Food Palatability with Kokumi
Main Article Content
Abstract
ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหารอย่างหลากหลาย ทั้งเพื่อปรุงรสและเสริมรสชาติในผลิตภัณฑ์อาหารให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในอาหารของผู้บริโภคนั้น ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ รสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัส เป็นต้น ในกรณีของรสชาติ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อความพึงพอใจในอาหาร และจากการศึกษาทางชีวโมเลกุลในปัจจุบันพบว่า รสชาติพื้นฐานในอาหารสามารถแบ่งได้เป็น 5 รสชาติ ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และอูมามิ (Umami) ซึ่งเราสามารถรับรู้รสชาติได้จากตัวรับรส (Taste receptor) ที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละรสชาตินั้นๆ นอกจากนี้การรับประทานอาหารเรายังสามารถรับรู้และสัมผัสถึงรสชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้จากรสชาติพื้นฐานทั้ง 5 เช่น ความรู้สึกเต็มภายในปาก (Mouthfulness) ความเข้มข้นของกลิ่นรส (Thick Flavors or Thickness) และความต่อเนื่องของรสชาติ (Continuity) ในประเทศญี่ปุ่น เรียกรสชาติและความกลมกล่อมในอาหารนั้น ว่า “โคคูมิ (Kokumi)” ซึ่งเป็นการรับรู้รสสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์โดยเกิดจากการกระตุ้นทั้งด้านรสชาติ และกลิ่นเฉพาะ สารที่ให้รสโคคูมิ (Kokumi substances) ส่วนใหญ่เป็นเปปไทด์สายสั้นๆ ซึ่งช่วยส่งเสริมรสชาติและกลิ่นรสต่างๆ ทำให้เกิดความกลมกล่อมในอาหาร แต่ตัวสารที่ให้รสโคคูมิเองเป็นสารที่ไม่มีรสชาติ และเนื่องจากในงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโคคูมินั้น ใช้คำที่เรียกการรับรู้ของโคคูมิหลากหลาย ได้แก่ Kokumi taste Kokumi flavor และ Kokumi sensation เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีคำบัญญัติในภาษาไทยที่ใช้เรียกการรับรู้สัมผัสเหล่านี้ ในบทความนี้จึงขอใช้คำว่า “รสโคคูมิ” หมายถึงรสชาติและความกลมกล่อมของอาหารดังที่กล่าวมา ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงโคคูมิ แหล่งที่มาของสารที่ให้รสโคคูมิ กลไกการรับรู้รสโคคูมิ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการใช้สารที่ให้รสโคคูมิเพื่อปรับปรุงคุณภาพของรสชาติและกลิ่นรสในผลิตภัณฑ์อาหารที่ลดปริมาณไขมัน
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
Chotechuang, N. (2017). Food Palatability with Kokumi. Journal of Food Technology, Siam University, 12(1), 35–47. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/article/view/76154
Section
บทความวิชาการ (Academic Article)
Copyrights of all articles in the Journal of Food Technology available in print or online are owned by Siam University and protected by law.