ไส้ตรงหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ความสัมพันธ์มะเร็ง; อัตรารอดชีพ; ทะเบียนมะเร็งบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colorectal cancer, CRC) การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าอัตรารอดชีพในตำแหน่งการเกิด CRC ยังขัดแย้งกันอยู่และอัตรารอดชีพยังมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตรารอดชีพระหว่างตำแหน่งเกิดโรคมะเร็งด้านซ้ายและด้านขวาและศึกษาอัตรารอดชีพ CRC หลังการวินิจฉัยในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย CRC 2,096 ราย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ.2557-2561 วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95 % สถิติทดสอบโดยสถิติ Log rank test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย CRC 2,096 ราย เสียชีวิต 1,290 ราย อัตราเสียชีวิต 31.4 ต่อ 100 ราย/ปี (95% CI; 29.6-33.1) ค่ามัธยฐานการรอดชีพ 1.95 ปี (95% CI; 1.77-2.12) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3 และ 5 ปี ร้อยละ 66.6 (95% CI; 64.5-68.5), 39.3 (95% CI 37.0-41.5) และ 30.3 (95% CI; 27.7-32.8) ตามลำดับ อัตรารอดชีพตำแหน่งเกิดโรคมะเร็งด้านซ้ายและด้านขวา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Log rank test=0.59, p =0.444)
สรุป: ตำแหน่งมะเร็ง CRC มีอัตรารอดชีพไม่แตกต่างกัน ส่วนอัตรารอดชีพในระยะเวลา 5 ปียังต่ำ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น รวมทั้งศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกับการรอดชีพผู้ป่วย CRC ในเชิงลึกต่อไป
References
2. Imsamran W, Pattatang A, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, Wongsena M, et al. Cancer in Thailand vol. IX, 2013-2015. Bangkok: New Thammada Press (Thailand) Co., Ltd. 202 Soi Charoenkrung 57, Yannawa, Sathorn, Bangkok 10120 Thailand, 2018.
3. Shida D, Tanabe T, Boku N, Takashima A, Yoshida T, Tsukamoto S, et al. Prognostic value of primary tumor sidedness for unresectable stage IV colorectal cancer: a retrospective study. Ann Surg Oncol 2019; 26 :1358–1365.
4. 4. Norén A, Eriksson HG, Olsson LI. Selection for surgery and survival of synchronous colorectal liver metastases; a nationwide study. Eur J Cancer 2016; 53:105–114.
5. ภานุพล พงษ์ธนู, สุพรรณี พรหมเทศ, กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง, อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชากรจังหวัดขอนแก่น.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2559; 2: 243-251.
6. นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ, เกรียงไกร โกวิทางกูร, ณรงค์ชัย สังซา, ชิตเขต โตเหมือน, วงษ์กลาง กุดวงษา, พงษ์เดช สารการ และคณะ. การเปรียบเทียบอัตรารอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 และ3 หลังได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32: 584-90
7. Moghimi-Dehkordi B, Safaee A, Zali M. Comparison of colorectal and gastric cancer: survival and prognostic factors. Saudi J Gastroenterol 2009; 15: 18-23.
8. 8. Rasouli MA, Moradi G, Roshani D, Nikkhoo B, Ghaderi E, Ghaytasi B, et al. Prognostic factors and survival of colorectal cancer in Kurdistan province, Iran: A population-based study (2009–2014). Medicine 2017; 96: 294-300.
9. Zhang S, Gao F, Luo J, Yang J. Prognostic factors in survival of colorectal cancer patients with synchronous liver metastasis: Factor in survival of colorectal cancer with liver metastasis. Colorectal Dis 2009; 12: 754–761.