การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติ

Authors

  • ชูชาติ พยอม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เลขที่อยู่ 186 ถ.สุรินทร์-ปราสาท ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000 โทร 044-041554 โทรสาร 044-041555

Keywords:

เครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติ, ประสิทธิภาพ, การควบคุมอุณหภูมิ, semi-automatic silk-reeling machine, efficiency, temperature controlling

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อเผยแพร่และทดสอบการใช้เครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับชุมชน การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยดังนี้ ศึกษาทฤษฎีการสาวไหมแบบภูมิปัญญา ชาวบ้านและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์และการออกแบบ การสร้างเครื่อง การทดสอบและหา ประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปรายงานผลการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยการสร้างและหา ประสิทธิภาพเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติ สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการทดสอบการหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบกับการสาวไหมแบบพื้นบ้าน พบว่า การสาวไหมด้วยเครื่อง สามารถสาวไหมได้ปริมาณ เส้นไหมมีค่าเฉลี่ย 121.9 กรัม/ชั่วโมง ส่วนการสาวไหมแบบพื้นบ้านสามารถสาวได้ปริมาณเส้นไหม มีค่าเฉลี่ย 15.87 กรัม/ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าการสาวไหมโดยใช้เครื่องซึ่งใช้ความเร็วรอบ อุณหภูมิ ที่เหมาะสมและคงที่นั้นจะทำให้ได้ปริมาณเส้นไหมมากกว่าการสาวแบบพื้นบ้าน 106.03 กรัม/ชั่วโมง หรือ 8 เท่า/ชั่วโมง 2) ผลการทดสอบการหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบกับการสาวไหมแบบใช้ มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีอยู่ ในปัจจุบัน พบว่า การสาวไหมด้วยเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติ สามารถ สาวไหมได้ปริมาณเส้นไหมมีค่าเฉลี่ย 121.9 กรัม/ชั่วโมง ส่วนการสาวไหมแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีอยู่ ในปัจจุบันสามารถสาวได้ปริมาณเส้นไหมมีค่าเฉลี่ย 120 กรัม/ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าการสาวไหมโดยใช้ เครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติซึ่งใช้ความเร็วรอบอุณหภูมิที่เหมาะสมและคงที่นั้นจะทำให้ได้ปริมาณ เส้นไหมมากกว่าการสาวแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ปริมาณที่มากกว่า 1.9 กรัม/ชั่วโมง 3) ผลการทดสอบการหาประสิทธิภาพชุดควบคุมอุณหภูมิความร้อนของน้ำในหม้อต้มรังไหมด้วย ระบบไฟฟ้า พบว่า การตั้งค่าความร้อนของแท่งอิเล็กโทรดที่เหมาะสมอยู่ที่ 100 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำในหม้อต้ม จำนวน 6 ลิตร เวลาที่ใช้ในการต้ม 20 นาที โดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ 90 องศาเซลเซียส สามารถสาวเส้นใยไหมออกจากรังไหมได้ดี และไม่ขาด 4) ผลการศึกษาความพึง พอใจเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การออกแบบ โครงสร้างการออกแบบอุปกรณ์และชิ้นส่วนในการสาวไหม และการออกแบบชุดต้นกำลัง และชุดควบคุมเครื่อง ผลการศึกษากรณีภาพรวมรายด้านความพึงพอใจของผู้ประกอบการ สาวไหมและประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ที่มีต่อ ประสิทธิภาพของเครื่องโดยรวมอยู่ในระดับ ดี ( \bar{x} = 4.02, S.D. = 0.31) จำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจของผู้ประกอบการสาวไหม และประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ที่มีต่อประสิทธิภาพของเครื่องได้ในระดับ ดี ทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนี้ 1) ด้านการออกแบบโครงสร้าง 2) ด้านการออกแบบอุปกรณ์ และชิ้นส่วนในการสาวไหม 3) ด้านการออกแบบชุดต้นกำลังและชุดควบคุม ( \bar{x} = 4.07, 4.06 และ 3.92, S.D. = 0.27, 0.39 และ 0.55 ตามลำดับ) และผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อประสิทธิภาพของเครื่อง จากแบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ทางด้านงานเชื่อมประกอบโครงสร้างและทางด้านเครื่องกล พบว่า ด้านการออกแบบโครงสร้าง ด้านการออกแบบอุปกรณ์และชิ้นส่วนในการสาวไหมด้านการออกแบบชุดต้นกำลังและชุดควบคุม สรุปภาพรวม อยู่ในระดับดี 5) ผลการทดสอบคุณภาพเส้นไหม จากศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ โดยทดสอบคุณภาพของจำนวนเกลียวของเส้นไหมต่อหน่วยความยาว การรับแรงดึงขาดของเส้นไหม แล้วนำผลมาเปรียบกับเส้นไหมที่ได้จากการสาวแบบพื้นบ้าน พบว่า เส้นไหมจากการสาวแบบพื้นบ้าน สามารถทนแรงดึงขาดได้ 6.26 นิวตัน จำนวนเกลียวต่อนิ้วไม่สามารถทดสอบได้ และเส้นไหม จากการสาวด้วยเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติสามารถทนแรงดึงขาดได้ 8.52 นิวตัน จำนวนเกลียว ต่อนิ้วไม่สามารถทดสอบได้โดยใช้จำนวนรังไหม 30 รังในการสาว จะเห็นได้ว่าเส้นไหมจากการสาว ด้วยเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติสามารถทนแรงดึงขาดได้มากกว่าเส้นไหมจากการสาวแบบพื้นบ้าน ถึง 2.26 นิวตัน

 

The Building and Seek Efficiency of the Semi-automatic Silk-Reeling Machine

The research aims to investigate the efficiency of a semi-automatic silk-reeling machine; and 2) to promote its use within local communities. The research began by reviewing traditional silk-reeling methods and related literature. The researcher then designed, built and tried out a new semi-automatic silk-reeling machine in order to assess its efficiency. The data were analyzed and the results can be summarized as follows:

1) A comparison of the traditional silk-reeling method and the semi-automatic silk-reeling machine showed that the former could produce 15.87 grams of silk per hour while the latter could produce 121.9 grams of silk per hour, an approximately 8-fold increase.

2) A comparison between a general electrical-motor silk-reeling machine and the semi-automatic silk-reeling machine showed that the former could produce 120 grams of silk per hour while the latter could produce 121.9 grams of silk per hour.

3) A test of an electric water heating controller in a cocoon boiling pot showed that in order for the controller to run effectively, the electrode had to be set at 100 °C when boiling 6 liters of water. This took 20 minutes to boil. At this point, the silk thread can be reeled easily from the cocoon.

4) A study of satisfaction with the semi-automatic silk-reeling machine in 3 dimensions (structural design, parts design and power-unit design) revealed that the users were satisfied with the efficiency of the semi-automatic silk-reeling machine at a good level ( \bar{x} = 4.02, S.D. = 0.31). When considering each dimension separately, it was found that the users rated each dimension at a good level. From the viewpoints of experts in the fields of electronics, structural welding, and mechanics, it was found that the overall satisfaction of the machine was at a good level in every dimension.

5) A test of the silk thread quality from 30 cocoons conducted by the Textile Testing Center found that silk threads produced by the traditional reeling method could bear a tension force of 6.26 N while the silk threads from the semi-automatic silk-reeling machine could bear a tension force of 8.52 N. The number of strands per inch was uncounted in both tests.

Downloads