การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

Cover letter

เมื่อคุณส่งบทความไปที่ SRIMEDJ จำเป็นต้องรวมจดหมายปะหน้าด้วย จดหมายปะหน้าที่เขียนอย่างดีสามารถช่วยให้บทความของคุณไปถึงขั้นตอนต่อไปของกระบวนการส่งต้นฉบับ - ถูกส่งไปเพื่อตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

รูปแบบสำหรับจดหมายปะหน้าประกอบด้วย : :

- เพิ่มข้อมูลสำหรับผู้ติดต่อ ชื่อปริญญา ชื่อสถาบัน

- ระบุชื่อบรรณาธิการ ชื่อวารสาร ที่อยู่ และวันที่ส่งผลงาน

- คำขึ้นต้นเพื่อทักทายระบุชื่อบรรณาธิการ เช่น เรียนคุณ.....

- พูดชื่อบทความต้นฉบับของคุณ

- อธิบายแรงจูงใจของคุณเบื้องหลังบทความนี้

- สรุปงานวิจัยเป็นบทคัดย่อ

- เน้นว่าทำไมผู้อ่านถึงสนใจบทความของคุณ

- พูดถึงบทความที่ผ่านมาจากวารสารนี้ซึ่งมีการสำรวจหัวข้อที่คล้ายกัน

- เพิ่มการแสดงถึงการปฎิบัติตามเกณฑ์ข้อบังคับของวารสาร เช่น เป็นบทความที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ ไม่เคยส่งไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น

- นำเสนอผู้ที่อาจเป็นผู้พิจารณา/ประเมินบทความ

- ขอแสดงความนับถือ

- ชื่อ-สกุล และที่อยู่ของคุณ รวมถึง หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล

Original Articles

มีการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คนแบบปกปิดชื่อผู้นิพนธ์ และผุ้พิจารณาบทความต่างมีอิสระต่อกัน  (blinded reviewers) 

Case report

รายงานผู้ป่วย

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความลงในศรีนครินทร์เวชสาร

คำแนะนำทั่วไป

ศรีนครินทร์เวชสารตีพิมพ์บทความ 7 ประเภทคือ

  1. นวัตกรรมทางการแพทย์ เป็นรายงานผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่หรือดัดแปลงแนวความคิดหรือวิธีการผ่าตัดใหม่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์ได้
  2. นิพนธ์ต้นฉบับ ต้นฉบับที่เขียนจากการวิจัยเชิงทดลอง / คลินิกทุกสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (ไม่เกิน 10 หน้า A4)
  3. รายงานผู้ป่วย เป็นรายงานผลการศึกษาจากผู้ป่วย มีบทสรุปเสนอข้อคิดเห็นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ (ไม่เกิน 7 หน้า A4)
  4. บทฟื้นฟูวิชาการ เป็นบทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และมีบทสรุปวิจารณ์ และไม่ควรเกิน 15 หน้า  หน้า A4  (มีทั้งแบบ ปกติ และ special issue เหมาเล่ม) บรรณาธิการอาจขอให้ออกข้อสอบ CME เรื่องละ 5 ข้อ ด้วย
  5. บทสัมมนา-ประชุมวิชาการ เป็นบทความที่รวบรวมจากผลการประชุมวิชาการ การสัมมนาพยาธิ-คลินิกและการประชุมอื่นๆ ที่น่าสนใจ (เฉพาะ special issue)
  6. จดหมายถึงบรรณาธิการ ได้แก่จดหมายที่เขียนวิจารณ์เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์แล้ว หรือแสดงผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่อย่างย่อๆ ความยาวไม่ควรเกิน 2 หน้ากระดาษพิมพ์ และมีเอกสารอ้างอิงประกอบด้วย

