พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการทํางาน ของพนักงานโรงงานเซรามิกในจังหวัดลําปาง

Authors

  • กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 25100 โทร 054-237352 โทรสาร 054-241079

Keywords:

พฤติกรรม, ป้องกัน, อุบัติเหตุ, พนักงาน, โรงงานเซรามิก, behaviors, prevention, accident, labors, ceramic factory

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานของพนักงานโรงงาน เซรามิกในจังหวัดลำปาง ประชากรเป็นผู้บริหารโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปาง จำนวน 296 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปลายปิด ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์เพื่อการวิเคราะห์ 226 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 76.35 ของประชากรทั้งหมดแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าพนักงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานอยู่ในระดับดี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.11 ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานด้านการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยมากสุด (2.56) อยู่ในระดับดีด้านความพร้อมของร่างกายมีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (1.58) ซึ่งอยู่ ในระดับพอใช้เมื่อพิจารณาเป็นรายพฤติกรรม พบว่าพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยมากสุด (2.72) อยู่ในระดับดี คือการจัดเก็บ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีคมมีอันตรายไว้ในที่เก็บ ที่ปลอดภัยเมื่อใช้งานเสร็จ พฤติกรรมการไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเพราะรำคาญและร้อนอบอ้าว อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ยน้อยสุด (1.15)

 

Accident Prevention Behaviors of Ceramic Factory Labors in Lampang Province

The study investigated the accident prevention behaviors of workers in ceramic factories in Lampang province. The research participants were 296 ceramic factory executives. Closed-questionnaires were distributed and 226 copies were returned, 76.35% of the total population. The data were analyzed using mean and standard deviation.

The result showed that workers had a high level of accident prevention behavior (2.11). Accident prevention with regard to tool preparation scored the highest (2.56) while physical fitness scored the lowest (1.58). When considering accident prevention behaviors separately, it was found that the safe storage of sharp and dangerous tools was at a high level (2.72), while the use of personal protective equipment was at the lowest level (1.15).

Downloads