ความหนาของผนังทรวงอกในบริเวณที่ใช้ในการใส่สายระบายทรวงอก

ผู้แต่ง

  • ผาติ อังคสิทธิ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภาณุ ธีรตกุลพิศาล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ไชยยุทธ ธนไพศาล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณรงชัย ว่องกลกิจศิลป์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บที่หน้าอก; ท่อระบายน้ำระหว่างซี่โครง

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การใส่สายระบายช่องอกในปัจจุบันกระทำในตำแหน่งที่เรียกว่า “Safe triangle” (ซึ่งประกอบด้วย ขอบด้านหน้าของกล้ามเนื้อ latissimus dorsi, ขอบหลังของกล้ามเนื้อ pectoralis major, และระดับของหัวนม) ผนังทรวงอกที่หนาขึ้นจะส่งผลต่อความยากของการทำหัตถการ การศึกษานี้จึงกระทำเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่ปลอดภัยสำหรับการใส่สายระบายช่องอก

วิธีการศึกษา: การศึกษาโดยร่างอาจารย์ใหญ่ ซึ่งใช้วิธีวัดความหนาของผนังช่องอกเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่บางที่สุด โดยกระทำการวัดในหน่วยมิลลิเมตรและวัดระดับดัชนีมวลกายร่วมด้วย

ผลการศึกษา: ทำการศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ 20 ร่าง ค่าเฉลี่ยความหนาของผนังทรวงอกในตำแหน่ง safe triangle อยู่ที่ 14.4 – 23.9 มิลลิเมตร ส่วนบริเวณที่มีความหนามากกว่า 50 มิลลิเมตรนั้นอยู่ที่ขอบหน้า axillary line (54 และ 56 มิลลิเมตร) ตัดกับช่องซี่โครงช่องที่ 3 ในขณะที่บริเวณที่บางที่สุด (14.4 มิลลิเมตร) อยู่บริเวณซี่โครงช่องที่ 7 และเพศหญิงมักมีผนังทรวงอกที่หนากว่าเพศชาย

สรุป: ผนังทรวงอกบางพื้นที่ภายใน safe triangle นั้นมีความหนามากกว่า 50 มิลลิเมตร การใส่สายระบายช่องอกจึงควรกระทำด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศหญิง และควรหลีกเลี่ยงการทำหัตถการในระดับที่ต่ำกว่าซี่โครงช่องที่ 6 เนื่องจากอาจใส่สายระบายเข้าไปในช่องท้องได้

References

1. Ronald M. Stewart, MD, FACS. Advanced Trdauma Life Support (ATLS) 10th Edition. Chicago, IL: American College of Surgeons, 2018.
2. Peter I Tsai, Matthew J Wall Jr, Kenneth L Mattox. Trauma Thoracotomy - General Principles and Techniques. In: Earnest E Moore, David V Feliciano, Kenneth L Mattox, Editors. Trauma 8th edition. New York: McGraw Hill, 2017: 473-478.
3. Laws D, Neville E, Duffy J. BTS guidelines for the insertion of a chest drain. Thorax. 2003 May; 58: 53-59.
4. Inaba K, Karamanos E, Skiada D, Grabo D, Hammer P, Martin M, et al. Cadaveric comparison of the optimal site for needle decompression of tension pneumothorax by prehospital care providers. J Trauma Acute Care Surg. 2015; 79: 1044–1048.
5. Chang SJ, Ross SW, Kiefer DJ, Anderson WE, Rogers AT, Sing RF, et al. Evaluation of 8.0-cm needle at the fourth anterior axillary line for needle chest decompression of tension pneumothorax. J Trauma Acute Care Surg. 2014; 76:1029–1034.
6. Inaba K, Ives C, McClure K, Branco BC, Eckstein M, Shatz D, et al. Radiologic evaluation of alternative sites for needle decompression of tension pneumothorax. Arch Surg Chic Ill 1960. 2012; 147: 813–818.
7. Laan DV, Vu TDN, Thiels CA, Pandian TK, Schiller HJ, Murad MH, et al. Chest wall thickness and decompression failure: A systematic review and meta-analysis comparing anatomic locations in needle thoracostomy. Injury. 2016; 47: 797–804.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-05

How to Cite

1.
อังคสิทธิ์ ผ, ธีรตกุลพิศาล ภ, ธนไพศาล ไ, ว่องกลกิจศิลป์ ณ. ความหนาของผนังทรวงอกในบริเวณที่ใช้ในการใส่สายระบายทรวงอก. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 5 เมษายน 2021 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];36(2):127-30. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/249559