Trend of Thai Farm Machinery Utilization from Japan experience
Abstract
แนวทางการพัฒนาการใช้เครื่องจักรกลเกษตรของไทยจากบทเรียนของญี่ปุ่น การใช้เครื่องจักกลในระบบการผลิตด้านเกษตรกรรมของญี่ปุ่น ถึงแม้จะอยู่ในระดับสูงสุดและทันสมัยว่าทุกประเทศในทวีปเอเซียก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาในแง่ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้งานแล้ว ก็นับได้ว่าไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีกว่าไทยมากนัก เนื่องจากภาครัฐให้การสนับสนุนในด่านเงินทุนและปัจจัยอื่นๆ ในการใช้เครื่องจักกลเกษตรแก่เกษตรกรในอัตราที่สูงมากจนเกินความเหมาาะสมปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตระหนักถึงปัญหาและจุดอ่อนในข้อนี้ จึงหังมาสนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลเกษตาในลักษณะรวมกลุ่มหรือบริการรับจ้างด้วยเครื่องจักกลเกษตรแทนการสนันสนุนเกษตรกรเฉพาะราย
สำหรับประเทศไทยนั้นถึงแม้จะมีการใช้ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะบริการรับจ้างมาโดดตลอด ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งนับได้ว่าการใช้เครื่องจักรกลเกษตรของไทยมีประสิทธิภาพกว่าญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการใช้ เครื่องจักกลเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้านการเกษตรของไทยนั้นยังอยู่ในระดับล้าหลังกว่ามาก ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 จึงได้ระบุถึงบทบาทของเครื่องจักกลเกษตรไว้อย่างเด่นชัด ว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึงซึ่งต้องเร่งรัดพัฒนาเพื่อให้ทันกับความต้องการของเกษตรกรในการทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องจากการอพยพอย่างถาวรสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ตามสภาพการพัฒนาของประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลและตัวอย่างบทเรียนต่างๆ ของการพัฒนาด้สนเครื่องจักรกลเกษตรของไทยและญี่ปุ่นในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น จะเห็นว่าการสนันสนุนให้มีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในลักษณะรวมกลุ่ม หรือบริการรับจ้าง เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนสภาพการประกอบเกษตรกรรมของไทย ภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ควรเน้นการให้สินเชื่อในการซื้อเครื่องจักรกลเกษตรในลักษณะรวมกลุ่มหรือสนับสนุนการบริการรับจ้างมากกว่าการให้แก่เกษตรรายย่อยเฉพาะรายเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนควรขยายการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและช่างซ่อมแซม ในเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเกษตร ซึ่งนับวันจะเป็นแบบที่มีกลไกยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้ความชำนาญของผู้ใช้และช่างซ่อมแซม จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่จทำให้การใช้เครื่องจักรกลเกษตร เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ก่อประสิทธิภาพแก่เกษตรกรและประเทศชาติตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป อย่างไรก็ตามสถานการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ ภาครัฐต้องมีมาตรการสนับสนุนทางอ้อมให้อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลเกษตรในประเทศมีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันกับต่างประเทศในสภาวะการณ์ของการแข่งขันการค้าอย่างเสรีได้ การพัฒนาการใช้เครื่องจักรกลเกษตรของประเทศไทยจึงจะเป็นไปอย่างเป็นระบบมีความยั่งยืนตลอดไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Thai Agricultural Research Journal