การออกแบบกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทำสบู่สมุนไพรโดยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
สะเต็มศึกษา, สบู่สมุนไพร, กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ เรื่องการทำสบู่สมุนไพรด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม นักเรียนได้ทดลองทำสบู่ขึ้นใช้เอง เป็นการเสริมความรู้ต่อยอดจากการทดลองในหนังสือเรียนมัธยมปลาย วิชาเคมี เรื่อง “ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสน้ำมันหรือไขมันด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์” ซึ่งทำให้ผู้เรียนเห็นประจักษ์ถึงการนำความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 การออกแบบการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 3 ดำเนินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์กับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนอาสาสมัครจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวังตะเคียนวิทยาคม จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้คือ คู่มือกิจกรรม เรื่อง การทำสบู่สมุนไพร จำนวน 8 กิจกรรม ใช้เวลา 12 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของการสอนรายวิชาเคมี ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 4.42 อยู่ในระดับดี ด้านประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.53 นักเรียนเกิดกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมอยู่ในระดับดีมาก มีร้อยละผลการประเมิน 92.2
References
นัสรินทร์ บือซา. 2558. ผลจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิตยา ภูผาบาง. 2559. การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง พลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. 2556. STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร 33(2): 49-56.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี. 2558. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย, มหาสารคาม.
ภัสสร ติดมา, มลิวรรณ นาคขุนทด และ สิรินภา กิจเกื้อกูล. 2558. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education เรื่องระบบของร่างกายมนุษย์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์ 13(3): 71-76.
วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงษ์, กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์. 2556. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม เคมี เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2557. คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558. มาตรฐานสะเต็มศึกษา. ซัคเซสพับลิเคชัน, กรุงเทพฯ.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. 2558. สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 17(2): 28-38.
อโนดาษ์ รัชเวทย์, ฐิชินีปกรณ์ สมแก้ว และ ปภาวี อุปธิ. 2560. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศวรรษที่ 21 โดยชุดการเรียนการสอนตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 11(3): 226-238.
อภิสิทธิ์ ธงไชย. 2556. เทคโนโลยีและวิศวกรรมคืออะไร ในสะเต็มศึกษา. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 42(185): 35-37.
Botanie Natural Soap, Inc. 2000. Recipe Calculator for Soap Making. Available Source: http://soapcalc.net/calc/SoapCalcWP.asp, May 27, 2018.
Mabrouk, S.T. 2005. Making Usable, Quality Opaque or Transparent Soap. Journal of Chemical Education 82(10): 1534-1537.
Sutheimer, S., Caster, J.M. and Smith S.H. 2015. Green Soap: An Extraction and Saponification of Avocado Oil. Journal of Chemical Education 92(10): 1763-1765.
Vasquez, J.A., Sneider, C. and Comer, M. 2013. STEM Lesson Essentials: Grades.
3-8: Integrating Science, Technology, Engineering and Mathematics. Heinemann, New Hampshire.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็น ต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษ์อักษรจากวารสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยก่อนเท่านั้น