ประสิทธิภาพของไลน์แอดแอปพลิเคชันในการจัดระบบบริการตอบคำถามทางยาในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร

ผู้แต่ง

  • ธรางกูร สมทิพย์ งานบริการเภสัชสนเทศ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ชัยนาท
  • นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.16.1.45-60

คำสำคัญ:

ระบบตอบคำถามแบบอัตโนมัติ, เภสัชสนเทศ, ไลน์แอดแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของไลน์แอดแอปพลิเคชัน (Line@ Application) สำหรับกระบวนการตอบคำถามทางยาของศูนย์ข้อมูลยา งานบริการเภสัชสนเทศ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้ โดยการอภิปรายกลุ่มและระดมสมองจากบุคลากรที่ถูกคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 5 คน เพื่อคัดเลือกข้อมูลยาที่ใช้ในการศึกษา ออกแบบกระบวนการ และพัฒนาเครื่องมือให้บริการตอบคำถามทางยาด้วยระบบตอบกลับอัตโนมัติตามคำสำคัญของไลน์แอดแอปพลิเคชัน ในระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง โดยนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปใช้ให้บริการตอบคำถามทางยาในสถานการณ์จริง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม-30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลผลการศึกษาจากการตามรอยการใช้งานของกลุ่มตัวอย่างซึ่งแสดงผลข้อมูลผ่านทางหน้าจออุปกรณ์แสดงผล ร่วมกับการเก็บข้อมูลผลการตอบแบบสอบถามออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มีข้อมูลยาที่ถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ประเภทคำถาม ประกอบด้วย ประเภทขนาดและการบริหารยา 62 ข้อคำถาม ประเภทความเข้ากันได้ของยาฉีดเมื่อบริหารยาร่วมกันทาง Y-site 21 ข้อคำถาม และ ประเภทความคงตัวและการเก็บรักษายา 15 ข้อคำถาม โดยผู้รับบริการต้องใช้คำสำคัญตามรูปแบบที่กำหนดในการสอบถามข้อมูลยา ผลการศึกษาพบว่ามีการสอบถามข้อมูลยาจากข้อคำถามที่ถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการศึกษาและอยู่ในฐานข้อมูลของไลน์แอดแอปพลิเคชันจำนวน 51 คำถาม กลุ่มตัวอย่างทำการตอบแบบสอบถามออนไลน์และตอบกลับแบบสอบถามเป็นจำนวน 32 ฉบับ (ร้อยละ 64) ด้านกระบวนการให้บริการพบว่า ระบบตอบกลับอัตโนมัติตามคำสำคัญของไลน์แอดแอปพลิเคชัน สามารถตอบคำถามได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 นาที (ร้อยละ 92.16) ทำให้ผู้รับบริการมีระยะเวลารอคอยคำตอบลดลงจากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 7 นาที ให้คำตอบได้ถูกต้องทั้งหมด (ร้อยละ 100) แสดงให้เห็นว่าไลน์แอดแอปพลิเคชันสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนของเภสัชกรที่เกิดในกระบวนการตอบคำถามทางยาแบบเดิม ด้านการใช้งานของผู้รับบริการ พบว่ากลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งาน (ร้อยละ 96.87) คิดว่าเครื่องมือมีความง่ายต่อการใช้งาน (ร้อยละ 100) และช่วยให้ได้รับข้อมูลยาที่มีความน่าเชื่อถือไปใช้ในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 100) ดังนั้น เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้จึงตอบสนองต่อความคาดหวังของของผู้รับบริการได้อย่างชัดเจน ควรนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ให้บริการสารสนเทศทางยาในระดับเครือข่ายจังหวัดต่อไปในอนาคต

References

The Association of Hospital Pharmacy (Thailand). Standards for Hospital Pharmacy Professional Practice (2013 – 2017) [Internet]. 2017 [Cited 2018 Mar 31]. Available from: https://www.thaihp.org/index.php?lang=th&option=home (in Thai)

