การทดสอบเพื่อตรวจสอบคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่มีเหล็กข้ออ้อยเชื่อมกับแผ่นเหล็กฝังที่ส่วนรองรับภายใต้แรงกระทำเป็นจุดแบบตามขวาง

ผู้แต่ง

  • ชูธง กงแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • จักษดา ธำรงวุฒิ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

คานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป, จุดต่อ, ความยาวระยะฝังเหล็กเสริม

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงการทดสอบคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่มีเหล็กข้ออ้อยเชื่อมกับแผ่นเหล็กฝังที่ส่วนรองรับ โดยทดสอบแบบแรงกระทำ 4 จุด เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางกล ลักษณะการวิบัติและผลของระยะฝังของเหล็กข้ออ้อยที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กที่ฝังที่ส่วนรองรับที่มีผลต่อกำลังของคานและเปรียบเทียบผลกับค่าที่คำนวณจากสมการการออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็ก วสท. 1008-38 ตัวอย่างเป็นคานขนาด full scale กว้าง 0.175 ม. ลึก 0.35 ม. และ span ยาว 4.0 ม. จุดเชื่อมต่อทำด้วยแผ่นเหล็กกว้าง 0.25 ม. ลึก 0.15 ม. และ หนา 0.02 ม. เชื่อมด้วยเหล็กข้ออ้อย DB16 ที่มีระยะฝังยาว 500 (คานอ้างอิง) 1,000 และ 1,500 มม. จากการทดสอบพบว่า คานมีพฤติกรรม bilinear โดยช่วงแรกมีพฤติกรรม linear elastic จนแรงกระทำมีค่าประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ของแรงกระทำสูงสุด คานฯ จะเข้าสู่พฤติกรรม non-linear จากนั้น คานฯ จะเกิดการแอ่นตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดการวิบัติที่สภาวะใช้งาน (ที่ค่าการโก่งตัว L/240) โดยคานที่ใช้เหล็กข้ออ้อยยาว 1,000 และ 1,500 มม. มีกำลังต้านทานแรงกระทำสูงกว่าคานอ้างอิงอยู่ในช่วง 4.27 ถึง 17.45% โดยการวิบัติของคานฯ เปลี่ยนจากการวิบัติแบบแตกร้าวในแนวดิ่งของคอนกรีต เนื่องจากการเลื่อนของแผ่นเหล็กที่จุดรองรับ เป็นการวิบัติแบบ flexural failure บริเวณกึ่งกลางคานและ diagonal shear failure ตามที่ได้ออกแบบไว้ เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนกำลังรับแรงกระทำช่วงยืดหยุ่นเชิงเส้นจากการทดสอบต่อแรงกระทำช่วงยืดหยุ่นจากสมการของ วสท. 1008-38 พบว่า อยู่ในช่วง 1.70 ถึง 2.86 ขึ้นอยู่กับความยาวของระยะฝังของเหล็กข้ออ้อย

References

Engineering Institute of Thailand. 1995. Reinforced Concrete Design: Strength Design Method (EIT Standard 1008-38). Engineering Institute of Thailand under His Majesty the King's Patronage, Bangkok.

Guo, X., Gao, S., Wang, L. and Bui, T.N. 2018. Bearing capacity of embedded channel-shaped steel connections at precast concrete beam end. Engineering Structures 175(1): 177-190.

Thai Industrial Standards Institute. 1982. Notification of the Ministry of Industry (TIS 409-2525) 1982 Title: Test method for compressive strength of concrete specimens. Government Gazette vol.99, Special Part 51 (dated April 9, 1982). (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute. 1998. Notification of the Ministry of Industry (TIS 1479-2541) 1998 Title: Hot-rolled flat steel of commercial and drawing qualities. Government Gazette vol.116, Special Part 107 (dated December 24, 1999). (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute. 2016a. Notification of the Ministry of Industry (TIS 20-2559) 2016 Title: Steel bars for reinforcing concrete: Round bar. Government Gazette vol.133, Special Part 87 (dated May 24, 2016). (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute. 2016b. Notification of the Ministry of Industry (TIS 24-2559) 2016 Title: Steel bars for reinforcing concrete: Deformed bar. Government Gazette vol.133, Special Part 87 (dated May 24, 2016). (in Thai)

Thumrongvut, J. and Seangatith, S. 2005. Precast Reinforced Concrete Beams with Steel Channel Sections Embedded at the Support Sections under Transverse Point Loads, pp. 1-6. In Tenth National Convention on Civil Engineering. Engineering Institute of Thailand under His Majesty the King's Patronage.

Yip, W.K., Teng, S., Ting, S.K. and Hu, H.B. 1999. Behaviour of precast reinforced concrete beams with structural steel I-section embedded at the support section, pp. 973-978. In Seventh East Asia-Pacific Conference on Structural Engineering & Construction. Kochi University of Technology, Kochi, Japan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

How to Cite

กงแก้ว ช., แสงอาทิตย์ ส., & ธำรงวุฒิ จ. (2024). การทดสอบเพื่อตรวจสอบคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่มีเหล็กข้ออ้อยเชื่อมกับแผ่นเหล็กฝังที่ส่วนรองรับภายใต้แรงกระทำเป็นจุดแบบตามขวาง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 16(3), 591–609. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/257551