การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังโดยใช้เถ้าปาล์มน้ำมันและปูนซีเมนต์เพื่อใช้ในงานก่อสร้างถนน

ผู้แต่ง

  • พีระวัฒน์ พงศ์ชวิศกร สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  90110
  • สราวุธ จริตงาม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  90110
  • โอภาส สมใจนึก สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ สำนักงานทางหลวงที่ 18 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

คำสำคัญ:

ดินลูกรังนาหม่อม, เถ้าปาล์มน้ำมัน, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1, งานก่อสร้างถนน, กำลังอัด, กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเถ้าปาล์มน้ำมันและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดินลูกรังจากแหล่งดินบ้านควนจง อ.นาหม่อม จ.สงขลา เพื่อนำมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยปรับปรุงโดยปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนร้อยละ 2, 3, 4 และ 5 โดยน้ำหนักของดิน และปรับปรุงโดยปูนซีเมนต์อัตราส่วนร้อยละ 5 ผสมกับเถ้าปาล์มน้ำมันที่มีขนาดต่ำกว่า 45 ไมครอน ในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนักของดิน โดยทำการทดสอบหาคุณสมบัติพื้นฐานและทางวิศวกรรม วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี รวมถึงศึกษาโครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราดของดินลูกรัง ผลการศึกษาพบว่าดินลูกรัง ที่ปรับปรุงโดยเถ้าปาล์มน้ำมันและปูนซีเมนต์ มีองค์ประกอบหลักคือ SiO2, Al2O3, Fe2O3, CaO และ K2O
การปรับปรุงดินลูกรังโดยใช้ปูนซีเมนต์ ทำให้ค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 24.8 ksc ในอัตราส่วนปูนซีเมนต์ร้อยละ 5 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน และการปรับปรุงโดยใช้เถ้าปาล์มน้ำมันและปูนซีเมนต์ทำให้ค่าปริมาณความชื้นเหมาะสมเพิ่มขึ้นจาก 9.7 เป็น 11.2% ทำให้ค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดลดลงจาก 1.970 เป็น 1.861 g/cm3 และทำให้ค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 31.1 ksc ในอัตราส่วนปูนซีเมนต์ร้อยละ 5 เถ้าปาล์มน้ำมันร้อยละ 5 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน และค่ากำลังอัดลดลงตามปริมาณของเถ้าปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น  จากค่ากำลังอัดของดินลูกรังที่ปรับปรุงโดยปูนซีเมนต์ในทุกอัตราส่วนผสม และดินลูกรังที่ปรับปรุงโดยปูนซีเมนต์และเถ้าปาล์มน้ำมันในอัตราส่วนปูนซีเมนต์ร้อยละ 5 เถ้าปาล์มน้ำมันร้อยละ 5 ที่ผ่านระยะเวลาบ่ม 7 วัน ผ่านมาตรฐานชั้นรองพื้นทางดินซีเมนต์ของกรมทางหลวงในการนำไปใช้ในงานก่อสร้างถนน

References

Ahmad, J., Rahman, A.S.A., Ali, M.R.M. and Rahman, K.F.A. 2011. Peat soil treatment using POFA, pp. 66-70. In IEEE Colloquium on Humanities, Science and Engineering Research. Penang, Malaysia.

Alexander, L.T. and Cady, J.G. 1962. Genesis and hardening of laterite in soils. Soil Science 96(1): 7-8.

ASTM. 2019. ASTM C618-19 Standard Specification for Coal Fly Ash and Raw or Calcined Natural Pozzolan for Use in concrete. American Society for Testing and Materials, West Conshohocken, PA, USA.

DOH. 1972a. Abrasion test Standard (DH-T 202/2515). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 1972b. Atterberg limits test standard (DH-T 102/2515 and 103/2515). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 1972c. Unconfined compressive strength test standard (DH-T 105/2515). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 1974a. Sieve analysis test standard (DH-T 205/2517). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 1974b. Modified proctor test standard (DH-T 108/2517). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 1974c. California bearing ratio test standard (DH-T 109/2517). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 1989. Soil aggregate subbase standard for road construction (DH-S 205/2532). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

DOH. 2021. Soil - cement subbase standard for road construction (DH-S 206/2564). Department of Highways, Ministry of Transport, Bangkok. (in Thai)

Ivanic, M., Vdovic, N., Barreto, S.D.B., Bermanec, V. and Sondi, I. 2015. Mineralogy, surface properties and electrokinetic behavior of kaolin clays from the naturally occurring pegmatite deposits. Geologia Croatica 68(2): 139-145.

Jaturapitakkul, C. 2012. Biomass ash from industry: Problems, Limitations and Applications. Concrete Journal TCA e-magazine 17: 14-23. (in Thai)

Land Development Department. 2020. Management of laterite soil. LDD E-library. Available Source: http://library. ldd.go.th, February 16, 2020. (in Thai)

Ministry of Transport Operation Center. 2021. Road infrastructure. Road infrastructure. Available Source: https:// motoc.mot.go.th/infras, March 6, 2023. (in Thai)

Nnochiri, E.S., Ogundipe, O.M. and Oluwatuyi, O.E. 2017. Effects of palm kernel shell ash on lime-stabilized lateritic soil. Slovak Journal of Civil Engineering 25(3): 1-7.

Office of Agricultural Economics. 2020. Information on the production of agricultural products. Palm oil product details. Available Source: https://www. oae.go.th, March 6, 2023. (in Thai)

Oke, J. and Kolawole, O. 2020. Effects of Compactive Effort on Laterite -Oil Palm Empty Fruit Bunch Ash Mixture. Covenant Journal of Engineering Technology 4(1): 30-48.

Onyelowe, K.C. 2019. Nanosized palm bunch ash (NPBA) stabilization of lateritic soil for construction purposes. International Journal of Geotechnical Engineering 13(1): 83-91.

Otunyo, A.W. and Chukuigwe, C.C. 2018. Investigation of the impact of palm bunch ash on the stabilization of poor lateritic soil. Nigerian Journal of Technology 37(3): 600-604.

Phudphong, W. and Hormdee, D. 2022. Utilization of geopolymer on improvement of loess soil using palm oil fuel ash and granulated blast furnace slag. Engineering Journal of Research and Development 33(1): 49-59.

Pourakbar, S., Asadi, A., Huat, B.B.K. and Fasihnikoutalab, M.H. 2015. Soil stabilization with alkali-activated agro-waste. ICE Environmental Geotechnics 2(6): 359-370.

Rakson, S., Chaturapitakkul, C., Chucheepsakul, S. and Chindaprasert, P. 2005. Use of palm oil fuel ash in concrete. Engineering Research and development Journal 16(2): 38-43. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

How to Cite

พงศ์ชวิศกร พ., จริตงาม ส., & สมใจนึก โ. . (2024). การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังโดยใช้เถ้าปาล์มน้ำมันและปูนซีเมนต์เพื่อใช้ในงานก่อสร้างถนน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 16(3), 557–571. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/258032