ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมง กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
อัตราการเสียชีวิตใน 28 วัน, ห้องฉุกเฉิน, กระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมง, ภาวะช๊อกเหตุพิษติดเชื้อบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อเป็นภาวะที่ทำให้เกิดการทำงานของอวัยวะล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาสู่การเสียชีวิต พบว่าจากประชากรหนึ่งล้านคน หนึ่งในสามเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อ ทำให้ได้มีการพัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาพัฒนาและกำหนดเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วย มีเป้าหมายเพื่อให้อัตราการเสียชีวิตลดลง ดังนั้นเพื่อหาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมงติดตามที่สามชั่วโมงแรก ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลพล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ถึง 2567 โดยปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัย 149 ราย การปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมงติดตามที่สามชั่วโมงแรก ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้ครบถ้วนคิดเป็นร้อยละ 84.6 พบอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด อัตราการเสียชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งกลุ่มที่ปฏิบัติได้ครบถ้วนและไม่ครบถ้วน (ร้อยละ 11.9 และ 21.74, p=0.198) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมงได้ครบถ้วนไม่สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตใน 28 วัน เป็นผลจากการวิเคราะห์เชิงสถิติ (logistic regression, odds ratio 0.49, 95%CI (0.16,1.50), p= 0.211) และพบว่าการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในหนึ่งชั่วโมงที่สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต คือ การเจาะเลือดเพาะเชื้อก่อนการได้รับยาฆ่าเชื้อ และ การเจาะแลคเตท (odds ratio 0.07, 95%CI (0.01, 0.82), p= 0.034) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิต คือ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (odds ratio 2.7, 95%CI (1.02, 7.13 p= 0.045) ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ (odds ratio 1.27, 95%CI (1.12, 1.45), p<0.001) และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการส่งตัวต่อ (odds ratio 5.40, 95%CI (1.99, 14.69), p=.001)
สรุป: จากการศึกษาพบว่าการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อภายในกระแสเลือดในหนึ่งชั่วโมงในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ณ ห้องฉุกเฉิน ไม่สัมพันธ์กับการลดอัตราการเสียชีวิตใน 28 วัน แต่เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษา ดังนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาบริบทการให้บริการและเพิ่มการเข้าถึงการรักษาในผู้ป่วยมีภาวะเหตุพิษติดเชื้อเพื่อให้เข้าสู่การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
References
Shankar-Hari M, Phillips GS, Levy ML, Seymour CW, Liu VX, Deutschman CS, et al. Developing a New Definition and Assessing New Clinical Criteria for Septic Shock: For the Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA 2016;315(8):775-87. doi:10.1001/jama.2016.0289
Fleischmann C, Scherag A, Adhikari NK, Hartog CS, Tsaganos T, Schlattmann P, et al. Assessment of Global Incidence and Mortality of Hospital-treated Sepsis. Current Estimates and Limitations. Am J Respir Crit Care Med 2016;193(3):259-72. doi:10.1164/rccm.201504-0781OC
Husabo G, Nilsen RM, Flaatten H, Solligard E, Frich JC, Bondevik GT, et al. Early diagnosis of sepsis in emergency departments, time to treatment, and association with mortality: An observational study. PLoS One 2020;15(1):e0227652. doi:10.1371/journal.pone.0227652
Pruinelli L, Westra BL, Yadav P, Hoff A, Steinbach M, Kumar V, et al. Delay Within the 3-Hour Surviving Sepsis Campaign Guideline on Mortality for Patients With Severe Sepsis and Septic Shock. Crit Care Med 2018;46(4):500-5. doi:10.1097/CCM.0000000000002949
Mitchell M. Levy, Laura E. Evans and Andrew The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive Care Med 2018;44(6):925–8. doi:10.1007/s00134-018-5085-0
Schorr C, Odden A, Evans L, Escobar GJ, Gandhi S, Townsend S, et al. Implementation of a multicenter performance improvement program for early detection and treatment of severe sepsis in general medical-surgical wards. J Hosp Med 2016;11 (Suppl 1):S32-S9. doi:10.1002/jhm.2656
Damiani E, Donati A, Serafini G, Rinaldi L, Adrario E, Pelaia P, et al. Effect of performance improvement programs on compliance with sepsis bundles and mortality: a systematic review and meta-analysis of observational studies. PLoS One 2015;10(5):e0125827. doi:10.1371/journal.pone.0125827
Prachanukool T, Sanguanwit P, Thodamrong F, Suttapanit K. The 28-day mortality outcome of the complete hour-1 sepsis bundle in the emergency department. Shock. 2021 Dec 1;56(6):969-974.doi:10.1097/SHK.0000000000001815
Teles F, Rodrigues WG, Alves M, Albuquerque CFT, Bastos SMO, Mota MFA, et al. Impact of a sepsis bundle in wards of a tertiary hospital. J Intensive Care 2017;5:45. doi:10.1186/s40560-017-0231-2
Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith CM, French C, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021;47(11):1181-247. doi:10.1007/s00134-021-06506-y.
