ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ การคลอด ปัจจัยเสี่ยง และผลของการดูแลทางการพยาบาลในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะแน่นที่เข้ารับบริการในหน่วยห้องคลอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นิตยา ปานเพชร หน่วยห้องคลอด งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลัดดาภรณ์ ชินทอง หน่วยห้องคลอด งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

รกเกาะแน่น, การผ่าตัดคลอดและตัดมดลูก, โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะรกเกาะแน่นเป็นความเสี่ยงสูงต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การตั้งครรภ์ การคลอด ปัจจัยเสี่ยง และการดูแลทางการพยาบาลในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะแน่น

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน แบบรายงานการทำคลอด และระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 ใช้แบบเก็บข้อมูล 4 ส่วน ดังนี้  1) ข้อมูลทั่วไป  2) ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด 3) ผลลัพธ์การตั้งครรภ์และการคลอด และ 4) ผลลัพธ์การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่เชิงปริมาณ และร้อยละ

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 36 ราย ตรวจพบภาวะรกเกาะแน่นก่อนคลอด (ร้อยละ 97.23) ตรวจพบระหว่างการทำคลอดรก (ร้อยละ 2.77) อายุครรภ์ที่คลอดมากกว่า 34 สัปดาห์ (ร้อยละ 52.80) ผ่าตัดคลอดและตัดมดลูก (ร้อยละ 91.67) คลอดตามแผน (ร้อยละ 72.24) น้ำหนักทารกแรกเกิด 1,001-2,500 กรัม (ร้อยละ 75.68) ทารกแรกเกิดได้รับการช่วยชีวิต (ร้อยละ 68.86) ทารกย้ายไปหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (ร้อยละ 56.76) ปัจจัยเสี่ยงของภาวะรกเกาะแน่น ได้แก่ จำนวนครั้งการตั้งครรภ์ การผ่าตัดคลอด การขูดมดลูก การแท้งบุตร มีภาวะรกเกาะต่ำร่วมด้วย สตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามแนวทางที่กำหนด

สรุป : สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะแน่นที่ตรวจพบก่อนคลอด วิธีการคลอดโดยการผ่าตัดคลอดและตัดมดลูก ส่วนใหญ่เป็นการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกเกิดอยู่ในช่วง 1,001-2,500 กรัม  ทารกแรกเกิดได้รับการช่วยชีวิต และย้ายสังเกตอาการที่หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะรกเกาะแน่น ได้แก่  จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ การผ่าตัดคลอด การขูดมดลูก มีรกเกาะต่ำร่วมด้วย และผลลัพธ์การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล ปฏิบัติได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

References

The American College of Obstetricians and Gynecologists. Placenta accreta spectrum. [Internet]. 2018 [cited Jan 17, 2021] Available from: https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/obstetric-care-consensus/articles/2018/12/placenta-accreta-spectrum.

Jauniaux E, Collins S, Burton GJ. Placenta accreta spectrum: pathophysiology and evidence-based anatomy for prenatal ultrasound imaging. Am J Obstet Gynecol 2018;218(1):75-87. doi:10.1016/j.ajog.2017.05.067.

Ornaghi S, Maraschini A, Donati S, Regional Obstetric Surveillance System Working Group. Characteristics and outcomes of regnant women with placenta accreta spectrum in Italy: a prospective population-based cohort study. PloS One 2021;16(6):e0252654. doi:10.1371/journal.pone.0252654.

Jauniaux E, Bunce C, Gronbeck L, Langhoff-Roos J. Prevalence and main outcomes of placenta accreta spectrum: a systematic review and meta-analysis. Am J Obst Gynecol2019;221(3):208–18. doi.org/10.1016/j.ajog.2019.01.233.

Jauniaux E, Chantraine F, Silver RM, Langhoff-Roos J, FIGO Placenta Accreta Diagnosis and Management Expert Consensus Panel. FIGO consensus guidelines on placenta accreta spectrum disorders: epidemiology. Int J Gynaecol Obstet 2018;140(3):265–73. doi.10.1002/ijgo.12407.

Delivery room, Obstetrics and Gynecological Nursing Department, Srinagarind Hospital. Delivery room statistics for the year, 2022.

Clark SL, Koonings PP, Phelan JP. Placenta previa/accreta and prior cesarean section. Obstet Gynecol 1985;66(1):89-92.

Pegu B, Thiagaraju C, Nayak D, Subbaiah M. Placenta accreta spectrum-a catastrophic situation in obstetrics. Obstet Gynecol Sci 2021;64(3):239-47. doi:10.5468/ogs.20345.

Jauniaux E, Bhide A. Prenatal ultrasound diagnosis and outcome of placenta previa accreta after cesarean delivery: a systematic review and meta-analysis. Am J Obstet Gynecol 2017;217(1):27-36. doi:10.1016/j.ajog.2017.02.050

Bailit JL, Grobman WA, Rice MM, Reddy UM, Wapner RJ, Varner MW, et al. Morbidly adherent placenta treatments and outcomes. Obstet Gynecol 2015;125(3):683-9. doi:10.1097/AOG.0000000000000680

Reale SC, Farber MK. Management of patients with suspected placenta accrete spectrum. BJA Educ 2022;22(2):43-51. doi:10.1016/j.bjae.2021.10.002

Alanwar A, Al-Sayed HM, Ibrahim AM, Elkotb AM, Abdelshafy A, Abdelhadi R, et al. Urinary tract injuries during cesarean section in patients with morbid placental adherence: retrospective cohort study. J Matern Fetal Neonatal Med 2019;32(9):1461–7. doi: 10.1080/14767058.2017.1408069

Delivery room, Obstetrics and Gynecological Nursing Department, Srinagarind Hospital. Delivery room statistics for the year, 2023.

Delivery room, Obstetrics and Gynecological Nursing Department, Srinagarind Hospital. Delivery room statistics for the year, 2014.

Saksangawong S. Case report an undiagnosed of placenta accrete presenting as a massive bleeding in obstetric emergency. Royal Thai Army Med J 2018;71(3):215-22.

Committee on Pactice Bulletins-Obstetrics. Practice bulletin no. 183: postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol 2017;130(4):e168. doi:10.1097/AOG.0000000000002351.

Cunningham FG, William M. Obstetrics, 25th ed. United state: McGraw-hill Education; 2018.

Gelany SE, Mosbeh MH, Ibrahim EM, Mohammed M, Khalifa EM, Abdelhakium AK, et al.

Placenta accreta spectrum (PAS) disorders: incidence, risk factors and outcomes of different management strategies in a tertiary referral hospital in Minia, Egypt: a prospective study. BMC Pregnancy Childbirth 2019;19(1):313. doi:10.1186/s12884-019-2466-5

Tadayon M, Javadifar N, Dastoorpoor M, Shahbazian N. Frequency, risk factors, and pregnancy outcomes in cases with placenta accreta spectrum disorder: a case-control study. J Reprod Infertil 2022;23(4):279-87. doi:10.18502/jri.v23i4.10814

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24