ความเที่ยงตรงของแบบประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและการฟื้นฟูหัวใจหลังการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา จันทรวงศ์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรวุฒิ อุสุภราช ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา ทรงแสงฤทธิ์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พจีมาศ กิตติปัญญางาม ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด; การฟื้นฟูหัวใจ; การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด; แบบสอบถาม

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดควรได้รับความรู้การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดและการฟื้นฟูหัวใจ เพื่อการฟื้นตัวที่เร็วและปลอดภัย ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือในการประเมินความรู้และความเข้าใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาแบบประเมินความรู้และความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดและการฟื้นฟูหัวใจภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขึ้น

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นแบบพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยแบบประเมินการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด 10 ข้อ และการฟื้นฟูหัวใจ 8 ข้อ โดยบุคลากรทางการแพทย์ 36 ราย (นักกายภาพบำบัด แพทย์ และพยาบาล) ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลใกล้เคียง ประเมินความเที่ยงตรงของแบบประเมิน โดยข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of item-objective congruence, IOC) > 0.8 ขึ้นไปถือว่ามีความเที่ยงตรง

ผลการศึกษา: แบบประเมินการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดและการฟื้นฟูหัวใจทุกข้อมีค่า IOC > 0.8 ยกเว้นคำถามการฟื้นฟูหัวใจข้อที่ 4 มีค่า IOC 0.5 และภายหลังการแก้ไขมีค่า IOC > 0.8

สรุป: แบบประเมินความรู้และความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดและการฟื้นฟูหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีความเที่ยงตรง

References

1. Cardiovascular diseases. Cause of death [Internet]. Geneva: Global Health Estimates 2016: Deaths by Cause, Age, Sex, by Country and by Region, 2000-2016. Geneva; World Health Organization. 2018 [cited July 20, 2020]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death.
2. Salim SV, Alvaro A, Emelia JB, Marcio SB, Clifton WC, April PC, et al. Heart disease and stroke statistics 2020 update: a report from the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation 2020; 119: 139-596.
3. สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. สถิติการผ่าตัดหัวใจ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://thaists.org/news_detail.php?news_id=212
4. Rosdahl CB, Kowalski MT. Textbook of basic nursing. 9th ed. New York:Lippincott Williams & Wilkins; 2008.
5. ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. Critical care in cardiothoracic surgery: sedation and analgesia in cardiothoracic surgery. ใน: เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์, วีระชัย นาวารวงศ์, บรรณาธิการ. Critical care in cardiothoracic surgery. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2552: 59-71.
6. Adams J, Lotshaw A, Exum E, Campbell M, Spranger CB, Beveridge J, et al. An alternative approach to prescribing sternal precautions after median sternotomy, “Keep Your Move in the Tube”. Proc (Bayl Univ Med Cent) 2016; 29(1): 97–100.
7. Katijjahbe MA, Granger CL, Denehy L, Royse A, Royse C, Bates R, et al. Standard restrictive sternal precautions and modified sternal precautions had similar effects in people after cardiac surgery via median sternotomy (‘SMART’ Trial): a randomised trial. J Physiother 2018; 64(2): 97–106.
8. Clini E, Ambrosino N. Early physiotherapy in the respiratory intensive care unit. Resp Med 2005; 99(9): 1096-1104.
9. Ambrosino N, Venturelli E, Vagheggini G, Clini E. Rehabilitation, weaning and physical therapy strategies in chronic critically ill patients. Eur Respir J 2012; 39: 487–492.
10. American Association of Cardiovascular & Pulmonary Rehabilitation. Guidelines for cardiac rehabilitation and secondary prevention programs. 6th ed. Illinois:Human Kinetics; 2020.
11. American Association of Cardiovascular & Pulmonary Rehabilitation. Guidelines for cardiac rehabilitation and secondary prevention programs. 4th ed. Illinois:Human Kinetics; 2004.
12. Westerdahl E, Lindmark B, Eriksson T, Hedenstierna G, Tenling A. Deep-breathing exercises reduce atelectasis and improve pulmonary function after coronary artery bypass surgery. Chest 2005; 128(5): 3482-3488.
13. Yánez-Brage I, Pita-Fernández S, Juffé-Stein A, Martínez-González U, Pértega-Díaz S, Mauleón-García Á. Respiratory physiotherapy and incidence of pulmonary complications in off-pump coronary artery bypass graft surgery: an observational follow-up study. BMC pulmonary medicine 2009; 9(36): 1-10.
14. ชมรมฟื้นฟูหัวใจ. แนวทางการฟื้นฟูสภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac Rehabilitation Guideline) [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/RehabGuideline.pdf
15. George AJ, Gordon PB. Initial Scale Development: Sample Size for Pilot Studies. Educ Psychol Meas 2009; 70; 394-400.
16. สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC)[อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-04

How to Cite

1.
จันทรวงศ์ ส, อุสุภราช ว, ทรงแสงฤทธิ์ เ, กิตติปัญญางาม พ. ความเที่ยงตรงของแบบประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและการฟื้นฟูหัวใจหลังการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 4 ตุลาคาม 2021 [อ้างถึง 19 เมษายน 2025];36(5):557-61. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/252556