ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ต่อการคุมกำเนิดและการตั้งครรภ์ ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นโรค Systemic Lupus Erythematosus

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ มิตรมงคลยศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กุลภัส เครือหงษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จันทรัสม์ วังซ้าย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐกมล คูณศรีรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธัญวรัตม์ สัจจมุกดา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชลธิชา กรมประสิทธิ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พัชรดา อมาตยกุล ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

สุขภาพวัยเจริญพันธุ์, การตั้งครรภ์, ความรู้, โรค Systemic Lupus Erythematosus (SLE)

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: สตรีที่เป็นโรค systemic lupus erythematous (SLE) ถ้าตั้งครรภ์จะมีภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของสตรีที่เป็นโรค SLE ต่อการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้เกี่ยวกับโรค SLE ต่อการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหญิงโรค SLE ที่แผนกอายุร

กรรม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 132 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึง มีนาคม 2566 รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่ส่งผลต่อการคุมกำเนิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการถดถอยลอจิสติกส์

ผลการศึกษา: ค่าคะแนนความรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับความรู้ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 64.4  ผู้มีระดับความรู้ดีคิดเป็นร้อยละ 35.6 ผู้ที่คุมกำเนิดมีประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 83.5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ที่ดี ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (OR = 4.6, 95% CI 1.127-18.819) ระยะเวลาการดำเนินของโรคมากกว่า 5 ปี (OR = 0.4, 95% CI 0.190-0.866) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพได้แก่ ช่วงอายุ 36-45 ปี (p= 0.004) ระยะเวลาการดำเนินของโรคมากกว่า 5 ปี (p = 0.002) และการได้รับคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ (p = 0.044) ผู้ป่วยหญิงโรค SLE ส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำเรื่องการคุมกำเนิดและแผนการตั้งครรภ์จากอายุรแพทย์และสูตินรีแพทย์ และใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ

สรุป: กลุ่มตัวอย่างมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค SLE และการตั้งครรภ์ในระดับที่ไม่ดี แต่ส่วนใหญ่เลือกวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และมีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์อยู่ในระดับที่ดี ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และพฤติกรรมที่ดีคืออาชีพบุคลากรทางการแพทย์ มีระยะเวลาในการดำเนินโรคมานานมากกว่า 5 ปี และได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโรค SLE และวิธีการคุมกำเนิดจากสูติแพทย์ การดูแลโดยแพทย์สหสาขาวิชาชีพจะช่วยให้ผู้ป่วย SLE ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพวัยเจริญพันธุ์อย่างเป็นองค์รวม และลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ทั้งต่อมารดาและทารก

References

Towiwat P. Systemic lupus erythematosus in pregnancy. Naresuan University Journal 2014; 21(2):111-25.

Kittisiam T, Werawatakul Y, Nanagara R, Wantha O. Low prevalence of contraceptive counseling at Srinagarind hospital, Thailand among women of reproductive age with systemic lupus erythematosus. Reproductive Health 2013;11;10(1):21. doi: 10.1186/1742-4755-10-21.

Aringer M, Costenbader K, Daikh D, Brinks R, Mosca M, Ramsey-Goldman R, et al. 2019 EU-LAR/ACR classification criteria for systemic lupus erythematosus. Arthritis Rheumatol 2019;71(9):1400-12. doi: 10.1002/art.40930.

Brites L, Silva S, Andreoli L, Inês L. Effectiveness of reproductive health counseling of women with systemic lupus erythematosus: observational cross-sectional study at an academic lupus clinic. Rheumatol Int 2021;41(2):403-8. doi:10.1007/s00296-020-04671-9

Sammaritano LR, Bermas BL, Chakravarty EE, Chambers C, Clowse MEB, Lockshin MD, et al. American College of Rheumatology Guideline for the management of reproductive health in rheumatic and musculoskeletal diseases. Arthritis Rheumatol 2020;72(4):529. doi: 10.1002/acr.24130

Best JW. Research in education. 3rd edition. New Jersey: Prentical-Hall Inc; 1977.

Lunani LL, Abaasa A, Omosa-Manyonyi G. Prevalence and factors associated with contraceptive use among Kenyan women aged 15-49 years. AIDS Behav 2018;22(Suppl 1):125-30. doi: 10.1007/s10461-018-2203-5

Brito MB, Casqueiro JS, Alves FSS, Lopes JB, Alves RDMS, Santiago M. Low prevalence of contraceptive use among Brazilian women of reproductive age with systemic lupus erythematosus. J Obstet Gynaecol 2018;38(7):975-8. doi: 10.1080/01443615.2018.1428289

Yazdany J, Trupin L, Kaiser R, Schmajuk G, Gillis JZ, Chakravarty E, et al. Contraceptive counseling and use among women with systemic lupus erythematosus: a gap in health care quality. Arthritis Care Res (Hoboken) 2011;63(3):358-65. doi: 10.1002/acr.20402

Dey AK, Averbach S, Dixit A, Chakraverty A, Dehingia N, Chandurkar D, et al. Measuring quality of family planning counselling and its effects on uptake of contraceptives in public health facilities in Uttar Pradesh, India: a cross-sectional analysis. PLOS ONE 2021;16(5):e0239565. doi:10.1371/journal.pone.0239565

Bongaarts J, Hodgson D. The impact of voluntary family planning programs on contraceptive use, fertility, and population. In: Fertility transition in the developing world [Internet]. Cham: Springer International Publishing; 2022: 97–122. doi:10.1007/978-3-031-11840-1_7

Liu X, Song Y, Wan L, Du R. Knowledge, attitudes, and practices among patients with systemic lupus erythematosus toward disease management and biologic therapy. J Multidiscip Healthc 2024;17:937–47. doi: 10.2147/JMDH.S444619

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24