การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมชงจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ระยะห่าม โดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และสมบัติเชิงฟังก์ชัน

Main Article Content

อุบลวรรณา ศรีมงคลลักษณ์
สุภาภรณ์ เลขวัต

บทคัดย่อ

ทดลองพัฒนาเครื่องดื่มมะม่วงหาวมะนาวโห่จากผลระยะห่ามพร้อมชงด้วยเทคนิคการอบแห้งแบบพ่นฝอย โดยแปรระดับสารมอลโทเดกซ์ทริน 3 ระดับ คือ ร้อยละ 20, 25 และ 30 ตามลำดับ และพัฒนาสูตรเครื่องดื่มพร้อมชงโดยใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ได้แก่ ซูคราโลส  สารสกัดหญ้าหวาน และอิริทริทอล และเปรียบเทียบความหวานสัมพัทธ์กับซูโครสที่ ร้อยละ 5, 7 และ 9 ตามลำดับ ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ระยะห่ามและสุกมีปริมาณของแข็งละลายน้ำได้เท่ากับ 22.77±0.06 และ 23.10±0.10 องศาบริกซ์ ค่าความเป็นกรดด่าง 4.0 สารประกอบฟีนอลิก 6.90±1.63 และ 23.32±0.96 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิค/มิลลิลิตร ค่า IC50 ของผลห่ามเท่ากับ 3.81±0.73 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ในขณะที่ผลสุกมีค่า 7.30±0.38 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่าผงมะม่วงหาวมะนาวโห่ระยะห่ามหลังอบแห้งทั้ง 3 ระดับของมอลโตเดกซ์ทรินมีค่าปริมาณฟีนอลิก (4.48-5.44 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิค/มิลลิลิตร) ค่า IC50 (2.88-4.03 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) และค่ายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase (1.11-1.19 ยูนิต/มิลลิกรัมโปรตีน) ไม่แตกต่างกัน (P≥0.05) พบว่าผงมะม่วงหาวมะนาวโห่ที่ความเข้มข้น 5,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ได้ถึงร้อยละ 35-38 เทียบกับยาพราวาสแตตินเข้มข้น 0.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ผลประเมินทางประสาทสัมผัสพบว่า เครื่องดื่มพร้อมชงที่มีมอลโทเดกซ์ทริน ร้อยละ 30 ที่ประกอบด้วยซูคราโลส ร้อยละ 0.004 และสารสกัดหญ้าหวาน ร้อยละ 0.075 ที่ความหวานเทียบเท่าน้ำตาลซูโครส ร้อยละ 9 ได้การยอมรับสูงสุดมากกว่า ร้อยละ 90

Article Details

How to Cite
ศรีมงคลลักษณ์ อ., & เลขวัต ส. . (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมชงจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ระยะห่าม โดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และสมบัติเชิงฟังก์ชัน. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 18(2), 112–121. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/article/view/260893
บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Waratornpaibul, T. (2010). Consumption behavior: consumerism food and health-conscious food. Panyapiwat Journal. 5(2): 255–264. (in Thai).

Simla, S., Boontang, S. and Siritrakulsak, P. (2013). The evaluation of some phytochemical content and antioxidant activity in Carissa carandas L. Khon Kaen Agriculture Journal. 41(1): 602-606. (in Thai).

Wong, Y.J. and Chye, Y.F. (2009). Antioxidant properties of selected tropical wild edible mushrooms. Journal of Food Composition and Analysis. 22: 269–277.

Miliauskas, G., Venskutonis, P. R. and Beek, T. A. (2004). Screening of radical scavenging activity of some medicinal and aromatic plant extracts. Food Chemistry. 85(2): 231-237.

A.O.A.C. (2000) Official methods of analysis, 17th ed. Association of official chemists gaithersberg.

Tulardilok, K. (2009). Production of pickled garlic powder by foam-mat drying. Master’s thesis, Chiang Mai University, Thailand. (in Thai).

Rattanawongsanit, M. (2019). Development on processing of half-ripened and fully-ripened stage of karanda (Carissa carandas) fruits. Master’s thesis, Valaya Alongkong Rajabhat University. Pathumthani, Thailand. (in Thai).

Sumbul, S. and Ahmed, S.I. (2012). Anti-hyperlipidemic activity of Carissa carandas (Auct.) leaves extract in egg yolk induced hyperlipidemic rats. Journal of Basic & Applied Sciences. 8: 124–134.