สัดส่วนการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

ผู้แต่ง

  • สุทธิกานต์ ก่อสกุล นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บังอรศรี จินดาวงค์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรัสวดี ตางจงราช งานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิพิฐพนธ์ สีอุปลัด สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สิทธิสวัสดิการสังคม, การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ หน่วยงานรัฐได้จัดให้มีสิทธิสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการยังมีความแตกต่างกันตามบริบท และการจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  ขนาดตัวอย่าง 165 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีใช้กรอบเวลาเป็นหน่วยสุ่ม (time frame allocation) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2566 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ส่วนสถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ chi-square และ 95%CI

ผลการศึกษา: อัตราตอบกลับร้อยละ 100 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.4 ค่ามัธยฐาน±พิสัยระหว่างควอไทล์ 68.78 ± 11 (ผู้สูงอายุกว่าครึ่งทราบ/เคยใช้สิทธิสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพ แต่มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุที่ทราบสิทธิสวัสดิการสังคมด้านอื่น ๆ และพบว่าปัจจัยด้าน อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่        p < 0.05

สรุป: ผู้สูงอายุมีสัดส่วนการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพมากที่สุด ส่วนมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการสังคมสงเคราะห์ ผู้สูงอายุยังเข้าถึงได้น้อย จึงควรมีการประชาสัมพันธ์สิทธิสวัสดิการสังคมเพิ่มมากขึ้นโดยผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

References

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). Situation of the Thai Older Persons 2021. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University, 2022.

Department of Older Persons (DOP). Action plan for the elderly, phase 3 (B.E. 2566-2580). [Internet]. 2023. [Cited May 1, 2023]. Available from: https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf

Chatrupativin K. Problems of elderly persons and community welfare management: case studies of two communities in Wangthonglang, Bangkok. Journal of Social Research 2018;41(2):67-96.

Phavayvekin V, Thummanitchayuth D, Noochaikaew K, Thipchai K. Problems in perception and access to information regarding the aged welfare. HUSO DRU 2023;6(3):71-86.

Kitjao K, Lertmongkolnam P, Nanudorn P, Fackhorm K, Siripulwattana A, Keeratipongphaisan K, et al. The suitable welfare for the elderly in different ages. [Internet]. 2015. [Cited May 1, 2023]. Available from: http://tpso4.m-society.go.th/images/DatabaseTPSO4/Research/2558/Ages.pdf

Suwannaphuma S, Panyavajiro C, Wannathong P, Kuppako D. Guidelines for appropriate social welfare for the elderly. Journal of MSD Social Development 2022;7(1):106-20.

Department of Older Persons (DOP). Thai older statistics 77 provinces on December 31, 2022. [Internet]. 2022. [Cited April 1, 2022]. Available from: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766

Department of Older Persons (DOP). Knowledge about the Official Information Act, B.E. 2540. [Internet]. 1997. [Cited Dec 31, 2022]. Available from: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/176

Abramson JH. WINPEPI updated: computer programs for epidemiologists, and their teaching potential. Epidemiol Perspect Innov 2011;8(1):1. doi:10.1186/1742-5573-8-1.

Chirawatkul A. Sampling of patients in a hospital at a particular time frame is classified into what type? JHS 2004;13(5):713-4.

Medical records and statistics department, Srinagarind Hospital. Patient statistics at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine. Khon Kaen University, 2022; Volume 42. [Internet]. 2022. [Cited Dec 31, 2023]. Available from: https://www.medicalrecords.kku.ac.th/md10/?page_id=199

Ngoenphoklan A. Access to social welfare of the elderly under the Social Welfare Act for the elderly: case study in Ban Nam Mao Lat Bua Khao Subdistrict, Sikhio District, Nakhon Ratchasri Province. Journal of Local Management and Development Pibulsongkram Rajabhat University 2023;3(2):16-24.

Wongworn W, Ruangthamasing C. Readiness of local administrative orgaqnizations in Mueng District, Khon Kaen Province to adopt monthly elderly welfare payment through an electronic system. Santapol College Academic Journal 2020;6(1):113-22.

Mooldamart S, Pienkhuntod A. Access to social welfare of the elderly with disabilities in Khon Kaen Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2022;7(2):325-42.

Penchansky R, Thomas JW. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Med Care 1981;19(2):127-40. doi: 10.1097/00005650-198102000-00001.

Lophongpanit P. Elderly people with disabilities: accessible (inaccessible) to social welfare. Journal of Nursing and Health Care 2017;35(3):22-30.

Khuneepong A. Factors influencing elderly’s services access in Pathum Thani Province. J DMS 2019;44(5):75-80.

Teungfung R, Chaiumporn S. Social support of the elderly in urban communities: a case study of kinship communities and multiple social relationship communities. JSD 2017;19(2):1-20.

Leetragul S, Promjaisa N, Kaewsri P, Jaiboontan T. The mobilization of social networks in creating perception and benefits accessibility for poor elderly in urban communities of Chiang Rai province. Kasalongkham Research Journal Chiang Rai Rajabhat University 2018;12(2):15-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24