อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากหลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
มะเร็งช่องปาก; อัตรารอดชีพ; ทะเบียนมะเร็งบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์ : โรคมะเร็งช่องปาก (Oral cancer, OC) ปัจจุบันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จังหวัดบุรีรัมย์ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับอัตราการรอดชีพ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพผู้ป่วย OC หลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา : ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็น OC รหัสโรคมะเร็งสากล (C00-C06) และได้รับการยืนยันผลพยาธิวิทยา ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 ติดตามสถานะสุดท้ายถึงปี พ.ศ. 2562 จำนวน 339 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95 % สถิติทดสอบโดย Log-rank test
ผลการศึกษา : ผู้ป่วย OC 339 ราย ระยะติดตาม 444 รายต่อปีปี เสียชีวิต 261 ราย อัตราเสียชีวิต 59.0 ต่อ 100 รายต่อปี (95% CI ; 52.1 - 66.6) ค่ามัธยฐานการรอดชีพ 0.83 ปี (95% CI ; 0.70 - 0.96) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3 และ5 ปี ร้อยละ 43.9 (95% CI ; 38.5 - 49.1), ร้อยละ 25.0 (95% CI ; 20.2 - 30.0) และร้อยละ 14.8 (95% CI ; 10.0 - 20.4) ตามลำดับ
สรุป : อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็ง OC หลังการวินิจฉัยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระยะเวลา 5 ปีต่ำ ดังนั้นการป้องกันระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิมีความจำเป็น การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น รวมทั้งการค้นหาปัจจัยในเชิงลึกต่อไป
References
2. Ghantous Y, Abu Elnaaj I. Global incidence and risk factors of oral cancer. [WWW Document], n.d. 2017 Oct;156(10):645-649. Available from : URL https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29072384
3. Bray F, Colombet M, Mery L, Piñeros M, Znaor A, Zanetti R, et al, editors 2017. Cancer Incidence in Five Continents, Vol. XI (electronic version). Lyon: International Agency for Research on Cancer. Available from: https://ci5.iarc.fr
4. Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn P, Suwanrungrung K, Sangrajrang S, et al, 2015. Cancer in Thailand Vol. VIII, 2010-2012. Bangkok: Bangkok Medical Publisher, Bangkok. 13-15.
5. Imsamran W, Pattatang A, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, Wongsena M, et al, 2018. Cancer in Thailand Vol. IX, 2013-2015. New Thammada Press (Thailand) Co., Ltd. 202 Soi Charoenkrung 57, Yannawa, Sathorn, Bangkok 10120 Thailand, Bangkok. 19-21.
6. Khuhaprema T, Attasara P, Sriplung H, Wiangnon S, Sangrajrang S, Cancer in Thailand Vol. VII, 2007-2009. Bangkok: Bangkok Medical Publisher, Bangkok, 2013: 15-17.
7. Khuhaprema T, Attasara P, Sriplung H, Wiangnon S, Sumitsawan Y, Sangrajrang S, Cancer in Thailand Vol. VI, 2004-2006. Bangkok: Bangkok Medical Publisher, Bangkok, 2012: 10-12.
8. Khuhaprema T, Srivatanakul P, Attasara P, Sriplung H, Wiangnon S, Sumitsawan Y, Cancer in Thailand Vol. V, 2000-2003. Bangkok: Bangkok Medical Publisher, Bangkok, 2010: 10-12.
9. ลักขณา สีนวลแล, ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์, สุพรรณี พรหมเทศ, สุพจน์ คำสะอาด. การรอดชีพ 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากชนิด Squmous cell carcinoma ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 1: 61 – 70.
10. Kruaysawat W, Aekplakorn W, Chapman RS. Survival time and prognostic factors of oral cancer in Ubon Ratchathani Cancer Center. J Med Assoc Thai 2010; 93(3): 278-284.
11. Asio J, Kamulegeya A, Banura C, Survival and associated factors among patients with oral squamous cell carcinoma (OSCC) in Mulago hospital, Kampala, Uganda. Cancers Head Neck 2018; 3: 9. doi.org/10.1186/s41199-018-0036-6.
12. เกียรติศักดิ์ ตัณฑวิเชียร, ธีรพร รัตนาอเนกชัย, กมลวรรณ เจนวิถีสุข, สุพจน์ คำสะอาด. อัตรารอดชีพและการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยมะเร็งลิ้น ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ประสบการณ์ 8 ปี. การศึกษาและการฝึกอบรมตามหลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาโสต นาสิกวิทยา ของแพทยสภา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มปป. 2550.
13. Borsetto D, Higginson JA, Aslam A, Al Qamachi L, Dhanda J, Marioni G, et al, Factors affecting prognosis in locoregional recurrence of oral squamous cell carcinoma. J Oral Pathol Med 2019; 48: 206–213.
14. หัชชา ศรีปลั่ง. วิเคราะห์คุณภาพข้อมูลมะเร็งและศึกษาสถานการณ์โรคมะเร็งและความสัมพันธ์กับแนวโน้มและการกระจายของปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ 2553 ; 1 : 48-56.