เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม มีขอบเขตครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร ได้แก่ เคมีอาหาร กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร และการประกันคุณภาพอาหาร เป็นต้น หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น โภชนาการ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการบรรจุ และบรรจุภัณฑ์อาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น ซึ่งมีวาระการออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม บทความที่ส่งมายังวารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยามต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารใดๆ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) อย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ โดยเป็นการประเมินแบบ Double blinded

บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ลงวารสาร มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) บทความวิจัย เป็นบทความที่มีรูปแบบการเขียนตามหลักวิชาการ ระบุถึงปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานวิจัย สามารถอภิปรายและสรุปผลที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ และ 2) บทความวิชาการ เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานวิชาการที่ได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป

การเตรียมต้นฉบับบทความ

  1. ขนาดกระดาษต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 สีขาว พิมพ์แบบแนวตั้ง (portrait) 1 คอลัมน์ โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ (page setup) ดังนี้

ส่วนระยะขอบ (margins):

ด้านบน (top)                     2.9         เซนติเมตร
ด้านล่าง (bottom)            2.9         เซนติเมตร
ด้านซ้าย (left)                   2.1         เซนติเมตร
ด้านขวา (right)                 2.1         เซนติเมตร

ขอบเย็บกระดาษ (gutter)  0           เซนติเมตร
หัวกระดาษ (header)        1.25       เซนติเมตร
ท้ายกระดาษ (footer)       1.25       เซนติเมตร

  1. ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ (line spacing) เป็นลักษณะบรรทัดเดี่ยว (Single Space) และต้องระบุหมายเลขบรรทัดและเลขหน้ากำกับไว้ทุกหน้า ให้มีขนาด 16 point
  2. ตัวอักษร ใช้ไทยสารบัญพีเอสเค (TH SarabunPSK) และพิมพ์ตามที่กำหนดดังนี้

         3.1 ชื่อเรื่อง (title) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษขนาด 18 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา หลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อและสูตร

         3.2 ชื่อผู้เขียน (ทุกคน)

ชื่อผู้เขียน (author (s)) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point ตัวธรรมดา กำหนดกึ่งกลาง หากมีผู้แต่งหลายคนและมีหน่วยงานที่แตกต่างกัน ให้ใช้ตัวอักษรอารบิคตัวเล็กที่แตกต่างกัน กำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลของแต่ละคน ใส่เครื่องหมายจุลภาค (comma) ถัดจากตัวอักษรอารบิค และใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (asterisk) สำหรับผู้ที่ใช้เป็นบุคคลในการติดต่อ (corresponding author)

ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน (affiliation) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point ตัวธรรมดา กำหนดกึ่งกลาง อยู่ถัดลงมาจากชื่อผู้เขียน ให้เขียนเรียงตามลำดับตัวอักษรอารบิคที่กำกับไว้ในส่วนของชื่อผู้แต่ง โดยใช้ตัวอักษรแบบ ขนาด 14 point ตัวธรรมดา โดยประกอบด้วยสาขาวิชา คณะวิชา และมหาวิทยาลัย สำหรับสถาบันการศึกษา ส่วนหน่วยงานอื่น ประกอบด้วยแผนก และหน่วยงาน

อีเมลของผู้แต่งที่ต้องการใช้ในการติดต่อ (email of corresponding author) อยู่ถัดลงมาจากที่อยู่ของผู้แต่ง โดยให้ใส่อีเมลล์ที่สามารถติดต่อกลับได้ในระหว่างดำเนินการ โดยใช้ตัวอักษรและขนาดเดียวกับที่อยู่ของผู้แต่ง

         3.3 บทคัดย่อ

ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “ABSTRACT” ขนาด 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา ข้อความของบทคัดย่อภาษาไทย และภาษา อังกฤษ ขนาด 16 point กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา ให้ย่อหน้า 1.27 เซนติเมตร มีจำนวนคำไม่เกิน 250 คำ สำหรับภาษาไทย และไม่เกิน 200 คำ สำหรับภาษาอังกฤษ

คำสำคัญ (keyword) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ต้องไม่เกินภาษาละ 5 คำ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ (โดยอยู่ด้านล่างของบทคัดย่อ) และใช้ตัวอักษรขนาด 14 point ตัวธรรมดา

         3.4 เนื้อหาของบทความ (content) ความยาวเรื่องไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมทั้งตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง

หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา
หัวข้อรอง ขนาด 16 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา
ตัวอักษร ขนาด 16 point กำหนดชิดขอบ ตัวธรรมดา
ย่อหน้า 1.27 เซนติเมตร
กรณีที่มีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก

ส่วนรายละเอียดของเนื้อหาบทความ มีดังต่อไปนี้

       1) บทนำ (introduction)

       2) วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทดลอง (materials and methods)

       3) ผลการทดลอง และวิจารณ์ (results and discussion)

       4) สรุปผล (conclusions)

       5) กิตติกรรมประกาศ (acknowledgements) (ถ้ามี)

       6) เอกสารอ้างอิง (references)

       3.5 ตาราง และรูปภาพ (table and figure)

สำหรับหัวตาราง และหัวรูปภาพ ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 point ตัวหนา คำอธิบายตาราง หรือรูปภาพให้ใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกันแต่เป็นตัวธรรมดา ตัวอักษร หรือตัวเลขที่นำเสนอในรูปกราฟหรือตาราง ให้มีขนาดตามความเหมาะสม ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อตีพิมพ์แล้ว คำอธิบายและตัวอักษรต่างๆ ในตาราง กราฟ และรูปภาพต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น สำหรับคำอธิบายเชิงอรรถ (footnote) ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point ตัวธรรมดา

