaTex and XeTex. The study used the standard packages xltxtra, fontspec and xunicode and gradually added other packages such as fancyhdr, geometry, natbib, sectsty and titlesec. The aim was to produce a document template as specified by the Faculty of Industrial Technology. During the trial of the template, it was found that there were some problems with citations from Thai authors that could not be solved using simple commands. The problem was later solved by modifying the format of the fullname command in a bibliography style file.

For those interested in using the finished templates for research reports and articles, knowledge of typesetting techniques, creating tables and importing pictures were necessary and can be learnt from the second chapter of this study.

Downloads