การจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค และเกษตรกรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Authors

  • ธีรวัฒน์ เกิดจำรูญ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถ.สู้ศึก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบครีรีขันธ์ 77000 โทร. 081-845-2518 เบอร์ที่ทำงาน 0-3260-4602

Keywords:

แผนพัฒนาแหล่งน้ำ, การอุปโภคและเกษตรกรรม, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, The development plan, Consumption and agriculture, Sufficiency Economy

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อ 1) ศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและเกษตรกรรม 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและเกษตรกรรม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 238 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบเอฟ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและเกษตรกรรม ที่ควรปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านกระบวนการจัดทำแผน ด้านกายภาพ ด้านงบประมาณ และประเมินผลความคุ้มค่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดทำแผน ด้านกายภาพ ด้านประเมินผลความคุ้มค่า และด้านงบประมาณ ตามลำดับ

2. ระดับความคิดเห็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและเกษตรกรรม โดยรวม จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษาและตำแหน่ง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรใช้แผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและเกษตรกรรม ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากผลการวิจัย ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดทำแผน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ต้องมีการกำหนดรูปแบบให้ชัดเจนเหมาะสม ต้องมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอน และ ต้องตั้งงบประมาณอย่างเหมาะสม และโดยประหยัด

 

The development plan forwatersupplyand agricultural self-sufficienteconomic philosophy oflocal governmentin Phetchaburiand Prachuap Khiri Khan province

The research aimed to develop guidelines for water resource development for agricultural and domestic use and to seek opinions of the public on water resource development. The research participants were 238 staff from local government offices in Phetchaburi and Prachuapkhirikhan provinces. The participants were selected using random sampling. 5-point likert scale questionnaires were used to collect the data. The data were analyzed by means of average percentage, standard deviation, chi-square test, F-test and a paired comparison analysis using Scheffe’s method.

The results are as follows:

1. The water resource development plan should include the following four aspects; a planning process, a physical plan, a budget and value assessment.

2. The opinions of participants, when analyzed by educational background and position, was not significantly different but the opinion was significantly different when considering work experiences.

The results suggest that in order to prepare the water resource development plan successfully, it needs to include public participation, an appropriate plan, an assessment plan, and an appropriate budget plan.

Downloads