ความแม่นยำการคาดคะเนน้ำหนักทารกอายุครรภ์ครบกำหนดขณะรอคลอดด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงและการประเมินทางคลินิกในสตรีตั้งครรภ์ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ผู้แต่ง

  • สิรยา กิติโยดม กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จ.นครราชสีมา

คำสำคัญ:

น้ำหนักทารกในครรภ์, คลื่นเสียงความถี่สูง, การคาดคะเนน้ำหนักทารกทางคลินิก, น้ำหนักแรกเกิด, การตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ขณะรอคลอดมีความสำคัญในการทำนายน้ำหนักจริงของทารก และวิธีการคลอดที่เหมาะสม น้ำหนักสตรีตั้งครรภ์เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการคาดคะเนน้ำหนักทารกครบกำหนดในครรภ์โดยเฉพาะสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน (excessive weight) บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแม่นยำการคาดคะเนน้ำหนักทารกครบกำหนดในครรภ์ขณะรอคลอด โดยการเปรียบเทียบ 4 วิธี ได้แก่ อัลตราซาวนด์ (ultrasound) การตรวจ Leopold การคำนวนด้วยสมการของ Dare’s และ Johnson’s formula ในสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิง method-oriented รูปแบบ prospective cohort design ศึกษาสตรีตั้งครรภ์ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน (body mass index; BMI) ≥ 23 Kg/m2) ที่มาคลอดในห้องคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 ที่อายุสตรีตั้งครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี เป็นการตั้งครรภ์เดี่ยวอายุครรภ์ 370/7 ถึง 416/7 ส่วนนำเป็นศีรษะ มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดไม่มีถุงน้ำคร่ำแตก และคลอดบุตรภายใน 48 ชั่วโมงหลังนอนโรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามน้ำหนักสตรีตั้งครรภ์วันมาคลอด เป็นกลุ่มภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) BMI 23.0-27.5 Kg/m2 และภาวะอ้วน (obese) BMI > 27.5 Kg/m2ทำการวัดน้ำหนักสตรีตั้งครรภ์ ส่วนสูง ยอดมดลูก เส้นรอบท้อง และตรวจภายในของสตรีตั้งครรภ์ ทำการคาดคะเนน้ำหนักทารกด้วยอัลตราซาวนด์ ทำการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ทางคลินิกด้วยการตรวจ Leopold คำนวนจากสมการของ Dare’s และJohnson’s formula และบันทึกน้ำหนักแรกคลอดจริงของทารก นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย mean squared error, mean difference, mean absolute relative difference  และนำเสนอด้วย modified Bland-Altman plot

ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์น้ำหนักเกินมาตรฐานจำนวน 205 ราย (น้ำหนักเกิน 63 ราย BMI เฉลี่ย 25.3 Kg/m2  และภาวะอ้วน 142 ราย BMI เฉลี่ย 33.7 Kg/m2) วิธีการคาดคะเนน้ำหนักทารกในสตรีตั้งครรภ์น้ำหนักเกินมาตรฐานที่แม่นยำที่สุดได้แก่ อัลตราซาวนด์ mean difference (95% CI) -38.89 (-73.68, -4.10) mean absolute relative difference (MARD) 6.23 (5.56, 6.91) ในขณะที่การประเมินทางคลินิกพบว่าวิธี Johnson’s formula ให้ความแม่นยำสูงสุด mean difference (95% CI) 194.20 (142.31, 246.27) MARD 10.43 (9.13, 11.72) ตามด้วยวิธี Leopald MARD 11.20 (9.97, 12.43) และ Dare MARD 14.13 (12.38,15.87) ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อแบ่งกลุ่มสตรีตามน้ำหนัก อัลตราซาวนด์ ยังเป็นวิธีที่ให้ความแม่นยำมากที่สุด ทั้งในกลุ่มสตรีน้ำหนักเกิน และภาวะอ้วน mean difference -67.32 (-124.08, -10.55) MARD 5.57 (4.37,6.78) และ mean difference -26.82 (-70.01, 17.45) MARD (6.52 (5.70,7.34) ตามลำดับ และสำหรับการประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์ทางคลินิกวิธีที่คาดคะเนได้แม่นยำที่สุด ในกลุ่มสตรีน้ำหนักเกิน ได้แก่ Dare’s formula (mean difference 31.21 (-47.62, 110.03), MARD 8.27 (6.60, 9.95) และในกลุ่มภาวะอ้วน ได้แก่ Johnson’s formula (mean difference 237.05 (171.83, 302.27), MARD 11.08 (9.44, 12.73)     

สรุป: การคาดคะเนน้ำหนักทารกของสตรีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ในสถานที่มีอุปกรณ์และบุคลากรสามารถทำอัลตราซาวนด์ได้ แนะนำให้ทำการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์ ในสถานที่ไม่มีอุปกรณ์หรือบุคลากร การตรวจคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ทางคลินิกแนะนำประเมินน้ำหนักทารกด้วย Johnson’s formula

References

American College of Obstetricians and Gynecologists. ACOG Practice bulletin No. 134:

fetal growth restriction. Obstet Gynecol 2013;121(5):1122-33. doi: 10.1097/01.AOG.0000429658.85846.f9

American College of Obstetricians and Gynecologists. ACOG Practice bulletin No. 173:

Fetal Macrosomia. Obstet Gynecol 2016;128(5):e195-e209. doi: 10.1097/AOG.0000000000001767. PMID: 27776071.

