การวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ในจังหวัดลำปาง กรณีศึกษา : อำเภอแม่ทะ
Keywords:
ศักยภาพพลังงาน, พลังงานชีวมวล, พืชพลังงาน, เศษวัสดุทางการเกษตร, อำเภอแม่ทะ, potential of energy, bio energy, energy crops, wastes agricultural, Mae-Tha districtAbstract
โครงการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลปริมาณชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ของกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จากนั้นนำมาคำนวณหาศักยภาพพลังงานจากชีวมวลของกลุ่มเกษตรกรที่ควรส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานชีวมวลในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับนักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจในการศึกษา สำหรับการพัฒนาการใช้พลังงานชีวมวลในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งจากการลงพื้นที่ศึกษาเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานจากเศษวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ที่มีศักยภาพทางพลังงานจากพืช 13 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว ลำไย กาแฟ ยางพารา ไผ่ กระเทียม หอมแดง และเห็ด ในปี พ.ศ. 2554 ถึง 2555 พบว่า ข้าวเป็นพืชที่มีพื้นที่การเพาะปลูกมากที่สุดคิดเป็น 47,393 ไร่ ทำให้ข้าวเป็นพืชที่มีปริมาณผลผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.37 ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมด ซึ่งร้อยละการนำวัสดุเหลือใช้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรทั้งหมด โดยรวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 36.67 ถึง 43.81 ถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์ที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนการใช้ประโยชน์โดยรวม เมื่อคำนวณหาปริมาณพลังงานที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ คิดเป็นพลังงานมากกว่า 582.805 TJ หรือคิดเป็นปริมาณน้ำมันดิบได้มากกว่า 13.797 ktoe และสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า 32.378 GWhr หรือเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าที่มีอัตราการผลิตไฟฟ้าขนาด 4,620.156 kW จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีศักยภาพในด้านการใช้พลังงานจากเศษวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของศักยภาพพลังงานในระดับประเทศที่สูงถึง 617,151 TJ
Analysis the potential of bio-energy from residual biomasses
in Lampang province. Case study: Mae-Tha district.