การรับรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในงานบริการเภสัชกรรมของเภสัชกรโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Wanee Javanicha Department of Pharmacy, Hangdong Hospital, Chiang Mai
  • Hathaikan Chowwanapoonpohn Department of Pharmaceutical Care, Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University, Chiang Mai

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.13.2.99-115

คำสำคัญ:

social networks, pharmacy services, behavior in social networks usage

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในงานบริการเภสัชกรรมของเภสัชกรโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกรโรงพยาบาล จาก 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 355 ชุด คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 75.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 17.0 ใช้สถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.60) เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 36.18 ± 6.58 ปี ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 57.70) และรับผิดชอบงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก (ร้อยละ 52.70) มากที่สุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน (Smart Phone) เป็นอุปกรณ์ (ร้อยละ 83.70) และใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ในงานบริการเภสัชกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 47.90) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยแชร์ข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต (ร้อยละ 80.00) และไม่เคยโพสต์ข้อความหรือรูปภาพเกี่ยวกับผู้ป่วย (ร้อยละ 69.60) โดยเภสัชกรที่เคยโพสต์ข้อความหรือรูปภาพเกี่ยวกับผู้ป่วย ไม่เกิดผลกระทบตามมา (ร้อยละ 17.70) และ เกิดผลกระทบ เชิงบวก (ร้อยละ 13.80) ส่วนใหญ่ตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ให้ผู้อื่นเป็นบางครั้ง (ร้อยละ 50.40) หน่วยงานที่ปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่ยังไม่มีนโยบายการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในหน่วยงาน (ร้อยละ 50.40) โดยกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ไม่มีผู้ดูแลระบบ (ร้อยละ 39.40) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ถึงประโยชน์ รับรู้ถึงความง่าย และความตระหนักต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในงานบริการเภสัชกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ 3.79 ± 0.31, 3.90 ± 0.42 และ 3.89 ± 0.31 จากคะแนนเต็ม 5.00 ตามลำดับ โดยเภสัชกรกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะว่า สภาเภสัชกรรมควรประกาศแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับเภสัชกร เพื่อให้สามารถใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความปลอดภัยจากการใช้งาน

References

1. Zocial Rank. Thailand Facebook ranking. [Internet]. 2015 [cited 2015 Jul 6]. Available from: https://www.zocialrank.com/ facebook/.

2. Barrett P, Bruecki M, Cain J, Edwards M, Fox E, Harvey B et al. ASHP statement on use of social media by pharmacy professionals. Am J Health Syst Pharm. 2012; 69:2095–7.

3. Shcherbakova N. and Shepherd M. Assessment of Internet and Social Network Use for Professional Purposes by Texas Independent Community Pharmacists Final Report. 2013; (June):1–30.

4. Lorsuwannarat T. Management Information System 2nd Edition. Bangkok. S & G Graphic. 2002.

5. Yamane T. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row. 1973.

6. Eakanunkul A., Kaewboonsert C., Wongsampun N., Suwannaprom P. Knowledge and Perceptions of Hospital Pharmacists towards Biological Products and Biosimilars. Thai J Pharm Pract. 2015;7(1):60-72. (in Thai)

7. Hemmin A. Social media consumption behaviors and opinion towards results of experiencing social media in Bangkok Metropolitan. [Master's Thesis, Science Program in Applied Statistics, Graduate School of Applied Statistics]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2013. (in Thai)

8. Chalongsuk R. Usage Behavior and Attitude of the Pharmacy Students of Silpakorn University toward Social Media for Education. Veridian E-J Silpakorn Univ. 2012;7(2):802-12. (in Thai)

9. Nakorn Ping Hospital bring line application to treat the patient for reducing the burden on patients travel cost savings 35 million per year. [Internet]. 2013 [cited 2015 July 6]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2013/09/4799. (in Thai)

10. Jarupaiboon C. Satisfaction with the use of application line in ICU Neuro official communication. [Internet]. 2015 [cited 2015 April 5]. Available from: www.med.cmu.ac.th/ hospital/nis/downloads/?p=3247. (in Thai)

11. Kasemchainandh T. The factors that effect web sites accessing behavior of internet users in Bangkok. [Master's Thesis, Arts Program in Mass Communication, Faculty of Journalism and Mass Communication. Bangkok: Thammasat University; 2001. (in Thai)

12. The Code of Professional Pharmacy Ethics B.E. 1995 [updated 1995 December 21]. Government Gazette. 112(102 );63-7. (in Thai)

13. “Patient’s rights”. [Internet]. 2015. [cited 2015 September 5]. Available from: www.tmc.or.th/privilege. php. (in Thai)

14. Javanicha C. Internet and line application using for commanding and controlling in 45th Ranger Regiment Taskforce Narathiwat Province. [Master's Thesis, Public Administration Program, Faculty of Public Administration]. Pathum Thani: Western University. 2016. (in Thai)

15. Social media practices guidelines for health practitioners, 2017. Government Gazette. 134(88). (24 March, 2017). (in Thai)
16. Lorsuwannarat T. Learning Organization : from concept to practice. Bangkok. Rattanatri. 2006. (in Thai)

17. Luenam P. Concepts and evalution of technology acceptance model. Mod Manage J. 2011; 9(1):9-17. (in Thai)

18. Davis F. A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems: theory an results. Unpublished Doctoral dissertation, MIT Sloan School of Management. 1985.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-20

How to Cite

Javanicha, W., & Chowwanapoonpohn, H. (2018). การรับรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในงานบริการเภสัชกรรมของเภสัชกรโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. ไทยไภษัชยนิพนธ์, 13(2), 99–115. https://doi.org/10.69598/tbps.13.2.99-115