ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในญาติ สายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ผู้แต่ง

  • สายรุ้ง ประกอบจิตร นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ; พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม; ญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีไทยมากเป็นอันดับ 3 การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมีความสำคัญช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันมะเร็งเต้านมในญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองอำพรางสองฝ่ายแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี จำนวน 48 ราย อายุ 20- 65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม) กลุ่มละ24 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ ใช้เวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์

ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันมะเร็งเต้านม และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และกลุ่มทดลองจัดการความเครียดดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

สรุป: โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันมะเร็งเต้านม พฤติกรรมการป้องกันการมะเร็งเต้านม และเพิ่มทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ดีขึ้น

References

1. World Health Organization. (‎2020)‎. WHO report on cancer: setting priorities, investing wisely and providing care for all. [Internet]. 2020. [cited Sep 11, 2020]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/330745/9789240001299-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
2. Imsamran W, Supattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, Pattatang A, Wongsena M, et al. Cancer in Thailand IX, 2013-2015. Bangkok. [Internet]. 2019. [cited Jun 1, 2020]. Available from:http://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/In%20Cancer%20in%20Thailand%20IX%20OK.pdf
3. หน่วยทะเบียนมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. สถิติโรคมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. [Internet]. 2559. [cited Jun 1, 2020]. Available from: https://uboncancer.go.th/ubcc2016v2/statcancer.php
4. Chaveepojnkamjorn W, Thotong R, Sativipawee P, Pitikultang S. Body Mass Index and Breast Cancer Risk among Thai Premenopausal Women: a Case-Control Study. Asian Pac J Cancer Prev 2017; 18: 3097-3101.

5. Miller AB. Practical applications for clinical breast examination (CBE) and breast self-examination (BSE) in screening and early detection of breast cancer. Breast Care (Basel) 2008; 3: 17-20.
6. Kickbusch I. The contribution of the World Health Organization to a new public health and health promotion. Am J Public Health 2003; 93: 383-8.
7. Das S, Mitra K, Mandal M. Sample size calculation: basic principles. Indian J Anaesth 2016; 60: 652-656.
8. Rastegar M, Mahmoodi Z, Esmaelzadeh Saeieh S, Sharifi N, Kabir K. The Effect of Health Literacy Counselling on Self-Care in Women after Mastectomy: a Randomized Clinical Trial. J Caring Sci 2020; 9: 39-45.
9. วิมล โรมา, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, มธุรส ทิพยมงคลกุล, ณัฐนารี เอมยงค์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, สายชล คล้อยเอี่ยม และคณะ. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1). [Internet]. 2561. [cited Jun 6, 2020]. Available from: http://164.115.27.97/digital/files/original/a6e73814efb58a07991c5be54b1498d1.pdf
10. World Health Organization. Breast cancer: prevention and control. [Internet]. 2551. [cited 2020 Jun 5]. Available from: https://www.who.int/cancer/detection/breastcancer/en/
11. Barry D Weiss, Mary Z Mays, William Martz, Kelley Merriam Castro, Darren A DeWalt, Michael P, et al. Quick assessment of literacy in primary care: the newest vital sign. Ann Fam Med 2005; 3: 514-522.
12. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมมาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง 2540; 13: 1-20
13. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม. [Internet]. 2561. [cited Jun 6, 2020]. Available from: https://hp.anamai.moph.go.th/article_attach/คู่มือการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม.pdf
14. Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promot Int 2000; 15: 259-267.
15. สมฤดี อรุณจิตร, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20: 289-297.
16. ณัฐณิชา แหวนวงศ์, สุรีพร ธนศิลป์, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มแม่บ้านทำความสะอาด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562; 35: 21-36.
17. ปรียานุช มณีโชติ, ประณีต ส่งวัฒนา, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคและอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีไทยในชนบท. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26: 9-16.
18. รุ้งระวี นาวีเจริญ, สุรศักดิ์ ตรีนัย, นพมาศ พัดทอง, สุวิมล โรจนาวี. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน มะเร็งเต้านมและการติดตามด้วยโทรศัพท์ต่อพฤติกรรม การป้องกันมะเร็งเต้านมของ บุคลากรหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารแพทย์นาวี 2561; 45: 187-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20

How to Cite

1.
ประกอบจิตร ส, กลางคาร ส. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในญาติ สายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 20 มกราคม 2021 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];36(1):82-9. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/248691