กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lintillifera) สาหร่ายทุ่น (Sargassum oligocystum) และสาหร่ายเขากวาง (Gracilaria changii)

Main Article Content

วสันต์ สุมินทิลี่
ปนิดา บรรจงสินศิริ
จันทนา ไพรบูรณ์
วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายทะเล 3 ชนิด คือสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera) สาหร่ายทุ่น (Sargassum oligocystum) และสาหร่ายเขากวาง (Gracilaria changii) ที่สกัดด้วยน้ำร้อนและเอทานอล และศึกษากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบ โดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพในด้าน (1) การขจัดอนุมูล DPPH (2) การรีดิวซ์ (3) การจับโลหะ และ (4) การต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อการฟอกสีของบีต้า-แคโรทีน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบด้วยเอทานอลจากสาหร่ายพวงองุ่นมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดมากที่สุดเท่ากับ 75.37 ± 9.11 mg GAE/g dried basis สารสกัดหยาบด้วยน้ำร้อนและสารสกัดหยาบด้วยเอทานอลจากสาหร่ายทุ่นมีประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูล DPPH (EC50) มากที่สุดเท่ากับ 118.24 ± 9.76 μg/ml และ 121.33 ± 4.89 μg/ml ตามล้าดับ (p>0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดหยาบด้วยเอทานอลจากสาหร่ายพวงองุ่น มีประสิทธิภาพในการรีดิวซ์ ประสิทธิภาพในการจับโลหะ และประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อการฟอกสีของบีต้า- แคโรทีนสูงที่สุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 171.69 ± 2.13 μM AAE/g dried basis (ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัดเท่ากับ 500 μg/ml) EC50 = 55.94 ± 0.23 μg/ml และ 64.75 ± 0.58% (ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัดเท่ากับ 1,000 μg/ml) ตามลำดับ ทั้งนี้สารสกัดจากสาหร่ายอาจนำไปใช้เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ธรรมชาติในอุตสาหกรรมอาหาร เวชสำอางค์และเภสัชกรรมได้

 

Antioxidant Activities of Crude Extracts from Caulerpa lintillifera, Sargassum oligocystum and Gracilaria changii

The objectives of this research were to study total phenolic contents (TPC) and antioxidant activities (AOA) of the crude hot water extracts and crude ethanolic extracts from three different species of seaweed including Caulerpa lentillifera (Chlorophyta), Sargassum oligocystum (Ochrophyta) and Gracilaria changii (Rhodophyta). The AOA of the extracts were measured by (1) DPPH radical scavenging assay (2) Ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay (3) Ferrous-ion chelating (FIC) assay and (4) β–carotene bleaching (BCB) assay. The results showed that the ethanolic extract from C. lentillifera had the highest TPC (75.37 ± 9.11 mg GAE/g dry basis). Moreover the hot water extract and ethanolic extract from S. oligocystum were shown the highest activity of scavenging DPPH with EC50 = 118.24 ± 9.76 and 121.33 ± 4.89 μg/ml, respectively (p > 0.05). However, the ethanolic extract from C. lentillifera was found to have the highest reducing ability (171.69 ± 2.13 μM AAE/g dry basis, at conc. 500 μg/ml), chelating ability (EC50 = 55.94 ± 0.23 μg/ml) and %BCB (64.75 ± 0.58%, at conc. 1,000 μg/ml). The natural antioxidants obtained from these seaweed could be used to apply for food industries, cosmetics and pharmaceutics. 

Article Details

How to Cite
สุมินทิลี่ ว., บรรจงสินศิริ ป., ไพรบูรณ์ จ., & คล้ายประดิษฐ์ ว. (2015). กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lintillifera) สาหร่ายทุ่น (Sargassum oligocystum) และสาหร่ายเขากวาง (Gracilaria changii). Journal of Food Technology, Siam University, 9(1), 63–75. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/article/view/38329
Section
บทความวิจัย (Research Articles)