การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์อัตราเร็วลม ที่ระดับความสูง 120 เมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วรางคณา เรียนสุทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

อัตราเร็วลม, ตัวแบบพยากรณ์, บ็อกซ์-เจนกินส์, การทำให้เรียบแบบเลขชี้กำลัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์อัตราเร็วลมที่ระดับความสูง 120 เมตร อำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างโดยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์และวิธีการทำให้เรียบแบบเลขชี้กำลังของวินเทอร์ อัตราเร็วลมรายชั่วโมงที่ใช้ศึกษาได้มาจากศูนย์วิจัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยทักษิณ สำหรับการเปรียบเทียบความเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์จะใช้เกณฑ์ร้อยละค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยและเกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า วิธีการทำให้เรียบแบบเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณมีความเหมาะสมมากที่สุด จึงสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์อัตราเร็วลมที่ระดับความสูง 120 เมตร อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำนายปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่จะผลิตได้ในอนาคตต่อไป

Author Biography

วรางคณา เรียนสุทธิ์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตพัทลุง  ตำบลบ้านพร้าว  อำเภอป่าพะยอม  จังหวัดพัทลุง  93210

References

Bielecki, M.F., Kemper, J.J. and Acker, T.L. 2014. Statistical Characterization of Errors in Wind Power Forecasting. Northern Arizona University, U.S.A.

Box, G.E.P., Jenkins, G.M. and Reinsel, G.C. 1994. Time Series Analysis: Forecasting and Control. 3rd ed. Prentice Hall, New Jersey.

Keerativibool, W. and Mahileh, J. 2011. Forecasting Model of Wind Speed Along the Coast of Songkhla Province. Journal of Energy Research 8(3): 63-72. (in Thai)

Keerativibool, W. and Mahileh, J. 2013. Forecasting Model of Wind Speed Along the Coast of Tha Sala District Nakhon Si Thammarat Province. KKU Research Journal 18(1): 32-50. (in Thai)

Keerativibool, W., Waewsak, J. and Kanjnasamranwong, P. 2011. Short-Term Forecast of Wind Speed at Chana District, Songkhla Province Thailand, pp. 343-350. In Proceedings of the 2011 International Conference on Alternative Energy in Developing Countries and Emerging Economies. Thaksin University, Songkhla. (in Thai)

Ket-iam, S. 2005. Forecasting Technique. 2nd ed. Thaksin University, Songkhla. (in Thai)

Manmin, M. 2006. Time Series and Forecasting. Foreprinting, Bangkok. (in Thai)

Mauch, B.K. 2012. Managing Wind Power Forecast Uncertainty in Electric Grids. Ph.D. dissertation of Engineering and Public Policy, Carnegie Mellon University.

Promdee, Ch. 2016. Electric Power Generation of Savonius Wind Turbine with Double Wind Tunnels. Master in Electrical and Computer Engineering Thesis, Mahasarakham University. (in Thai)

Thongyai, N. and Assawamartbunlue, K. 2017. Wind Atlas Simulation to Find Wind Potential Area to Generate Electric Power of the Chanthaburi and Trat Provinces, Thailand, pp. 737-745. In Proceedings of the 31st Conference of Mechanical Engineering Network of Thailand. Phukhaongam Resort, Thailand. (in Thai)

Vasilji, J., Sarajcev, P. and Jakus, D. 2015. Wind Power Forecast Error Simulation Model. World Academy of Science, Engineering and Technology International Journal of Electrical and Computer Engineering 9(2): 138-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-15

How to Cite

เรียนสุทธิ์ ว. (2021). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์อัตราเร็วลม ที่ระดับความสูง 120 เมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 13(1), 24–39. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/212295