ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อผลการรักษาในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่ไม่ใช่จากหลอดเลือดขอด
คำสำคัญ:
เลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นที่ไม่ใช่จากหลอดเลือดขอด, โรคหลอดเลือดสมอง, การเสียชีวิต, ผลการรักษา, ทรัพยากรทางการแพทย์บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ ซึ่งผลการรักษาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับโรคประจำตัวเดิมของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease; CVD) อาจมีผลกระทบต่อภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยนี้มักมีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และการใช้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อความรุนแรงของการเกิดเลือดออก รวมถึงการตอบสนองต่อการรักษา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของโรคประจำตัวโรคหลอดเลือดสมองต่อผลการรักษาและการใช้ทรัพยากรในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นที่ไม่ใช่จากหลอดเลือดขอด
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นที่ไม่ใช่จากหลอดเลือดขอด ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ถึงธันวาคม พ.ศ.2562 โดยรวบรวมข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการรักษาต่างๆ โดยเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิต ผลการรักษาอื่นๆ ระหว่างนอนโรงพยาบาลระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีโรคหลอดเลือดสมอง
ผลการศึกษา: พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นที่ไม่ใช่จากหลอดเลือดขอดจำนวนทั้งสิ้น 488 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 22 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 466 ราย ผลการเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างในด้านอัตราการเสียชีวิต (ร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 0, p=1.000) การทำหัตถการหยุดเลือด (ร้อยละ 23.6 เทียบกับร้อยละ 22.7, p=0.924) การใช้รังสีรักษา (ร้อยละ 1.1 เทียบกับร้อยละ 0, p=1.000) และการผ่าตัดเพื่อหยุดเลือด (ร้อยละ 2.1 เทียบกับร้อยละ 0, p=1.000) นอกจากนี้ อัตราการเกิดเลือดออกซ้ำในโรงพยาบาล (ร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 0, p=1.000) และปริมาณเลือดที่ได้รับระหว่างนอนโรงพยาบาล (ค่ามัธยฐาน [พิสัยระหว่างควอร์ไทล์]: 1 [0-3] หน่วย เทียบกับ 2 [0-4] หน่วย, p=0.147) ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล (ค่ามัธยฐาน [พิสัยระหว่างควอร์ไทล์]: 4 [3-6] วัน เทียบกับ 4 [3-7] วัน, p=0.697) และค่าใช้จ่ายในการรักษา (ค่ามัธยฐาน [พิสัยระหว่างควอร์ไทล์]: 17,972 [14,025-28,920] บาท เทียบกับ 19,659 [14,882-31,212] บาท, p=0.830) ทั้งนี้ไม่พบผลกระทบที่มีนัยสำคัญจากโรคหลอดเลือดสมองต่อผลลัพธ์การรักษาในด้านต่าง ๆ รวมถึงทรัพยากรทางการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาล (p >0.05)
สรุป: ผลการศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีโรคประจำตัวโรคหลอดเลือดสมองในด้านอัตราการเสียชีวิต ผลการรักษาในโรงพยาบาล และการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ระหว่างนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นที่ไม่ใช่จากเส้นเลือดโป่งพอง
References
Laine L, Barkun AN, Saltzman JR, Martel M, Leontiadis GI. ACG clinical guideline: upper gastrointestinal and ulcer bleeding. Am J Gastroenterol 2021;116(5):899-917. doi:10.14309/ajg.0000000000001506.
Barkun AN, Almadi M, Kuipers EJ, Laine L, Sung J, Tse F, et al. Management of nonvariceal upper gastrointestinal bleeding: Guideline recommendations from the international consensus group. Ann Intern Med 2019;171(11):805-22. doi:10.7326/M19-1795.
Garcia-Tsao G, Abraldes JG, Berzigotti A, Bosch J. Portal hypertensive bleeding in cirrhosis: Risk stratification, diagnosis, and management: 2016 practice guidance by the American Association for the study of liver diseases. Hepatology 2017;65(1):310-35. doi:10.1002/hep.29169.
Chang A, Ouejiaraphant C, Pungpipattrakul N, Akarapatima K, Rattanasupar A, Prachayakul V. Effect of holiday admission on clinical outcome of patients with upper gastrointestinal bleeding: A real-world report from Thailand. Heliyon 2022;8(8):e10344. doi:10.1016/j.heliyon.2022.e10344.
Lau JYW, Yu Y, Tang RSY, Chan HCH, Yip HC, Chan SM, et al. Timing of endoscopy for acute upper gastrointestinal bleeding. N Engl J Med 2020;382(14):1299-308. doi: 10.1056/NEJMoa1912484.
Chang A, Ouejiaraphant C, Akarapatima K, Rattanasupa A, Prachayakul V. Prospective comparison of the AIMS65 score, Glasgow-Blatchford score, and Rockall score for Predicting clinical outcomes in patients with variceal and nonvariceal upper gastrointestinal bleeding. Clin Endosc 2021;54(2):211-221. doi:10.5946/ce.2020.068.
Sung JJ, Tsoi KK, Ma TK, Yung MY, Lau JY, Chiu PW. Causes of mortality in patients with peptic ulcer bleeding: a prospective cohort study of 10,428 cases. Am J Gastroenterol 2010;105(1):84-9. doi:10.1038/ajg.2009.507.
Hu X, De Silva TM, Chen J, Faraci FM. Cerebral vascular disease and neurovascular injury in ischemic stroke. Circ Res 2017;120(3):449-71. doi:10.1161/CIRCRESAHA.116.308427.
Kuwabara K, Matsuda S, Fushimi K, Ishikawa KB, Horiguchi H, Fujimori K. Reconsidering the value of rehabilitation for patients with cerebrovascular disease in Japanese acute health care hospitals. Value Health 2011;14(1):166-76. doi:10.1016/j.jval.2010.10.028.
Lee HJ, Kim HK, Kim BS, Han KD, Park JB, Lee H, et al. Risk of upper gastrointestinal bleeding in patients on oral anticoagulant and proton pump inhibitor co-therapy. PLoS One 2021;16(6):e0253310. doi:10.1371/journal.pone.0253310.
Takabayashi N, Murata K, Tanaka S, Kawakami K. Cost-effectiveness of proton pump inhibitor co-therapy in patients taking aspirin for secondary prevention of ischemic stroke. Pharmacoeconomics 2015;33(10):1091-100. doi:10.1007/s40273-015-0289-4.
Zheng K, Xu X, Qi X, Guo X. Development of myocardial infarction and ischemic stroke after acute upper gastrointestinal bleeding. AME Case Rep 2020;4:20. doi:10.21037/acr-19-198.
Wang T, Zhu D, Kong L, Mu C, Li C, Hu L. Effect of upper gastrointestinal bleeding on prognosis of middle-aged patients with acute ischemic stroke: a retrospective study. Ann Palliat Med 2021;10(5):5494-501. doi:10.21037/apm-21-907.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.