 วิธีการส่งต้นฉบับ

  1. ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องลงนามในจดหมายแจ้งความจำนงที่จะตีพิมพ์ถึงบรรณาธิการ และต้องระบุว่าต้นฉบับที่ส่งให้พิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนหรือกำลังรอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. ผู้นิพนธ์ต้องลงทะเบียนและส่งบทความเป็นไฟล์ Microsoft Word และข้อมูลรูปภาพแยกเป็นไฟล์แบบ .jpg or .tif. ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/index
  3. คณะบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์บทความทุกเรื่อง
  4. เรื่องที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติของศรีนครินทร์เวชสารซึ่งเป็นผู้สงวนสิทธิ์ทุกประการ
  5. ข้อความและความคิดเห็นในเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นของผู้เขียนซึ่งคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ผู้รับผิดชอบบทความจะเป็นผู้ได้รับการติดต่อเมื่อมีเรื่องแจ้งหรือสอบถามในกรณีที่มีการแก้ไข
  6. ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าตีพิมพ์เรื่องละ 2000 บาทสำหรับบทความภาษาไทย และ 2500 บาท สำหรับบทความภาษาอังกฤษ เริ่มชำระเมื่อบทความของท่านได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและยอมรับให้ตีพิมพ์

 การเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับจะต้องเขียนอย่างชัดเจนและจัดทำตามข้อกำหนดรูปแบบสำหรับ SRIMEDJ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน (http://www.smj.ejnal.com/e-journal/journal/index.php)
  2. ต้องส่งต้นฉบับเป็นไฟล์ Microsoft Word ทุกส่วนของต้นฉบับ รวมถึงตาราง และคำอธิบายรูปภาพ จะต้องพิมพ์ด้วยระยะห่างระหว่างบรรทัด 5 บรรทัด ขอบหน้า 1 นิ้ว และแบบอักษรAngsana New 16 ต้นฉบับพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก บนกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 216 x 279 มม. (8 1/2 x 11 นิ้ว) หรือ A4 (212 x 279 มม.)
  3. ต้นฉบับจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องประกอบด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่มีความหมายสอดคล้องกัน ตัวสะกดภาษาไทยให้อิงตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2547
  4. ต้นฉบับจะต้องจัดเรียงองค์ประกอบตามลำดับต่อไปนี้: ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ เนื้อหาหลัก ข้อมูลอ้างอิง กิตติกรรมประกาศ ตารางตามลำดับตัวเลข และคำอธิบายรูปภาพ บันทึกเป็นไฟล์เดียว

        

ชื่อเรื่อง ควรจัดทำขึ้นในหน้าแรกแยกกันของต้นฉบับและควรมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อเรื่องหลักและคำบรรยาย (ถ้ามี)

        ตัวอย่าง  การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สื่อการสอนในรูปแบบ ซี เอ ไอ ช่วยในการสอนการฝึกหัดเจาะเลือด

ชื่อเรื่องควรสื่อความหมายมากที่สุดโดยใช้คำน้อยที่สุด และต้องตรงกันระหว่างไทยกับอังกฤษ

  1. ชื่อ-นามสกุลและที่อยู่ของผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์ควรเรียงลำดับตามที่ปรากฏในหน้าชื่อเรื่องของบทความที่ตีพิมพ์ ใช้ชื่อเต็มผู้นิพนธ์  ไม่ต้องใส่ยศ คำนำหน้า ตำแหน่ง หรือปริญญา   ที่อยู่เป็นชื่อสถาบันที่ผู้นิพนธ์สังกัดขณะทำวิจัย 

  1. ชื่อ-นามสกุลและที่อยู่ของผู้รับผิดชอบบทความ สามารถใส่เครื่อง “*”หลังชื่อเต็ม เพื่อบ่งถึงผู้รับผิดชอบบทควาสำหรับบรรณาธิการติดต่อและตอบคำถามข้อพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ และอีเมล

ตัวอย่าง  ศุภศิลป์ สุนทรภา1 *

1ภาควิชาสูตินรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  1. คำสำคัญ (จำกัด 3-5 คำ)

บทคัดย่อ

         งานตีพิมพ์ทุกประเภทจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (Abstract) ยกเว้นบทสัมมนาและจดหมายถึงบรรณาธิการ  โดยมีจำนวนไม่เกิน 300 คำ โดยผู้นิพนธ์ต้นฉบับขอให้เขียนในลักษณะ structured abstract ประกอบด้วยแต่ละส่วนดังนี้

