วิจัยและพัฒนาเครื่องเก็บผลปาล์มน้ำมันร่วง

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา เครือหาญชาญพงค์ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • พักตร์วิภา สุทธิวาร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • วีระ สุขประเสริฐ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • พงษ์ศักดิ์ ต่ายก้อนทอง สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • สุภาษิต เสงี่ยมพงศ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • อัคคพล เสนาณรงค สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร

DOI:

https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2021.8

คำสำคัญ:

ปาล์มน้ำมัน, ลูกร่วง, การเก็บ

บทคัดย่อ

ผลปาล์มร่วงภายหลังการเก็บเกี่ยว มีจำนวนถึง 10 กก./ไร่ ผู้รับจ้างไม่ได้เก็บออกจากแปลง เกษตรกรต้องเก็บเอง การเก็บต้องก้มลงเก็บทำให้เกิดความเหนื่อยล้ามาก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือเก็บผลปาล์มร่วงแทนการใช้แรงงานคน โดยใช้หลักการของลมดูด ทำห้องเก็บให้เป็นห้องสูญญากาศ เมื่อเปิดท่อลม จะเกิดการสร้างลมดูดที่สามารถดูดผลปาล์มเข้าไปเก็บในห้องสุญญากาศ ได้ทดสอบเครื่องต้นแบบที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี พบว่า มีความสามารถในการเก็บที่ 1.28 กก./นาทีใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 112 มล. เปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคนมีความสามารถในการเก็บผลปาล์มร่วง 2.01 กก./นาที พบว่า การเก็บโดยใช้แรงงานคนมีอัตราการเก็บที่เร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เครื่องมือเก็บผลปาล์มร่วมแบบใช้ลมดูดนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีแปลงขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับเกษตรกรรายย่อยเพราะเครื่องมือนี้มีราคาแพง ดังนั้น จึงออกแบบและพัฒนาเครื่องเก็บผลปาล์มร่วงที่มีราคาถูก แบบตะกร้อ โดยใช้หลักการของความยึดหยุ่นของสปริงในการกางและหุบ กดลงบนผลปาล์มร่วง ผลปาล์มจะเด้งเข้าไปอยู่ในตะกร้อ สามารถเทผลปาล์มออกจากตะกร้อได้ผลการทดสอบ พบว่า มีความสามารถในการเก็บที่ 1.32 กก./นาทีถึงแม้เครื่องเก็บผลปาล์มร่วงมีประสิทธิภาพในการเก็บผลปาล์มไม่แตกต่างจากแรงงานคน แต่ช่วยให้เกษตรกรลดความเหนื่อยล้าได้

References

ชำนาญ ทองเกียรติกุล. 2557. เทคนิคสตูลกับพลุ้งอุปกรณ์เก็บผลปาล์มร่วง-ลูกยาง. เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.techmologychoban.com/news_detils.php?nid=1464. เมื่อวันที่ 20 ธค 2559.

วิชัย รุ่งเรืองอนันต์. 2558. กลไกในการวิเคราะห์สถานการณ์ของราคาปาล์มน้ำมัน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 91 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. นำเข้าส่งออกสินค้าที่สำคัญ. สืบค้นเมือ 20 กันยายน 2561.จาก http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/export.php.

Ahmad H., Ahmad Zamri M.Y, & Mohd S. J. (1995). Loose Fruit Collector. Information Series No.19, Palm Oil Research Institute of Malaysia (PORIM), Selangor.

Ahmad Zamri M.Y & Ahmad H. (1999). Mechanical Loose Fruit collector. Information Series No.57, Palm Oil Research Institute of Malaysia (PORIM), Selangor.

Herman B.K. 2014. Autonomous loose Oil Palm Fruit Collector Mobile Robot. Post graduated project report. Faculty of Electrical Engineering, University Teknologi Malaysia. 95 p.

Muhammad M., M. Nadzri., and A. Ahmad. 2016. Roller Picker Robot (Ropicot 1.0) For Loose Fruit Collection System. ARPN. J. Appl. Sci. 11(14).

Rimfiel B., Janius and A. Eskandar. 2007. Performance Evaluation of a Terrain-Accommodating Oil Palm Loose Fruit Collector. Sci. & Technol. 15(1): 15 - 23.

Shuib A.R., Khalid M.R., Deraman M.S & Mohamed A. 2012. Oil Palm Loose Fruit Collector No.505, Palm Oil Research Institute of Malaysia (PORIM), Selangor.

Shuib A. R., Khalid M.R., Bakri M.A., & Mohamed A., & Salleh N. (2017). Oil Palm Loose Fruit Collecting Machine with Elevated Discharge Mechanism (LFC Mark IV No.751, Palm Oil Research Institute of Malaysia (PORIM), Selangor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-11

How to Cite

เครือหาญชาญพงค์ ย. ., สุทธิวาร พ., สุขประเสริฐ ว. ., ต่ายก้อนทอง พ., เสงี่ยมพงศ ส., & เสนาณรงค อ. . (2021). วิจัยและพัฒนาเครื่องเก็บผลปาล์มน้ำมันร่วง. วารสารวิชาการเกษตร, 39(1). https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2021.8