การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

Authors

  • อังกาบ บุญสูง หลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อำภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์. 089-765-4914 โทรสาร. 055-416-625

Keywords:

การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์, ผ้าทอพื้นเมือง, ตำบลฟากท่า, จังหวัดอุตรดิตถ์, Design, Package, Wovenfabrics, Tambon FAK-THA, Uttaradit Province

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลของเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและความเหมาะสม สอดคล้องต่อการใช้งานเพื่อเป็นตัวกำหนดรูปแบบที่ใช้ในการออกแบบ และเพื่อยกระดับคุณภาพ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของ มผช. ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

จากการศึกษาและสังเคราะห์เอกลักษณ์ด้านประเพณีและวิถีชีวิตของชุมชนกลุ่มผ้าทอ พื้นเมือง อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีการนำมาถักทอเป็นลวดลายลงบนผืนผ้า ได้แก่ ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวฟากท่า จัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี สืบทอดกันจนถึงปัจจุบัน และได้ใช้เป็นชื่อของการทอลวดลายข้าวพันก้อน ส่วนอัตลักษณ์ด้านการใช้สี ในการย้อมผ้าทอจากกลุ่มผ้าทอพื้นเมืองในอำเภอฟากท่า 3 กลุ่ม พบว่า ผู้ผลิตผ้าทอพื้นเมือง มีความนิยมใช้สีแดงมากที่สุดในส่วนของความเหมาะสมสอดคล้องต่อการใช้งาน ผู้บริโภค มีความต้องการบรรจุภัณฑ์เป็นถุงแบบแนวนอน วัสดุที่เหมาะสมเลือกใช้กระดาษคราฟท์

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจึงนำมาทำการออกแบบเป็นบรรจุภัณฑ์ 3 รูปแบบโดยเน้น ถึงความเป็นไปได้จริงในการผลิตและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ มผช.828/2548 จากนั้นสรุปผล ข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคเพื่อใช้ในการเลือกรูปแบบก่อนการทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเน้น กระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้กลุ่มชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนได้โดยง่าย เมื่อทำการ ผลิตต้นแบบแล้วเสร็จจึงนำไปสอบถามความพึงพอใจโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงสถิติและบรรยายเชิงพรรณนา

สรุปผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้ เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเขียนแบบ และกลุ่มผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.30

 

Designs Packageing Woven fabrics for Tambon FAK-THA of Uttaradit Province

The research studied the identity and function of locally woven fabrics in order to design suitable packaging which would pass Thai community product standards (TISI) and add value to the product.

The study on traditions and lifestyles of the local weavers at Fak-Tha in Uttaradit province found that the weavers used mythological stories as part of their fabric design and that red was the most popular colour among weavers. In terms of packaging design, it was found that a kraft paper was suitable as a packaging material and that a horizontal bag was the best design.

The data were used to design three types of practical packaging based on guidelines from the Thai community product standards (TISI 828/2548). The three samples were made into prototype packaging and tested to assess user satisfaction. The result showed that the fabric designers, weavers, distributors and buyers were satisfied with the packaging at a high level (4.18 with standard deviation at 0.30).

Downloads