Chanakit T, Kumpalum D, Kunwaradisai N, Swatwongchai Y, Ragsawong N. Characteristics of drug information service in Thailand. Thai Pharm Health Sci J. 2009;4(4):490-499. (in Thai)

Chanakit T. Drug Information Service (in Thai). Ubon Rajathanee: Ubon Rajathanee press; 2012. (in Thai)

©LINE Corporation. How to use LINE@ [Internet]. 2011 [Cited 2018 Jun 24]. Available from: http://at.lineapp.me/tips-tricks/ (in Thai)

Pimsiripanich S. Build a new business world with Line@. Bangkok: You2morrow; 2017. (in Thai)

Womack JP, Jones DT, Roos D. The machine that changed the world: The story of lean production. New York: Rawson and Associates; 1990.

Womack JP, Jones DT. Beyond Toyota: how to root out waste and pursue perfection. Harv Bus Rev. 1996;74(5):140-53.

Stamatis DH. Six sigma and beyond: foundations of excellent performance. New York: St. Lucie Press; 2002.

Nielsen J. Usability 101: Introduction to usability [Internet]. 2012 [cited 2018 Aug 13]. Available from: https://www.nngroup.com/articles/usability-101-introduction-to-usability/

Patramontree U, Raungpaka V. Usability Testing in Internal Auditing: Case Study of a Project Management Software. Kasetsart Applied Business J. 2009;3(1):11-22. (in Thai)

Sangjam P, Lucksanawongsri P, Chaiyaporn K, Tangkiatkumjai M, Treesak C. Telephone-based drug information service: a private hospital experience. SWU J Pharm Sci. 2005;10(1):48-57. (in Thai)

Supakul S, Vientong P. Development of an automatic question-answering system for drug information center, Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University. Thai J Hosp Pharm. 2015;25(1):9-18. (in Thai)

Sirisamut T. 10 years drug information service, Siriraj. Thai Pharm Health Sci J. 2010;5(1):95-98. (in Thai)

Tepjit S. Evaluation Lean Six Sigma Implementation using System Dynamic Modeling: Case study in the Hospital [Dissertation]. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok; 2006. (in Thai)

Worawong W. The Manufacturing Development Process of Cytotoxic Drug Admixtures at Queen Sirikit Naval Hospital, Naval Medical Department, Using Lean Six Sigma Methodologies [Dissertation] Nonthaburi: Sukhothaithammathirat University; 2013. (in Thai)

Fuengdenkhajon N. Responsiveness Improvement in Dental Service Industry by Lean Six Sigma Approach: a Case Study of Special Dental Service Clinic [Dissertation] Bangkok: Chulalongkorn University; 2004. (in Thai)

Udompan W, Khonchoho V, Chimphlee W, Longpradit P. Incident reduction procedure by Lean Six Sigma methodology of Basel II system. Suan Dusit Grad Sch Acad J. 2015;11(3):53-61. (in Thai)

Piriyakul M, Piriyakul R, Chuacharoen O, Boonyoung M, Piriyakul P, Piriyakul I. Factors effecting intention to reuse internet transaction. Lanna Acad J. 2015;1(1):1-21. (in Thai)

Chaveesuk S, Vongjaturapat S. Unified theory of acceptance and use of technology. KMITL Inf Technol J. 2012;1(1):2-22. (in Thai)

Davis FD, Bagozzi PR, Warshaw P. User acceptance of computer technology: a comparison of two theoretical models. Manage Sci. 1989;35(8):982-1003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-17

How to Cite

สมทิพย์ ธ., & กิติกรรณากรณ์ น. . (2021). ประสิทธิภาพของไลน์แอดแอปพลิเคชันในการจัดระบบบริการตอบคำถามทางยาในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. ไทยไภษัชยนิพนธ์, 16(1), 45–60. https://doi.org/10.69598/tbps.16.1.45-60