  1. หลักการและวัตถุประสงค์
             B. วิธีการศึกษา (รูปแบบการศึกษา, สถานที่ศึกษา, ประชากรศึกษาและกลุ่มตัวอย่าง, การรักษา, การวัดผล) 
             C. ผลการศึกษา 
             D. สรุป 

 เนื้อหาหลัก รูปแบบเนื้อหาหลักควรเขียนเป็นย่อหน้า อย่าเขียนเป็นข้อๆ ลำดับเลข เนื้อหาหลักควรมีรายการต่อไปนี้

  1. บทนำมีการอ้างถึงปัญหา ความรู้ที่ยังขาด และวัตถุประสงค์ หรือสมมติฐานของการวิจัย ให้เขียนในรูปแบบบรรยายความ ไม่ให้เขียนเป็นข้อๆ เหมือนเขียนเอกสารโครงการวิจัย เขียนรวมอยู่ในบทนำเป็นย่อหน้าเดียว
  2. วิธีการศึกษาระบุถึง รูปแบบการวิจัย ประชากรศึกษา วิธีการเลือกตัวอย่าง วัสดุ สารเคมี วิธีการวัดผล การวิเคราะห์ตัวอย่าง มีรายละเอียดที่เพียงพอที่จะเข้าใจ และทำซ้ำได้ รามถึงวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ
  3. ผลการศึกษา การนำเสนอผลการศึกษา ในรูปแบบที่เหมาะสม ในเนื้อเรื่อง ในตาราง หรือในรูปภาพ โดยตารางและรูปภาพควรมีรวมกันไม่เกิน 7 ชิ้น  ควรมีนัยสำคัญทางสถิติกำกับ  ในตารางหรือภาพควรมีคำอธิบายกำกับ และต้องกล่าวอ้างถึงตารางหรือภาพในเนื้อความ
  4. วิจารณ์ อภิปรายการทดลองของตัวเองในบริบทของความรู้ที่มีในสาขาวิชานั้น ไม่นำเสนอผลการทดลองซ้ำอีก  นำเสนอการวิเคราะห์ตั้งสมมุติฐาน มีการอ้างอิงครบถ้วนถูกต้องเหมาะสม
  5. สรุป ประเด็นสำคัญสิ่งที่ค้นพบ และการนำไปใช้
  6. กิตติกรรมประกาศ คำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแต่ไม่มีชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยหรืออาจารย์ที่ปรึกษา
  7. เอกสารอ้างอิง ตาม Vancouver style
  8. ตาราง *
  9. รูปภาพ * พร้อมคำบรรยายภาพ ให้จัดเตรียมแยกต่างหากจากเนื้อหา

           * ตารางและรูปภาพรวมกันแล้วไม่เกิน 7 ชิ้น

ข้อพิจารณาทางด้านจริยธรรม

บทความต้นฉบับที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสัตว์ควรเป็นไปตามหลักการของปฏิญญาเฮลซิงกิซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในโตเกียว (1975) เวนิส (1983) และฮ่องกง (1989) ผู้เขียนต้องระบุด้วยว่าคณะกรรมการจริยธรรมท้องถิ่นหรือสถาบันได้อนุมัติการศึกษาดังกล่าวแล้ว พร้อมระบุรหัสโครงการ และวันที่อนุมัติ

