ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและการทำงานของกล้ามเนื้อ anterior scalene ในผู้หญิงที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง
คำสำคัญ:
ปวดคอเรื้อรัง; ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ; การทำงานของกล้ามเนื้อบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: อาการปวดคอเรื้อรังส่งผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณคอ และอาการล้าของกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวไหล่และทรวงอก การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และการทำงานของกล้ามเนื้อ anterior scalene (AS) ในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง กับอาสาสมัครไม่มีอาการปวดคอ
วิธีการศึกษา: อาสาสมัคร 10 คนที่มีอาการปวดคอเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน และ อาสาสมัครไม่มีอาการปวดคอ 10 คน ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ anterior scalene ขณะทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ
ผลการศึกษา: อาสาสมัครที่มีอาการปวดคอพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าและออก มีค่าต่ำกว่าอาสาสมัครที่ไม่มีอาการปวดคอ(51.1 ± 5.5 และ 72.5 ± 4.9 cmH2O, p < 0.001) และ (59.1 ± 3.3 และ 80.0 ± 3.4 cmH2O, p < 0.001) ขณะทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าในอาสาสมัครที่มีอาการปวดคอมีค่าการทำงานของกล้ามเนื้อ AS ทั้งข้างขวาและซ้าย สูงกว่าอาสาสมัครที่ไม่มีอาการปวดคอ (58.7 ± 11.8 และ 46.1 ± 6.7, p < 0.05) และ (62.9 ± 14.2 และ 47.6 ± 3.8, p < 0.05) ตามลำดับ
สรุป: อาสาสมัครที่มีอาการปวดคอเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการปวดคอ และ กล้ามเนื้อ AS ทำงานเพิ่มมากขึ้น ขณะทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอาการปวดคอ
References
2. Suvarnnato T, Puntumetakul R, Uthaikhup S, Boucaut R. Effect of specific deep cervical muscle exercises on functional disability, pain intensity, craniovertebral angle, and neck-muscle strength in chronic mechanical neck pain: a randomized controlled trial. J Pain Res 2019;12: 915-925.
3. Hidalgo B, Hall T, Bossert J, Dugeny A, Cagnie B, Pitance L. The efficacy of manual therapy and exercise for treating non-specific neck pain: A systematic review. J Back Musculoskelet Rehabil 2017; 30(6): 1149-1169.
4. Hoe VC, Urquhart DM, Kelsall HL, Zamri EN, Sim MR. Ergonomic interventions for preventing work-related musculoskeletal disorders of the upper limb and neck among office workers. Cochrane Database Syst Rev 2018; 10(10): CD008570-CD.
5. Lee HS, Chung HK, Park SW. Correlation between Trunk Posture and Neck Reposition Sense among Subjects with Forward Head Neck Postures. Biomed Res Int 2015; 2015(6): 1-6.
6. Sieck GC, Ferreira LF, Reid MB, Mantilla CB. Mechanical properties of respiratory muscles. Compr Physiol. 2013; 3(4): 1553-1567.
7. Hutcheson KA, Hammer MJ, Rosen SP, Jones CA, McCulloch TM. Expiratory muscle strength training evaluated with simultaneous high-resolution manometry and electromyography. Laryngoscope. 2017; 127(4): 797-804.
8. Gea J, Pascual S, Casadevall C, Orozco-Levi M, Barreiro E. Muscle dysfunction in chronic obstructive pulmonary disease: update on causes and biological findings. J Thorac Dis 2015; 7(10): E418-E438.
9. Lo Mauro A, Aliverti A. Physiology of respiratory disturbances in muscular dystrophies. Breathe (Sheff) 2016; 12(4): 318-327.
10. Falla D, Farina D. Neuromuscular adaptation in experimental and clinical neck pain. J
Electromyogr Kinesiol 2008; 18(2): 255-261.
11. Cheng CH, Wang JL, Lin JJ, Wang SF, Lin KH. Position accuracy and electromyo-graphic responses during head reposition in young adults with chronic neck pain. J Electromyogr Kinesiol 2010; 20(5): 1014-1020.
12. Kapreli E, Vourazanis E, Billis E, Oldham JA, Strimpakos N. Respiratory dysfunctioninchronic neck pain patients. A pilot study. Cephalalgia 2009; 29(7): 701e10.