อุบัติการณ์ของผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่มารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น ในช่วงการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณ ทองศรี โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ratrawee pattanarattanamolee Khon Kaen hospital
  • พิมพ์ชนก ปัตตาลาคะ รพ.ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยายามฆ่าตัวตาย, พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกโดยเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อัตราและวิธีการฆ่าตัวตายมีความแตกต่างกันตามเพศ ช่วงอายุ บริบททางสังคม อัตราการฆ่าตัวตายในจังหวัดขอนแก่นประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา การศึกษาอุบัติการณ์และรูปแบบวิธีการฆ่าตัวตายจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถวางแผนในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ที่มีเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โควิดมาเกี่ยวข้อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และวิธีการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมการฆ่าตัวตายมากขึ้นและสามารถป้องกันการฆ่าตัวตายและเตรียมพร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายได้

วิธีการศึกษา: การศึกษา retrospective descriptive study เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายที่เข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่าง มีนาคม 2563 ถึง กรกฎาคม 2564 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล  

ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย 408 ราย (ร้อยละ 0.30) ส่วนมากเป็นเพศหญิง(ร้อยละ 53.2) มีช่วงอายุ 15-24 ปี (ร้อยละ 32.8) สถานภาพโสด (ร้อยละ 64.2) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 48.5) วิธีที่ใช้ฆ่าตัวตายที่พบมากที่สุดคือการใช้ยาเกินขนาด (ร้อยละ 39) และการใช้สารเคมี (ร้อยละ 33.8)  ส่วนชนิดของยาเกินขนาดที่ใช้มากที่สุดคือ Acetaminophen และชนิดสารเคมีที่ใช้มากที่สุดคือ น้ำยาล้างห้องน้ำ 

สรุป: อุบัติการณ์ของผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คือร้อยละ 0.30 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุระหว่าง 15-24 ปี วิธีที่ใช้ฆ่าตัวตายที่พบบ่อยคือการใช้ยาเกินขนาดและการใช้สารเคมี

Author Biographies

ปฏิภาณ ทองศรี , โรงพยาบาลขอนแก่น

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3 สังกัดกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

พิมพ์ชนก ปัตตาลาคะ , รพ.ขอนแก่น

อาจารย์แพทย์ประจำกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

References

Saxena S, Krug EG, Chestnov O, World Health Organization, eds. Preventing Suicide: A Global Imperative. World Health Organization; 2014.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. Published July 7, 2021. Accessed July 7, 2021. https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

หน่วยงานเวชระเบียนโรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานผู้ป่วย Intentional self-harm ที่แผนกฉุกเฉินประจำเวร : ทุกเวร ประจำวันที่ 1 มค 2560 ถึง 31 ธค 2562. Published online มปป.

Jordans MJ, Kaufman A, Brenman NF, et al. Suicide in South Asia: a scoping review. BMC Psychiatry 2014;14(1):358. doi:10.1186/s12888-014-0358-9

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย. ใน: วิกิพีเดีย. ; 2021. Accessed July 7, 2021. https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19_%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2&oldid=9496569

รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สกัดโควิด-19 วันพฤหัสบดีนี้. BBC News ไทย. [Accessed July 17, 2021]. Available from: https://www.bbc.com/thai/thailand-52014435.

โควิด-19 : จน เครียด ฆ่าตัวตาย. BBC News ไทย. [Accessed July 17, 2021]. Available from: https://www.bbc.com/thai/thailand-52562321. Published July 7, 2021.

Daniel, Wayne W.: Biostatistics — A Foundations for Analysis in the Health Sciences. Wiley & Sons, New York—Chichester—Brisbane—Toronto—Singapore, 6th ed. 1995, 780 S., £58.—, ISBN 0–471–58852‐0 (cloth) - Enderlein - 1995 - Biometrical Journal - Wiley Online Library. Published July 7, 2021. [Accessed July 7, 2021]. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/bimj.4710370610

Shrestha R, Siwakoti S, Singh S, Shrestha AP. Impact of the COVID-19 pandemic on suicide and self-harm among patients presenting to the emergency department of a teaching hospital in Nepal. PLos ONE 2021;16(4):e0250706. doi:10.1371/journal.pone.0250706

Canner JK, Giuliano K, Selvarajah S, Hammond ER, Schneider EB. Emergency department visits for attempted suicide and self harm in the USA: 2006–2013. Epidemiol Psychiatr Sci 2018;27(1):94-102. doi:10.1017/S2045796016000871

Mirahmadizadeh A, Rezaei F, Mokhtari AM, Gholamzadeh S, Baseri A. Epidemiology of suicide attempts and deaths: a population-based study in Fars, Iran (2011–16). J Public Health 2020;42(1):e1-e11. doi:10.1093/pubmed/fdy218

Serisathien P, Ucharatana W, Boonchome R. An Epidemiological Study of Suicidal Attempt Patients in Governmental Hospitals at Rayong Province. J Psychiatr Assoc Thai 1998;43(1):14-21.

Boonrut T. Suicidal Behaviors of Patients in Psychiatric Clinic in Hatyai Hospital. Reg 11 Med J 2016;30(1):101-9.

Aiamsaart N, Thaweeses P. Epidemiological Study of Suicidal Attempt And Completed Suicide Patients at Phra Phutthabat Hospital. Department of Health Service Support J 2020; 16(3): 23-30.

Lortrakul M. Suicide trends in Thailand: categorized by age and gender. J Psychiatr Assoc Thai 1998;43(1):67-83.

Schrijvers DL, Bollen J, Sabbe BGC. The gender paradox in suicidal behavior and its impact on the suicidal process. J Affect Disord 2012;138(1):19-26. doi:10.1016/j.jad.2011.03.050

Sukhawaha S, Arunpongpaisal S. Risk factor and suicide theory associated with suicide in adolescents: A narrative reviews. J Psychiatr Assoc Thai 2017;62(4):359-378.

Bachmann S. Epidemiology of suicide and the psychiatric perspective. Int J Environ Res Public Health 2018;15:1425. doi:10.3390/ijerph15071425

Pompili M, Serafini G, Innamorati M, et al. Suicidal Behavior and Alcohol Abuse. Int J Environ Res Public Health 2010;7(4):1392-431. doi:10.3390/ijerph7041392

Prateepteranun W. Rate of suicide and factors related to suicidal behavior at chaophayayommarat hospital suphanburi province. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2014;28(3):90-103.

Spiller HA, Ackerman JP, Smith GA, et al. Suicide attempts by self-poisoning in the United States among 10–25 year olds from 2000 to 2018: substances used, temporal changes and demographics. Clin Toxicol 2020;58(7):676-687. doi:10.1080/15563650.2019.1665182

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28

How to Cite

1.
ทองศรี ป, pattanarattanamolee ratrawee, ปัตตาลาคะ พ. อุบัติการณ์ของผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่มารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น ในช่วงการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 . SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 28 เมษายน 2022 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];37(2):146-53. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/253543