Malik R, Thakur P, Agarwal G. Comparison of three clinical and three ultrasonic equations in predicting fetal birth weight. Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol 2016;5(1):210-6. doi:10.18203/2320-1770.ijrcog20151627

Mgbafulu CC, Ajah LO, Umeora OU, Ibekwe PC, Ezeonu PO, Orji M. Estimation of fetal weight: a comparison of clinical and sonographic methods. J Obstet Gynaecol 2019;39(5):639-646. doi: 10.1080/01443615.2019.1571567

Kumari A, Goswami S, Mukherjee P. Comparative study of various methods of fetal

weight estimation in term pregnancy. J South Asian Feder Obst Gynae 2013;5(1):22-5. doi:10.5005/jp-journals-10006-1213

Raghuvanshi T, Pawar M, Patil A. Comparative study of foetal weight estimation by various methods among term pregnancies at rural tertiary care centre, Maharashtra. J Evol Med Dent Sci 2014;3(41):10291-7. doi:10.14260/jemds/2014/3336

Hadlock FP, Harrist RB, Sharman RS, Deter RL, Park SK. Estimation of fetal weight with the use of head, body, and femur measurements--a prospective study. Am J Obstet Gynecol 1985;151(3):333-7. doi:10.1016/0002-9378(85)90298-4

Preyer O, Husslein H, Concin N, Ridder A, Musielak M, Pfeifer C, et al. Fetal weight estimation at term - ultrasound versus clinical examination with Leopold's manoeuvres: a prospective blinded observational study. BMC Pregnancy Childbirth 2019;19(1):122. doi:10.1186/s12884-019-2251-5

Heer IM, Kumper C, Vogtle N, Muller-Egloff S, Dugas M, Strauss A. Analysis of factors influencing the ultrasonic fetal weight estimation. Fetal Diagn Ther 2008;23(3):204-10. doi:10.1159/000116742

Farrell T, Holmes R, Stone P. The effect of body mass index on three methods of fetal weight estimation. BJOG 2002;109(6):651-7. doi:10.1111/j.1471-0528.2002.01249.x

Field NT, Piper JM, Langer O. The effect of maternal obesity on the accuracy of fetal weight estimation. Obstet Gynecol 1995;86(1):102-7. doi:10.1016/0029-7844(95)00096-A

Fox NS, Bhavsar V, Saltzman DH, Rebarber A, Chasen ST. Influence of maternal body mass index on the clinical estimation of fetal weight in term pregnancies. Obstet Gynecol 2009;113(3):641-5. doi:10.1097/AOG.0b013e3181998eef

NCD Risk Factor Collaboration (NCD-RisC). Worldwide trends in body-mass index, underweight, overweight, and obesity from 1975 to 2016: a pooled analysis of 2416 population-based measurement studies in 128·9 million children, adolescents, and adults. Lancet 2017;390(10113):2627-42. doi:10.1016/S0140-6736(17)32129-3

GBD 2015 Obesity Collaborators, Afshin A, Forouzanfar MH, Reitsma MB, Sur P, Estep K, Lee A, et al. Health effects of overweight and obesity in 195 countries over 25 years. N Engl J Med 2017;377(1):13-27. doi:10.1056/NEJMoa1614362

Tanvig M. Offspring body size and metabolic profile - effects of lifestyle intervention in obese pregnant women. Dan Med J 2014;61(7):B4893.

WHO Expert Consultation. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet 2004;363(9403):157-63. doi:10.1016/S0140-6736(03)15268-3

Dittkrist L, Vetterlein J, Henrich W, Ramsauer B, Schlembach D, Abou-Dakn M, et al. Percent error of ultrasound examination to estimate fetal weight at term in different categories of birth weight with focus on maternal diabetes and obesity. BMC Pregnancy Childbirth 2022;22(1):241. doi:10.1186/s12884-022-04519-z

Kritzer S, Magner K, Warshak CR. Increasing maternal body mass index and the accuracy of sonographic estimation of fetal weight near delivery. J Ultrasound Med 2014;33(12):2173-9. doi:10.7863/ultra.33.12.2173

Aksoy H, Aksoy Ü, Karadag OI, Yücel B, Aydın T, Babayigit MA. Influence of maternal body mass index on sonographic fetal weight estimation prior to scheduled delivery. J Obstet Gynaecol Res 2015;41(10):1556-61. doi:10.1111/jog.12755

Dongol A, Bastakoti R, Pradhan N, Sharma N. Clinical estimation of fetal weight with reference to johnson's formula: an alternative solution adjacent to sonographic estimation of fetal weight. Kathmandu Univ Med J (KUMJ) 2020;18(70):111-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24