ภาพประกอบและตาราง

  1. ตารางควรรวมอยู่ในไฟล์ข้อความหลักและจัดทำเป็นแผ่นแยกต่างหาก
  2. อย่าใช้ผลลัพธ์ที่ไม่จำเป็นทั้งในรูปและตาราง
  3. ทั้งตัวเลขและตารางควรมีตัวเลขเป็นเลขอารบิค
  4. รูปภาพ
  • แต่ละรูปควรถูกบันทึกเป็นไฟล์แยกกัน
  • ข้อความ/ฉลากภายในรูปภาพควรเป็นแบบอักษร Arial ขนาด 9 พอยต์ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถอ่านได้ในการพิมพ์
  • รูปภาพทั้งหมดจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องบันทึกเป็นไฟล์ .jpg หรือ .tif โดย save ไฟล์ที่มีความละเอียดสูง (300 dpi ขึ้นไป) ให้อ่านได้ชัดเจน
  • ต้องใช้ความละเอียดต่อไปนี้เพื่อรับประกันคุณภาพการพิมพ์: 1200 dpi สำหรับภาพลายเส้น; 300 dpi สำหรับฮาล์ฟโทน/สี; 600 dpi สำหรับฮาล์ฟโทนผสม/สี
  • ไม่ควรใช้ตารางหรือรูปภาพที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกัน  ไม่ควรมีตารางหรือภาพที่ไม่มีความจำเป็นซึ่งสามารถอธิบายได้ดีในเนื้อเรื่อง
  • ตารางและรูปภาพให้ใช้เลขอารบิกนำเสนอตามลำดับก่อนหลัง และต้องมีการกล่าวอ้างถึงในเนื้อความ กรณีที่มีรูปภาพหนึ่งๆมีภาพย่อยๆหลายภาพ  ให้ใส่สัญลักษณ์ภาพย่อยเป็นตัวอักษรใหญ่อังกฤษ  A, B, C, D….กำกับไว้เพื่อใช้อ้างถึงในเนื้อความ
  • ควรให้รูปภาพหรือตารางสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายโดยตัวมันเอง และควรมีคำอธิบายที่เพียงพอที่ช่วยในการอ่าน ให้จัดเตรียมแยกต่างหากจากบทความ  ควรมีการแสดงนัยสำคัญทางสถิติกำกับด้วยเครื่องหมาย * (<0.05) ในตารางหรือภาพ

คำแนะนำผู้เขียนนิพนธ์ต้นฉบับที่มีรูปแบบการวิจัยจำเพา

            โครงการวิจัยบางประเภท ได้แก่ Randomised Controlled Trials และ Observational Studies in Epidemiology (Cohort Studies, Case-Control Studies และ Cross-Sectional Analytical Studies) โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานเฉพาะ สำหรับการเขียนนิพนธ์ต้นฉบับในรูปแบบการวิจัยดังกล่าว ซึ่งจะให้ความสำคัญกับ Checklist และ/หรือ Flow Diagram เพื่อให้นิพนธ์ต้นฉบับนั้น ๆ มีเนื้อหาสำคัญที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และชัดเจน มากพอที่ผู้อ่านจะสามารถประเมินความถูกต้องและความเชื่อถือได้ของงานวิจัยนั้นได้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมดังกล่าว ได้จากแหล่งข้อมูลออนไลน์ ดังนี้

  • Randomized Controlled Trial: http://www.consort-statement.org/?o=1011
  • Observational Studies in Epidemiology: http://www.strobe-statement.org/Checklist.html
  • Sytematic Review: http://prisma-statement.org/

การนำเสนอสถิติ

           อธิบายวิธีการทางสถิติที่มีรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้ผู้อ่านที่มีความรู้สามารถเข้าถึงข้อมูลต้นฉบับเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ที่รายงานได้ เมื่อเป็นไปได้ ให้หาปริมาณสิ่งที่ค้นพบและนำเสนอด้วยตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของข้อผิดพลาดในการวัด (เช่น ช่วงความเชื่อมั่น)

การเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. ไม่ควรใช้วิธีการพิมพ์เข้าไปในโปรแกรม Word โดยตรงเนื่องจากเกิดความผิดพลาดได้ง่ายแนะนำให้ใช้โปรแกรม Reference Manager เช่น EndNote หรือ Zotero ในการจัดทำบทความ
  2. กำหนดหมายเลขเอกสารอ้างอิงตามลำดับที่อ้างในบทความ (Citation) ใช้ตัวเลขอารบิคตัวยก (superscript) ไม่ใส่วงเล็บ การเขียนเอกสารอ้างอิง (Bibliography) ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดโดยวารสารนี้เท่านั้น (ดูจากตัวอย่างที่ให้ และสามารถ download EndNote/Zotero style ได้จากเวปไซต์)  สำหรับชื่อย่อของวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus

 ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

วารสารทั่วไป

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีที่พิมพ์;ฉบับที่: หน้าแรก – หน้าสุดท้าย.

