ปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย
คำสำคัญ:
ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะทางคลินิก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงบริการและการรักษาที่ได้รับของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย ระหว่างเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม พ. ศ. 2560 เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 126 ราย โดยกำหนดให้การควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดี (good glycemic control) คือมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) น้อยกว่าร้อยละ 7
ผลการศึกษา: พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างถึง 67 ราย (ร้อยละ 53.2) ที่สามารถควบคุมระดับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ได้น้อยกว่าร้อยละ 7 ปัจจัยด้าน อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose) การออกกำลังกายและการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดีและกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม (multinomial logistic regression analysis) พบว่ามีเพียงปัจจัยด้านระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป (OR = 2.77, 95%CI = 1.01- 7.55) และระดับ FPG ที่ มากกว่า 130 mg/dl (OR = 6.89, 95%CI = 2.88-16.54) มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย สามารถควบคุมเบาหวานได้ตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานกว่า10ปี และมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง มากกว่า 130 mg/dl ควรได้รับการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด
References
2. วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ . โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ . [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 23 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/keep-your-heart-healthy/diabetic-heart-disease
3. Yamane T. Elementary sampling. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, 1967.
4. American Diabetes Association (ADA). Standards of Medical Care in Diabetes 2017. Diabetes Care 2017; 40(Suppl 1):S4-5.
5. World Health Organization. Facts & Figures: Classification of diabetes mellitus. [Accessed
August 14, 2006].Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs138/en/.
6. พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553; 16:218-37.
7. Al-Lawati JAI, Barakat MN, Al-Maskari M, Elsayed MK. HbA1c Levels among Primary Healthcare Patients with Type 2 Diabetes Mellitus in Oman. Oman Med 2012; 27: 465–70.
8. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็น
เบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 256-68.
9. โศรดา ชุมนุ้ย และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องค้า อำเภอร่องค้า จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2550; 1: 60-9.
10. ปกาสิต โอวาทกานนท์. นิพนธ์ต้นฉบับผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26: 339-49.
11. อุสา พุทธรักษ์ และ เสาวนันท์ บำเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. The national graduate research conference 34th. 989-1000.
12. Nor Azlina A. Rahman, A.A.-S. Ismail, Yaacob Nor Azwany, Lin Naing. Factors associated with HbA1c levels in poorly controlled type 2 diabetic patients in North-East Malaysia. International Medical Journal 1994; 15:29-34.
13. นภา เมฆวณิชย์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Fasting Plasma Glucose และ Hemoglobin A1c เพื่อจัดทำตารางค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2557; 42:4974-90.
14. Ahmad NS, Islahudin F, Paraidathathu T. Factors associated with good glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus. J Diabetes Investig 2014; 5:563–9.