The Brown Planthopper Biotype Concept
Abstract
มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีชีวชนิด (biotype) แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กันการที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีความสามารถในการมีชีวิตอยู่รอดและมีความสามารถเข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่มียีนส์ต้านทาน (Bph ยีนส์) ที่แตกต่างกัน คำว่า biotype หมายถึง ประชากรของแมลงหรือแมลงแต่ละตัวที่อยู่ใน biotype เดียวกัน จะต้องมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีลักษณะ virulence ในการเข้าทำลายพืชอาศัยเหมือนกันทางพันธุกรรม แต่ปัญหา biotype ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ที่ว่าแมลงที่อยู่ภายใน biotype เดียวกันนั้นมีลักษณะ virulence ที่แตกต่างกัน และเมื่่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการผสมพันธุ์ภายในประชากรชีวชนิดเดียวกัน ประมาณ 10 ชั่วอายุขัย ลักษณะ virulence ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมภายในชีวชนิดเดียวกัน การใช้คำว่า biotype กับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ เนื่องจากเพลี้ยกระโดดสีต้ำตาลไม่มีลักษณะของความสัมพันธ์แบบยีนส์ต่อยีนส์ระหว่างลักษณะ resistance และ virulence เนื่องจากลักษณะ virulence ของแมลงชนิดนี้ถูกควบคุมด้วยยีนส์หลายตัว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงที่มีศักยภาพสูงในการปรับตัวให้เข้ากับพันธุกรรมของข้าวพันธุ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แมลงชนิดนี้มีพันธุกรรมที่แตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างประชากรที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆของทวีปเอเซียและออสเตรเลีย จึงควรมีการระวังในเรื่องการจำแนกชนิด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มาจากต่างสภาพภูมิศาสตร์ และการใช้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เลี้ยงได้ในเรือนทดลองเป็นเวลานานมาเป็นตัวทดสอบคัดเลือกพันธุ์ข้าว เนื่องจากแมลงที่เลี้ยงได้นั้นจะมีผลของการผสมพันธุ์ภายในประชากรเดียวกัน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Thai Agricultural Research Journal