ในกรณีที่ผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้เขียนคำว่า และคณะ หรือ et al ต่อท้ายชื่อผู้แต่งคนที่ 6

- Chaiear N, Sadhra S, Jones M, Cullinan M, Foulds IS, Burge PS. Sensitisation to natural rubber latex; an epidemiological study of workers exposed during tapping and glove manufacture in Thailand. Occup Environ Med 2001; 58: 386-91.

- Chongsomchai C, Lumbiganon P, Thinkhamrop J, Ounchai J, Vudhikamraksa N. Placebo-controlled, double-blind, randomized study of prophylactic antibiotics in elective abdominal hysterectomy. J Hosp Infect 2002; 52: 302-6.

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.

- Vatanasapt V, Sripa B. Liver cancer in Thailand; epidemiology, diagnosis and control. Khon Kaen: Siriphan Press; 2000.

- Allen M. Emergency psychiatry. Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2002.

บทในหนังสือ

ชื่อผู้เขียน. ชื่อบทในหนังสือ. ใน : ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่.เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ : หน้าแรก - หน้าสุดท้าย.

- Sripa B, Pairojkul C. Pathology of cholangiocarcinoma. In: Vatanasapt V, Sripa     B, editors. Liver cancer in Thailand; epidemiology, diagnosis and control. Khon Kaen: Siriphan Press; 2000: 65-99.

- Forster P, Wu L. Assessment and treatment of suicidal patients in and emergency setting. In: Allen M, editor. Emergency psychiatry. Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2002: 75-113.                   

รายงานทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค

  • Chaiear N. Health and safety in the rubber industry. Rapra Review Reports; Report Shrewsbury: RAPRA Technology LTD; 2001.
  • Report of the WHO informal consultation on the evaluation and testing of insecticides. Geneva:World Health Organization; WHO document WHO/CTD/WHOPES/IC/96.1.

สิ่งตีพิมพ์อิเล็คโทรนิค

Conference proceedings

  • Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza’s computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic EuroGP 2002: Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5 Kinsdale, Irelan. Berlin: Springer; 2002:182-91.

Journal article on the Internet

  • Thienthong S, Krisanaprakornkit W, Duenpen Horatanaruang D, Yimyam P, Thinkhamrop B, Lertakyamanee J. Motor blockade associated with continuous epidural infusion after abdominal hysterectomy: a randomized controlled trial comparing 1% ropivacaine-plus-fentanyl versus 0.2%ropivacaine-alone. Acute Pain [in press]
  • Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. AM J Nurs [serial on the Internet]. 2002 June [cited Aug 12, 2002]; 102(6):[about 3]. Available from: http://www.nursingworld.org/AJN/2002/ June/Wawatch.htm

Monograph on the Internet

  • Foley KM, Gelband H, editors. Improving palliative care for cancer [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited Jul 9, 2002]. Available from: http://www.nap.edu/books0309074029/html/.

         

Original Article

เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอผลงานวิจัยต้นฉบับที่ตอบคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและมีส่วนสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการ

SRIMEDJ พิจารณาบทความวิจัยในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์ และนวัตกรรม ตลอดจนสังคมศาสตร์และการแพทย์ทางเลือกที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของเราในการเผยแพร่งานวิจัยที่เข้มงวดทั้งด้านระเบียบวิธีและตามหลักจริยธรรม เราจะพิจารณาบทความวิจัยที่รายงานผลลัพธ์งานวิจัยเชิงลบ

นิพนธ์ต้นฉบับ ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้:

-บทคัดย่อ

-บทนำ

-วัสดุและวิธีการศึกษา

-ผลการศึกษา

--บทอภิปรายผล

บทสรุป

นิพนธ์ต้นฉบับที่ส่งจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์ SRIMEDJ ในการตีพิมพ์ และควรเป็นไปตามคำแนะนำผู้นิพนธ์ด้วย

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นหรือแก่บุคคลอื่น