สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช กับพอลิแลกติกแอซิดที่เติมเถ้าเปลือกทุเรียน

ผู้แต่ง

  • พีรวัส คงสง คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ศิริวรรณ หอกกิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • อนุสรา วิวาสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • มาหามะสูไฮมี มะแซ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

พอลิแลคติกแอซิด, เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช, เถ้าเปลือกทุเรียน, สมบัติเชิงกล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลของเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับพอลิแลคติกแอซิดที่ผสมด้วยเถ้าเปลือกทุเรียนในปริมาณ 0, 1.25, 2.50, และ 5.00 ร้อยละโดยน้ำหนักของเถ้าเปลือกทุเรียนต่อพอลิเมอร์ผสม โดยนำเถ้าเปลือกทุเรียนไปบดด้วยลูกบอลแบบแพลเนต (Planetary ball mill) ซึ่งขนาดของเถ้าเปลือกทุเรียนลดลงจาก 22.3 ± 2.0 ไมโครเมตร เป็น 9.1 ± 1.0 ไมโครเมตร หลังจากบดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ที่อัตราเร็ว 400 รอบต่อนาที ทำการผสมในเครื่องผสมแบบปิด แล้วนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดขึ้นรูปเพื่อศึกษาสมบัติเชิงกล (การทดสอบค่าความต้านทานแรงดึงและค่าความต้านทานต่อแรงกระแทก) และศึกษาสัณฐานวิทยา จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่า ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดและร้อยละการยืด ณ จุดขาดของชิ้นทดสอบที่เติมเถ้าเปลือกทุเรียนในปริมาณ 1.25 ร้อยละโดยน้ำหนัก มีค่าสูงที่สุด เมื่อเติมเถ้าเปลือกทุเรียนในปริมาณที่สูงขึ้น ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดและค่าร้อยละการยืด ณ จุดขาดลดลง ค่ายังส์มอดูลัสและค่าความต้านทานต่อแรงกระแทกมีค่าลดลงตามปริมาณที่เพิ่มขึ้นของเถ้าเปลือกทุเรียน การตรวจสอบสัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ผสมกับเถ้าเปลือกทุเรียนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าพอลิเมอร์ผสมระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับพอลิแลคติกแอซิดมีการเข้ากันได้ไม่ดีและเถ้าเปลือกทุเรียนมีการกระจายตัวได้ดีในเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชมากกว่าพอลิแลคติกแอซิด

Author Biographies

พีรวัส คงสง, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

สาขาวิศวกรรมวัสดุ  คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  30000

ศิริวรรณ หอกกิ่ง, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

สาขาวิศวกรรมวัสดุ  คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  30000

อนุสรา วิวาสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

สาขาวิศวกรรมวัสดุ  คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  30000

มาหามะสูไฮมี มะแซ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  อำเภอเมืองสงขลา  จังหวัดสงขลา  90000

References

Akramia, M., Ghasemia, I., Azizia H., Karrabia, M. and Mohammad, S. 2016. A new approach in compatibilization of the poly (lactic acid)/thermoplastic starch (PLA/TPS) blends. Carbohydrate Polymers 144: 254-262.

Ferri, J.M., Garcia, G.D., Sánchez, N.L., Fenollar, O. and Balart, R. 2016. The effect of maleinized linseed oil (MLO) on mechical performance of poly (lactic acid) thermoplastic starch (PLA-TPS) blends. Carbohydrate Polymers 147: 60-68.

Hunyek, A. 2019. Mechanical, optical and electrical properties of copper oxide-polypropylene composite. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok 29(3): 527-538. (in Thai)

Kaewtatip, K. 2013. Bioplastics from wheat gluten. KKU Research Journal 41(2): 309-319. (in Thai)

Kunthadong, P., Peekoh, M. and Sindanjark, O. 2019. Biocomposite films based on cassava starch reinforced with durian rind cellulose fibers. RMUTP Research Journal 13(1): 39-50. (in Thai)

Kunthadong, P., Chankaew, C. and Chotichayapong, C. 2020. Soil nutrient rich thermoplastic tapioca starch/water hyacinth bio-composite films. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok 30(1): 104-117. (in Thai)

Pattanasupong, A., Kahapana, C., Sompakdee, N., Srasaengta, N., Tungsatitporn, S. and Bosuwan, K. 2015. Compost quality of poly lactic acid bio-plastic sheet disintegration in a pilot scale test according to ISO 16929:2013. Songklanakarin Journal of Plant Science 2(3): 35-40. (in Thai)

Quyen, T.T.B, Toan, N.V., Nhan, T.C., Thien, D.V.H. and Thanh, L.H.V. 2019. A Simple and rapid preparation of activated carbons with highly surface area from durian shell ash. International Journal of Scientific Engineering and Science 3(4): 65-68.

Rattanapan, A. 2012. Mechanical properties and morphology of PLA filled with nanoclay. The Journal of Industrial Technology 8(3): 69-77. (in Thai)

Suksawat, S. and Pathom-aree W. 2012. The role of bacteria on bioplastic. Srinakharinwirot Science Journal 28(2): 285-304. (in Thai)

Sunduma, T., Szécsényi, K.M. and Kaewtatip, K. 2018. Preparation and characterization of thermoplastic starch composites with fly ash modified by planetary ball milling. Carbohydrate Polymers 191: 198-204.

Sunthontem, S. 2012. Silver nano/poly (lactic acid)/poly (butylene succinate) nanocomposite: preparation, compatibility and properties. Master of Science and Engineering, Silpakorn University. (in Thai)

Tachaphiboonsap, S. 2013. Compatibility and toughness improvement of thermoplastic starch/poly (lactic acid) blends. Master of Engineering, Suranaree University of Technology. (in Thai)

Thammachot, N. 2015. Engineering Materials. SE-Education, Bangkok. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-27

How to Cite

คงสง พ., หอกกิ่ง . ศ., วิวาสุข อ., & มะแซ ม. (2021). สมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช กับพอลิแลกติกแอซิดที่เติมเถ้าเปลือกทุเรียน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 13(2), 357–368. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/241586