การศึกษาและออกแบบบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม
Keywords:
รูปแบบบรรจุภัณฑ์, กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์, ไม้ไผ่, ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม, product format, graphics on the packaging, bamboo, and fragrance productsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่สำหรับ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ เครื่องหอม เพื่อประเมินความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอมโดยการจำแนกตามเพศ
การวิจัยมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาออกแบบบรรจุภัณฑ์และ กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม มี 5 ประเภท ๆ ละ 3 ชิ้น รวมทั้งหมด 15 ชิ้น ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย ดอกไม้แห้ง เทียนหอม น้ำหอม สบู่หอม ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบความ พึงพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม และขั้นตอนที่ 4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอมโดยการจำแนก ตามเพศ ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาข้อมูลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ที่ผู้วิจัยทำ การเก็บข้อมูลโดยการสำรวจลวดลายในการสานไม้ไผ่และขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ได้สรุปลวดลายที่ใช้สานไม้ไผ่ ที่พบจากการสำรวจ ได้แก่ ลวดลายแม่บท ลวดลายพัฒนาและลวดลายประดิษฐ์ และผู้วิจัยสำรวจ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด พบว่า มีผลิตภัณฑ์เครื่องหอมได้แก่ น้ำมันหอมระเหย ดอกไม้แห้ง เทียนหอม น้ำหอม และสบู่ก้อน
2. ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ไม้ไผ่สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอมมีการพัฒนา รูปแบบและปรับปรุงรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน โดยใช้ แบบสอบถามในการปรับปรุงรูปแบบในแต่ละด้าน คือด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์และด้านกราฟิกบรรจุภัณฑ์ และผู้วิจัยได้ปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญจนได้บรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่สำหรับผลิตภัณฑ์ เครื่องหอมในรูปแบบที่สมบูรณ์ที่สุด
3. ผลการประเมินความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม จากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน พบว่ามีระดับความพึงพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย ดอกไม้แห้ง เทียนหอม น้ำหอม และสบู่ก้อน โดยทุกรูปแบบพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก ยกเว้นกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ เทียนหอมแบบที่ 2 มีระดับความพึงพอใจในระดับปานกลาง
4. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องหอม โดยการจำแนกตามเพศ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน เพศหญิง 50 คน และเพศชาย 50 คน พบว่า มีความพึงพอใจในรูปแบบ และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ในทุกรูปแบบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม้ไผ่สำหรับเครื่องหอมมีอิทธิพล ร่วมกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
Education and Packaging Design of Bamboo Fragrances for Products
The research aimed to design packaging made from bamboo for use with fragrant products, to design graphic art for the packaging, to find user satisfaction with the bamboo packaging and to compare user satisfaction between genders. There were four parts to the study. First, information was gathered on bamboo packaging for fragrant products. Second, the bamboo-based packaging was designed and graphic art was created. This was for use with five types of fragrant product: aromatic oil, dried flower leaves, fragrant candles, perfume, and soaps. Third, user satisfaction was assessed and lastly, these satisfaction levels were assessed with regard to gender.
1. A survey of bamboo weaving patterns showed that three patterns were commonly used. These were the Mae Bot, Thai Pattana, and Thai Pradit patterns. A market survey of fragrant products found that aromatic oil, dried flower leaves, fragrant candles, perfume, and soaps were commonly sold in the local market.
2. The researcher designed and improved a bamboo packaging for fragrant products following comments from three packaging designers. The comments were derived from questionnaires concerning packaging design and graphic art design.
3. The result of surveying 100 people showed that satisfaction with the packaging and graphic art were at a high level except for the graphic design for the packaging for the fragrant candles, which was rated at the medium level.
4. A comparison of satisfaction levels by sex (50 male and 50 female) found that these were significantly different at 0.05.