        3.6 การเขียนเอกสารอ้างอิง

       1) การพิมพ์อ้างอิงแทรกในเนื้อหาของบทความ ใช้การอ้างอิงระบบลำดับหมายเลข (numerical order system) ตามหลักเกณฑ์ Vancouver โดยระบุลำดับหมายเลขอ้างอิงท้ายข้อความหรือชื่อบุคคลที่นำมาอ้างอิง ให้เริ่มจากหมายเลข [1], [2], [3] ไปตามลำดับที่อ้างอิงก่อน-หลัง โดยใช้เลขอารบิคอยู่ในวงเล็บใหญ่

การอ้างอิงจากเอกสารมากกว่า 1 ฉบับ ถ้ามีการอ้างอิงต่อเนื่องกันจะใช้เครื่องหมายยติภังค์ (hyphen หรือ -) เชื่อมระหว่างฉบับแรกถึงฉบับสุดท้าย เช่น [1-5] แต่ถ้าอ้างอิงเอกสารที่มีลำดับไม่ต่อเนื่องกัน จะใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่าง เช่น [4,8,12-15] เป็นต้น

       2) การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความในส่วนเอกสารอ้างอิง (references) จัดเรียงตามลำดับหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อหา และพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น สำหรับเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และวงเล็บ (in Thai) โดยมีรูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้

หนังสือและเอกสารเฉพาะเรื่อง: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เล่มที่ หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี). ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี). ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่ (ถ้ามี).สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างการลงรายการอ้างอิง

[1] Mengamphan, K., Amornlerdpison, D., Tongsiri, S., Chitmanat, C., Wangcharoen, W. and Suppahakitchanon, T. (2012).  Manual for culture of giant catfish, Pangasius and hybrid fish (Buk Siam) for added value and marketing (1st ed.). Chiang Mai: Maejo University Press, (in Thai).

[2] Mitchell, T.R. and Larson, J.R. (1987). People in organization: An introduction to organization behavior (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

[3] Baker, F. M., & Lightfoot, O. B. (1993). Psychiatric care of ethnic elders. In A. C. Gaw (Ed.), Culture, ethnicity, and mental illness (pp. 517-552). Washington, DC: American Psychiatric Press.

วารสาร: ชื่อ-สกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสารชื่อเต็ม. ปีที่(ฉบับที่): หน้า-หน้าที่อ้างอิง.

ตัวอย่างการลงรายการอ้างอิง

[1] Pongtrakul, N., Rodboonrit, T., Popluechai, S., Niamsup, P., Deejing, S. and Wongputtisin, P.  (2008). Effect of probiotic form on properties of milk ice cream. Journal of Food Technology, Siam University. 13(1): 58-70. (in Thai).

[2] Bovskova, H., Mikova, K. and Panovska, Z. (2014). Evaluation of egg yolk colour. Czech Journal of Food Sciences. 32(3): 213-217.

[3] Osman, M. (2010). Controlling uncertainty: A review of human behavior in complex dynamic environments. Psychological Bulletin, 136(1): 65-86. doi:10.1037/a0017815

รายงานการประชุมทางวิชาการ: ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความหรือเอกสาร. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อรายงานการประชุม, เลขหน้า.วัน เดือน ปี. สถานที่พิมพ์. สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างการลงรายการอ้างอิง

[1] Silalai, N., Hogan, S., O'Callaghan, D. and Roos, Y.H. (2009). The control of dairy powder charateristics using alpha-relaxation and glass transition data. In S. Devahastin, (ed). Drying 2009 - Proceedings of the 6th Asia-Pacific Drying Conference (ADC2009), pp 61-64. October 19-21, 2009. Bangkok. Thailand.

ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ (research reports): ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัย.

ตัวอย่างการลงรายการอ้างอิง

[1] Almeida, D.M. (1990). Fathers’ participation in family work: Consequences for fathers’ stress and father-child relations. Unpublished master’s thesis, University of Victoria. Victoria British Columbia, Canada.

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (Electronic Sources): ชื่อผู้แต่งหรือหน่วยงานที่จัดทำ. (ปี). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน ปีที่ค้น จากแหล่งสารสนเทศหรือ URL.

ตัวอย่างการลงรายการอ้างอิง

[1] Carranza, L.E. (1994). Le Corbusier and the problems of representation. Journal of Architectural Education. Retrieved May 15, 1995 from http://www. mitpress. mit.edu/jrnis-catalog/arch-edabstracts/File: jae 48-2.html.

ถ้ามีชื่อผู้แต่ง 1-6 คน ให้ลงรายการทุกคน แต่ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 6 คน ลงรายการ 6 คนแรก ตามด้วย และคณะ หรือ et al.

บทความวิชาการ เป็นบทความที่เขียนขึ้นหรือการเรียบเรียง (reviews) เพื่อเผยแพร่ความรู้หรือแนวคิดใหม่ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการในแขนงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีความยาวไม่เกิน 10 หน้า รายละเอียดของบทความ ประกอบด้วยบทคัดย่อภาษาไทย เนื้อหาของบทความ และเอกสารอ้างอิง รูปแบบลักษณะการพิมพ์ใช้แบบเดียวกับต้นฉบับบทความงานวิจัย

การส่งบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม

ผู้สนใจส่งผลงานตีพิมพ์ สามารถส่งบทความผ่านระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals online) ได้ทางเว็บไซต์ https://tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/index

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อได้ที่ 0-2867-8026 ต่อ 5189

Email: jftsu@siam.edu