การจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • Nussara Dilokrattanaphichit Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
  • Wipharat Juthasantikul Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
  • Pannipa Phakam
  • Maliwan Oofuvong Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยง; การระงับความรู้สึก

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การบริหารจัดการความเสี่ยงทางวิสัญญีที่เหมาะสม น่าจะลดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินตนเองถึงระดับการรับรู้ในการจัดการความเสี่ยงของวิสัญญีพยาบาลในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

วิธีการศึกษา: ศึกษาในวิสัญญีพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มากกว่า 1 ปี จำนวน 62 รายโดยใช้แบบสอบถามการจัดการความเสี่ยงของวิสัญญีพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกที่สร้างขึ้นเองโดยนักวิจัย มีทั้งหมด 52 ข้อเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale ) 5 ระดับและแปลผลคะแนนโดยใช้เกณฑ์การประเมินของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.88 และ 0.89 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.97 และ 0.94 ตามลำดับ

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกของวิสัญญีพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.65 ± 0.37) ส่วนการจัดการความเสี่ยงเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ก่อน ระหว่างและหลังให้ยาระงับความรู้สึกมีคะแนนอยู่ในระดับดี (4.41 ± 0.50)

สรุป: วิสัญญีพยาบาลได้ประเมินตนเองถึงระดับการรับรู้ในการจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกอยู่ในระดับดีถึงดีมากซึ่งอาจนำไปสู่การบริการที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

References

1. เพ็ญจันทร์ แสนสบาย. การจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย.กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์จำกัด, 2551.
2. วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, ทัศนีย์ นะแส. การรับรู้ของวิสัญญีพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยโดยหัวหน้าวิสัญญีพยาบาลและการปฏิบัติของวิสัญญีพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลทุติยภูมิและตติยภูมิในภาคใต้.สงขลานครินทร์เวชสาร 2558; 33: 121-37.
3. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. HA Update 2008. พิมพ์ครั้งที่??. นนทบุรี : ดีวัน, 2551.
4. พจนา รุ่งรัตน์.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติเรื่องการบริหารความเสี่ยงกับการปฏิบัติตามกระบวนการความเสี่ยงของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลบ้านค่าย จังหวัดระยอง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2557; 25: 73-84.
5. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Patient safety concept and practice:ระบบกับความปลอดภัย.กรุงเทพมหานคร:ดีไซด์, 2546.
6. สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. เส้นทางสู่ Hospital Accreditation. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ไทย-ญี่ปุ่น, 2543.
7. PunjasawadwongY, Chinachoti T, Charuluxananan S,Pulnitiporn A, Klanarong S, Chau-in W et al. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of oxygen desaturation. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Supply): 41-53.
8. ChanchayanonT, Suraseranivonge S, Chau-In W. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of difficult intubations: a qualitative analysis. J Med Assoc Thai 2005; 88(Supply): 62-8.
9. Hintong T, Chau-In W, Thienthong S,Nakcharoenwaree S.An analysis of the drug error problem in The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study). J Med Assoc Thai 2005; 88(Supply): 118-27.
10. ThienthongS,Hintong T, PunjasawadwongY.Tranfusion Errors in TheAnesthesia Incidents Study(THAI Study):Three Cases. J Med Assoc Thai 2005; 88(Supply): S145-8.
11. ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ, นันธิดา พันธุศาสตร์, แสงรวี มณีศรี. การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555; 35: 118-24 .
12. รัดดา กำหอม, พนารัตน์ รัตนสุวรรณยิ้มแย้ม, อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ, กชกร พลาชีวะ, ลำไพย พลเสนา, สุธันนี สิมะจารึก. อุบัติการณ์ทางวิสัญญีภายใน 24ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์.ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28: 490-6.
13. บุณฑริกา อาจนาเสียว, ธีรวัฒน์ ชลาชีวะ, วรินี เล็กประเสริฐ. การจัดการความเสี่ยงทางวิสัญญี.วิสัญญีสาร 2558; 41: 263-77.
14. TheHealth Accreditation Institute. Hospital standard and serve health glorify to cerebrate total the royal treasures fully 60 year. Nonthaburi: Institute; 2008.
15. The Health Accreditation Institute. Patient safety goal: SIMPLE. Nonthaburi: Poramut; 2008
16. Bureau of Nursing, Department of Medical Service, Ministry of Public Health. Nursing standard in hospital. Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand; 2007.
17. Benner P.From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. California: ADDISON-wesley; 1984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-18