ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะในผู้มารับบริการที่ไม่ได้รับการจ่ายยาปฏิชีวนะ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ตุ้มสังข์ทอง นักศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • ดนิตา ภาณุจรัส ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • ภานุพัฒน์ พุ่มพฤกษ์ ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.15.2.17-29

คำสำคัญ:

การแสวงหา, ยาปฏิชีวนะ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะในผู้มารับบริการที่ไม่ได้รับการจ่ายยาปฏิชีวนะ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์กับผู้มารับบริการจำนวน 437 ราย ระหว่างเดือนเมษายน ถึง ตุลาคม 2562 ผลการศึกษา พบว่า ผู้มารับบริการส่วนใหญ่มีวิธีคิดเกี่ยวกับเชื้อและยาปฏิชีวนะ ดังนี้ ความหมายของเชื้อ คือ สิ่งมีชีวิตที่ก่อเกิดโรค 29.52%, เชื้อมีรูปร่างที่มองไม่เห็น 59.04%, เชื้อดื้อยาหมายถึงการทานยาเดิมไม่หาย 33.41%, เมื่อไม่มียาปฏิชีวนะใช้รักษาจะมีผลกระทบต่อตนเองและเลือกไปพบแพทย์ 43.48% ส่วนการรับรู้เรื่องเชื้อและยาปฏิชีวนะได้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 16.96% และ 25.03% ตามลำดับ พฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะหลังการรักษาจาก รพ.สต. ที่ไม่ได้รับการจ่ายยาปฏิชีวนะ พบว่า มีผู้รับบริการแสวงหา 36 ราย (8.24%) ส่วนใหญ่ได้รับยาปฏิชีวนะจากคลินิกเอกชน 44.44% โดย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ วิธีคิดเกี่ยวกับความหมายของเชื้อและยาปฏิชีวนะ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มารับบริการภายหลังการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยนี้
แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ผู้มารับบริการมีวิธีคิดต่อเชื้อทางด้านลบคือก่อให้เกิดโรค เชื้อกลายเป็น "ภัยคุกคามต่อสุขภาพ" ส่วนยาปฏิชีวนะเสมือนสิ่งมหัศจรรย์เข้าไปกำจัดเชื้อ ดังนั้นพฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะจึงเป็นเรื่องของผู้รับบริการจึงมีความสมเหตุสมผลตามระบบคิดดังกล่าวซึ่งนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลจึงควรพิจารณาถึงมุมมองในหลายมิติ


References

Luvira V. Overveiw of antibiotic resistance. Songkla Med J. 2006;24(5):453-9. (in Thai)

Ministry of Public Health (Thailand). AMR Coordination and Integration Committee. Landscape of antimicrobial resistance situation and action in Thailand. Nonthaburi: The Committee; 2015. (in Thai)

Food and Drug Administration. Resource Center. Basic knowledge about antibiotics [Internet]. Nonthaburi: FDA; 2015 [cited 2017 Oct 21]. Available from: http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15517&id_L3=321 (in Thai)

Thai Health Promotion Foundation. Thailand AMR Containment and Prevention Program. Treatment of bacterial infections with antibiotics at sub-district health promoting hospital [Internet]. Bangkok: The Program; 2015 [cited 2017 Oct 21]. Available from: https://www.hsri.or.th/researcher/media/printed-matter/ detail/6252 (in Thai)

Mininstry of Public Health (Thailand). Health Administration Division. Service plan: rational drug use [Internet]. Nonthaburi: The Division; 2016 [cited 2017 Oct 21]. Available from: https://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2019/04/service-plan-RDU.pdf (in Thai)

Sumpradit N, Hunnangkul S, Prakongsai P, Thamlikitkul V. Distribution and utilization of antibiotics in health promoting hospitals, private medical clinics and pharmacies in Thailand. J health syst res. 2013;17(2):268-80. (in Thai)

Chaidilok W, Chanthapasa K. The meaning of Ya- Kae- Akseb in lay’s perspective: a case study of Ban Nakhok, Moo 3, Srisongrak Subdistrict, Muang District, Loei Province. Isan J Pharm Sci. 2014; 9 suppl.:93-8. (in Thai)

Ruenruay S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the Health Provider Board Region 3. Thai J Pharm Pract. 2017;9(1):225-35. (in Thai)

Jullamas K. Social construction of ceality by TV program called “Ruang Jing Pan Jor” and the perception of viewers [master's thesis]. Bangkok: Dhurakij Pundit University; 2008. (in Thai)

Ketkowit K, Janposri W, Thavondunstid P, Thanyakoup P. Health seeking behavior of rural villagers: case-study in 3 villages in the north-east. Srinagarind Med J. 2000;15(3):143-51. (in Thai)

Sringanyuang L. Social and cultural dimension of community drug use: development of knowledge based on theory and research [Internet]. Nonthaburi: Health Systems Research Institute (HSRI); 1999 [cited 2019 Oct 25]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1688?locale-attribute=th [Subscription required to view] (in Thai)

Puaksom D. Body pathogens and state of medicine. 2nd ed. Bangkok: Illuminations Edition; 2018. (in Thai)

Carlet Carlet J, Collignon P, Goldmann D, Goossens H, Gyssens IC, Harbarth S, et al. Society’s failure to protect a precious resource: antibiotics. Lancet. 2011;378:369-71.

Society and Health Institute (SHI). Manual on health social sciences and medical anthropology [Internet]. Nonthaburi: The Institute; 2004 [cited 2019 Oct 11]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1900?locale-attribute=th [Subscription required to view] (in Thai)

Denyer Willis L, Chandler C. Quick fix for care, productivity, hygiene and inequality: reframing the entrenched problem of antibiotic overuse. BMJ Glob Health [Internet]. 2019 [cited 2019 Oct 25];4(4):e001590. Available from: https://gh.bmj.com/content/4/4/e001590

Sumpradit N, Hunnangkul S, Phumart P, Prakongsai P. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotics: preliminary results. J health syst res. 2012;6(3):361-73. (in Thai)

Drug System Monitoring and Development Centre (DMDC). Report of the drug system situation 2012-2016. Bangkkok: The Centre; 2018. (in Thai)

Mahidol University. Institute for Population and Social Research. Thai health 2015: health frauds: when health is commoditized, drugs become profit-making tools [Internet]. Nakhon Pathom: The Institute; 2015 [cited 2019 Oct 11]. Available from: http://210.1.23.130/handle/123456789/3301 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

How to Cite

ตุ้มสังข์ทอง ก., ภาณุจรัส ด., & พุ่มพฤกษ์ ภ. (2020). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสวงหายาปฏิชีวนะในผู้มารับบริการที่ไม่ได้รับการจ่ายยาปฏิชีวนะ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ไทยไภษัชยนิพนธ์, 15(2), 17–29. https://doi.org/10.69598/tbps.15.2.17-29