พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับภายหลังการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตร้าซาวด์ในจังหวัดยโสธร: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
คำสำคัญ:
มะเร็งท่อน้ำดี; ปลาดิบบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนที่ได้รับและไม่ได้รับการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตร้าซาวด์ในจังหวัดยโสธร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective Randomized Controlled Trial ทำการศึกษาในจังหวัดยโสธรโดยศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบชนิดต่างๆ และตรวจ urine OV Ag ในกลุ่มเสี่ยง แล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจะได้รับการตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวด์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการตรวจ หลังจากนั้น 1 ปี ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและตรวจ urine OV Ag อีกครั้ง
ผลการศึกษา: ประชากรศึกษาทั้งหมด 180 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 90 ราย พบว่าประชากรกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงการบริโภคปลาร้าดิบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.648 , 1.0 ) ปลาส้มดิบ ปลาจ่อมปลาเจ่าดิบ และลาบก้อยปลาดิบ ในกลุ่มทดลองบริโภคลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.017, 0.001,<0.001) ในกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ชนิด (p = 0.265, 0.69, 0.383) และผลตรวจurine OV Ag มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 2 กลุ่ม (p = 0.5, 0.839)
สรุป: การคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตร้าซาวด์มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ
References
2. Migasena P, Changbumrung S. The role of nitrosamines in the cause of primary carcinoma. J Med Assoc Thai 1974; 57: 175-8.
3. ประยงค์ ระดมยศ, อัญชลี ตั้งตรงจิตร,ศรีวิชา ครุฑสูตร, พลรัตน์ วิไลรัตน์,สุภลัคน์ โพธิ์พฤกษ์. Atlas of Medical Parasitology. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์, 2549
4. Marcelo Facciuto, Norifumi Harimoto, Myron E. Schwartz, Sander S. Florman. Surgical treatment of intrahepatic cholangiocarcinoma in the USA. J Hepatobiliary Pancreat Sci 2015; 22: 124–30.
5. Pisit Pattanathien, Narong Khuntikeo, Supannee Promthet, Supot Kamsa-ard. Survival Rate of Extrahepatic Cholangiocarcinoma Patients after Surgical Treatment in Thailand. Asian Pacific J Cancer Prev 2013; 14: 321-4.
6. Ahmad Ramzi Yusoff, Mohd Muzammil Abdul Razak, Yoong Boon Koon, R Vijeyasingam, Siti Zuraidah Mahmud. Survival analysis of cholangiocarcinoma: A 10-year experience in Malaysia. World J Gastroenterol 2012; 18: 458-65.
7. Chanika Worasith, Christine Kamamia, Anna Yakovleva, Kunyarat Duenngai , Chompunoot Wangboon, Jiraporn Sithithaworn et al. Advances in the Diagnosis of Human Opisthorchiasis: Development of Opisthorchis viverrini Antigen Detection in Urine. PLoS Neglected Tropical Diseases 2015; 9: 1-18.
8. Nittaya Chamadol, Chawalit Pairojkul, Narong Khuntikeo , Vallop Laopaiboon , Watcharin Loilome, Paiboon Sithithaworn, et al. Histological confirmation of periductal fibrosis from ultrasound diagnosis in cholangiocarcinoma patients. J Hepatobiliary Pancreat Sci 2014; 21: 316-22.
9. Prochaska JO, Velicer WF. The transtheoretical model of health behavior change. Am J Health Promot 1997; 12: 38-48