ตัวแปรทำนายของปัจจัยทางด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพของนักเรียนอย.น้อย ในเขตบริการสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์อริญ เดชะศิริพงษ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.15.2.31-46

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภค, นักเรียนอย.น้อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ วิเคราะห์ปัจจัยด้านชีวสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนที่เป็นแกนนำสมาชิกชมรม อย. น้อย และเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนที่เป็นแกนนำสมาชิกชมรม อย. น้อย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีประชากรในการวิจัยคือ นักเรียนที่เป็นแกนนำสมาชิกชมรมที่เป็นแกนนำสมาชิกชมรม อย. น้อยในเขตบริการสุขภาพที่ 5 รวมทั้งสิ้น 590 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า นักเรียนที่เป็นแกนนำสมาชิกชมรม อย. น้อย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 71.2) มีอายุ 17 ปี (ร้อยละ 31.4) กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 43.4) ได้รับค่าอาหาร/ค่าขนม มากกว่า 50 บาท/วัน (ร้อยละ 62.5) ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 48.6) มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพมากที่สุดคือ เวลาที่ไม่สบาย น้องจะไปหาหมอ หรือซื้อยาจากร้านยาที่มีเภสัชกรจ่ายยาเท่านั้น
ปัจจัยด้านชีวสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เหมาะสมของนักเรียนที่เป็นแกนนำสมาชิกชมรม อย. น้อย คือ เพศ และอาชีพของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียน อย. น้อย ประกอบด้วย สุขภาพจิตดี (A1) การมุ่งอนาคตควบคุมตน (A2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (A3) ความเชื่ออำนาจในตน (A4) อิทธิพลของสื่อ (B1) การรับรู้ปทัสถานทางสังคม (B2) ซึ่ง เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ = 0.771 + 0.073(A1) + 0.111(A2) + 0.133(A3) + 0.084(B1) + 0.450(B2) - 0.070(A4)


References

Food and Drug Administration. The Public Consumer Affairs Division. Report of health behavior survey of "Oryor Noi" students 2016 [Internet]. Nonthaburi: The Division; 2016 [cited 2020 Apr 3]. Available from: https://db.oryor.com/ databank/uploads/fda/0538563001500621182_file.pdf (in Thai)

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

Bhanthumnavin D. Research in psycho-behavioral science in Thailand. J Res Methodol [Internet]. 2000 [cited 2020 Apr 3];13(3):25-48. Available from: https://portal.edu.chula. ac.th /pub/jrm/index.php/jrm/article/view/315 (in Thai)

Bhanthumnavin D. Antecedents of mindful risk-taking behavior in secondary school students: a path analytic approch. Warasan Phuetikammasart [Internet]. 2015 [cited 2020 Apr 3];21(1):75-94. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/29900 (in Thai)

Onyon N. Factors affecting on environmental conservation behaviors of upper primary students. J of GradVRU. 2019;13(3):75-88. (in Thai)

Praneetvatakul B. Psychosocial as correlates of communicable disease preventive behavior in daily life of undergraduate students. [master's thesis]. Bangkok: ational Institute of Development Administration; 2017. (in Thai)

Suprasamut D. Integration of psychological and situational antecedents of work behavior in cabin crew. [Dissertation]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2015. (in Thai)

Prongprommarat J. The causal variable influencing the AIDs prevention behavior of secondary school students in Nakhon Ratchasima Province. NRRU Commun Res J. 2018;12(2):52-62. (in Thai)

Thumwong S, Jinnge P, Supparerkchaisakul N. Causal relationship model of financial management behavior with a Buddhist approach. Warasan Phuetikammasart [Internet]. 2018 [cited 2020 Apr 13];24(2):157-72. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/ 132301 (in Thai)

Ruangying J, Jorajit S, Janyam K. Food consumption behavior of adolescents in Songkhla Province: synthesis of literacy and factors influencing food consumption behavior. J Lib Arts (PSU). 2016;8(1):245-64. (in Thai)

Lapi-e A, Saksung A, Tumsuwan P, Nunkliang S, Yunu H, Chaichana S. Relation of pereception and the influence of media affect to behavior modification change smoking of youth at vocational level in the three southernmost provinces. Public Health Policy Law J [Internet]. 2017 [cited 2020 Apr 13];3(3):321-4. Available from: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/161676 (in Thai)

Yaemyuen A. Sufficient mind, psychological characteristics, and situations predicting sufficiency-economy behavior of youths: an analysis of structural equation modeling. J Soc Dev [Internet]. 2017 [cited 2020 Apr 13];19(1):23-38. Available from: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/ 89831 (in Thai)

Klayprayong W, Bhanthumnavin D. Psychological characteristics, situational factors and norm perception related to attitude and acceptance of nuclear powerplant in Thai undergraduate students. J Bus Adm (APHEIT). 2015;4(2):51-61. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30

How to Cite

เดชะศิริพงษ์ ณ. (2020). ตัวแปรทำนายของปัจจัยทางด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพของนักเรียนอย.น้อย ในเขตบริการสุขภาพที่ 5. ไทยไภษัชยนิพนธ์, 15(2), 31–46. https://doi.org/10.69598/tbps.15.2.31-46