ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเด็กล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง, เด็ก, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยเด็กล้างไตทางช่องท้อง เป็นกลุ่มที่มีความซับซ้อน ต้องการการดูแลที่เฉพาะเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนทำให้อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเด็กล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกการดูแล และระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กได้รับการวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นครั้งแรกและได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง อายุ < 18 ปี ที่มารับการรักษาในคลินิกล้างไตกุมาร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแล 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงปี พ.ศ. 2560-2563 และ 2564-2565 โดยวิเคราะห์อัตราการรอดชีพ (survival rate) จำนวนและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน (complication rates)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กล้างไตทางช่องท้อง จำนวน 22 ราย แบ่งเป็น ช่วงปี พ.ศ.2560-2563 จำนวน 15 ราย และช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 จำนวน 7 ราย อายุเฉลี่ย 10.61 ± 4.71ปี สาเหตุอันดับต้นของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายคือโรคไตอักเสบลูปัส ร้อยละ 22.73 พบว่าอัตราการรอดชีพ ที่ 1 ปี ในช่วงเวลาปี พ.ศ.2560-2563 เท่ากับ 93.33 ไม่แตกต่างทางสถิติกับช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 เท่ากับ 85.71 แต่พบว่าอัตราการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ใน ปี พ.ศ.2564-2565 เป็น 0.24 ครั้ง/ราย/ปี ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ.2560-2563 ที่มีอัตราการเยื่อบุช่องท้องอักเสบ 0.67 ครั้ง/ราย/ปี และไม่เกิดการติดเชื้อช่องทางสายออกในปี พ.ศ.2564-2565 ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ.2560-2563 ที่มีอัตราการติดเชื้อช่องทางสายออก 0.22 ครั้ง/ราย/ปี โดยอัตราการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบและอัตราการติดเชื้อช่องทางสายออกลดลงแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในปี พ.ศ. 2564-2565 ไม่พบการเกิดภาวะน้ำเกิน และพบการเกิดสายขาด หลุด ตัน เพียง 1 ครั้ง
สรุป: การเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบและการติดเชื้อช่องทางสายออกเป็นตัวชี้วัดการดูแล ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นผลของการดูแลรักษาที่ดีขึ้นทั้งอัตราการเกิดเยื่อบุช่องท้องและอัตราการเกิดการติดเชื้อช่องทางสายออกในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 เมื่อเทียบกับช่วงปี พ.ศ. 2560-2563 เนื่องจากการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กล้างไตทางช่องท้อง
References
Amstel SP van, Noordzij M, Borzych-Duzalka D, Chesnaye NC, Xu H, Rees L, et al. Mortality in children treated with maintenance peritoneal dialysis: findings from the international pediatric peritoneal dialysis network registry. Am J Kidney Dis 2021;78(3):380–90. doi:10.1053/j.ajkd.2020.11.031
Kidney Disease Database – Thai Kidney Society . [Internet]. [cited Oct 5, 2024]. Available from: https://kku.world/brpc3
Chanakul A, Wisanuyotin S, Deekajorndech T, Piyaphanee N, Srisuwan K, Saraisawat P, et al. editors. Fluid, electrolyte and kidney disease problems in children. 1st (5th edited edition). Bangkok : Netikul Printing, 2023:652.
Lee KO, Park SJ, Kim JH, Lee JS, Kim PK, Shin JI. Outcomes of peritonitis in children on peritoneal dialysis: a 25 year experience at Severance Hospital. Yonsei Med J 2013;54(4):983-9. doi:10.3349/ymj.2013.54.4.983
Pattaragarn A, Wisanuyotin S, Chaiyapak T, Srisuwan K, Pongwilairat N, Bhummichitra P, et al. The quality of life and clinical outcomes of children with end stage kidney disease undergoing automated compared with continuous ambulatory peritoneal dialysis under the National Health Security System Coverage [Internet]. Health Systems Research Institute; 2023. [cited Nov 15, 2024]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5964
Li PKT, Chow KM, Cho Y, Fan S, Figueiredo AE, Harris T, et al. ISPD peritonitis guideline recommendations: 2022 update on prevention and treatment. Perit Dial Int J Int Soc Perit Dial 2022 ;42(2):110–53. doi:10.1177/08968608221080586
Natthida Pongwilairat . Complications and clinical outcomes in peritoneal dialysis pediatric patients. Buddhachinaraj Med J 2022;39(1):21–30.
Bannalai P, Panombaulert S, Wisanuyotin S. Incidence of peritonitis and associated factors in children receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis: a retrospectve survey in a hospital in Northeastern Thailand (2007-2016). Southeast Asian J Trop Med Public Health 2020;51(3):270–9.
Kara MA, Pinarbasi AS. Outcomes of maintenance peritoneal dialysis in children: a state hospital experience from Southeastern Turkey. Saudi J Kidney Dis Transplant 2023;34(1):51. doi:10.4103/1319-2442.391002
Chathum K, Wisanuyotin S, Siripul S, Chunghom T, Nooporn N. The outcome of preventive care for peritonitis in pediatric patients undergoing peritoneal dialysis: A case management approach. J Nurs Sci Health 2024;47(1):125–38.
Donabedian A. Evaluating the quality of medical care. Milbank Q 2005;83(4):691–729. doi:10.1111/j.1468-0009.2005.00397.x
Szeto CC, Li PKT, Johnson DW, Bernardini J, Dong J, Figueiredo AE, et al. ISPD catheter-related infection recommendations: 2017 Update. Perit Dial Int J Int Soc Perit Dial 2017;37(2):141–54. doi:10.3747/pdi.2016.00120
Chatham K, Wisanuyothin S, Phanombualert S. Outcome of care for children with lupus nephritis at Srinagarind Hospital. North-Eastern Thai J Neuroscience 2020;15(3):18-28.
Dotis J, Myserlis P, Printza N, Stabouli S, Gkogka C, Pavlaki A, et al. Peritonitis in children with automated peritoneal dialysis: a single-center study of a 10-year experience. Ren Fail 2016;38(7):1031–5. doi:10.1080/0886022X.2016.1183256
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.