Baghdadi JD, Brook RH, Uslan DZ, Needleman J, Bell DS, Cunningham WE, et al. :Association of a Care Bundle for Early Sepsis Management With Mortality Among Patients With Hospital-Onset or Community-Onset Sepsis. JAMA Intern Med 2020;180(5):707-16. doi:10.1001/jamainternmed.2020.0183
Balasubramanan V,Luregn S,Donna Masonet. Impact of 1 -hour and 3 hour sepsis time bundles on patient outcomes and antimicrobial use: A before and after cohort study. Lancet Reg Health West Pac 2022;18:100305. doi:10.1016/j.lanwpc.2021.100305
Hsieh YC, Chen HL, Lin SY, Chen TC, Lu PL. Short time to positivity of blood culture predicts mortality and septic shock in bacteremic patients: a systematic review and meta-analysis. BMC Infect Dis 2022;22(1):142. doi:10.1186/s12879-022-07098-8
Rhee C, Chiotos K, Cosgrove SE, Heil EL, Kadri SS, Kalil AC, et al. infectious diseases society of America position paper: recommended revisions to the National Severe Sepsis and Septic Shock Early Management Bundle (SEP-1) sepsis quality measure. Clin Infect Dis 2020;72(4):541-52. doi:10.1093/cid/ciaa059
Genglong L, Haijin Lv, Yuling An, Xuxia Wei, Xiaomeng Yi, Huimin Yi. Early lactate levels for prediction of mortality in patients with sepsis or septic shock. Int J Clin Exp Med 2017;10(1):37-47.
Seymour CW, Gesten F, Prescott HC, Friedrich ME, Iwashyna TJ, Phillips GS, et al. Time to treatment and mortality during mandated emergency care for sepsis. N Engl J Med 2017;376(23):2235– 44. doi:10.1056/NEJMoa1703058
Pro CI, Yealy DM, Kellum JA, Huang DT, Barnato AE, Weissfeld LA, et al. A randomized trial of protocol-based care for early septic shock. N Engl J Med 2014;370(18):1683-93. doi:10.1056/NEJMoa1401602
Peake SL, Delaney A, Bellomo R, Investigators A. Goal-directed resuscitation in septic shock. N Engl J Med 2015;372(2):190-1. doi:10.1056/NEJMc1413936
Mouncey PR, Osborn TM, Power GS, Harrison DA, Sadique MZ, Grieve RD, et al. Trial of early, goal-directed resuscitation for septic shock. N Engl J Med 2015;372(14):1301-11. doi:10.1056/NEJMoa1500896
Boyd JH, Forbes J, Nakada TA, Walley KR, Russell JA. Fluid resuscitation in septic shock: a positive fluid balance and elevated central venous pressure are associated with increased mortality. Crit Care Med 2011;39(2):259–65. doi:10.1097/CCM.0b013e3181feeb15
MicekS T, McEvoy C, McKenzie M, Hampton N, Doherty JA, Kollef MH. Fluid balance and cardiac function in septic shock as predictors of hospital mortality. Crit Care 2013;17(R246):1 – 9. doi:10.1186/cc13072
Sadaka F, Juarez M, Naydenov S, O’Brien J. Fluid resuscitation in septic shock: the effect of increasing fluid balance on mortality. J Intensive Care Med 2014;29(4):213–7. doi:10.1177/0885066613478899
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.