3. การหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมของกระบวนการตัดแท่งพลาสติก โดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง

Main Article Content

ดุษฎี บุญธรรม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงื่อนไขในการการตัดแท่งพลาสติก ที่เหมาะสมในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งในกระบวนการที่ทำการศึกษาเป็นกระบวนการที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ทำให้ควบคุมวิธีการทำงานของพนักงานได้ยาก ทำให้พบปัญหาเรื่องไม่สามารถกำหนดเวลาในการตัดและอัตราผลผลิตดีในการตัดแท่งพลาสติกของพนักงานแต่ละคนได้ ผู้วิจัยจึงได้นำเทคนิคการออกแบบการทดลอง มาใช้ในการหาระดับของปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อกำหนดเป็นเงื่อนไขในการทำงาน โดยกำหนดปัจจัยที่ใช้ทำการทดลอง 2 ปัจจัย 2 ระดับ คือ ความเร็วในการตัดชิ้นงาน : 27 ชิ้นต่อนาที กับ 50 ชิ้นต่อนาที และความถี่ในการสุ่มตรวจวัดขนาดชิ้นงาน : 4 ชิ้นต่อนาที กับ 8 ชิ้นต่อนาที โดยทำการทดลองซ้ำจำนวน 3 ครั้ง นำผลการทดลองมาแปลงให้อยู่ในรูปของคะแนน นำคะแนน ที่ได้มาทำการถ่วงน้ำหนักตามนโยบายของผู้บริหาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องของอัตราผลผลิตดี ร้อยละ 60 และเวลาการตัดแท่งงานพลาสติกร้อยละ 40 ผลจากการทดลองพบว่าเงื่อนไขในการตัดแท่งพลาสติกที่เหมาะสม คือใช้ความเร็วในการตัด 27 ชิ้นต่อนาที และการสุ่มวัดแท่งพลาสติก 4 ชิ้นต่อนาที เงื่อนไขการตัดแท่งพลาสติกดังกล่าว ทำให้ได้อัตราผลผลิตดีในการผลิตร้อยละ 81.97 และกำลังการตัดแท่งพลาสติก คือ 0.27 นาทีต่อชิ้น 

Optimizing Processes for Cutting Plastic 


in one factory. It was found that the cutting processes in the factory was mainly carried out by hand and as such managing the process was difficult, in particular controlling work rates and work quality. The researcher implemented an engineering experimental design to evaluate working methods. 2 factors and 2 level were used in the analysis: feed speed (27 pieces/minute and 50 pieces/minute) and frequency of sampling (4 pieces/minute and 8 pieces/minute). Testing was repeated 3 times and the results were converted to a score, weighted according to the policies of managers which emphasized yields of 60% and time spent on cutting at 40%. The results show that the set-up which optimized the cutting process had a feed speed of 27 pieces/minute and a frequency of sampling of 4 pieces/minute. This condition produced a yield of 81.97% and a capacity of 0.27 minutes/piece.

Article Details

Section
บทความวิจัย