การพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัทติดตั้ง และบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงาน SME

Authors

  • ปฐมพงษ์ หอมศรี วิศวกรอาวุโส แผนก Material Flow Engineering ฝ่าย MP&L บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
  • จักรพรรณ คงธนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท JK Consultant Group จำกัด 1083/2 ถนน กรุงเทพ-นนทบุรี แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

Keywords:

สินค้าคงคลัง, การจัดการ, ระบบ, SME, Inventory, Management System

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลังและเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในระบบสินค้าคงคลังจัดทำกลุ่มของสินค้า (Product Category) ลดปริมาณสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บลง คณะผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการหาสาเหตุและปัญหาโดยใบตรวจสอบ (Cheek Sheet) และแผนผัง ก้างปลา (Ishikawa Diagram) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางแก้ไข ผลการวิเคราะห์พบว่า บริษัทมีปัญหาเรียงตามความสำคัญดังนี้ ปัญหาด้านสินค้าคงคลัง เกิดจากไม่มีการจัดทำระบบสินค้าคงคลัง ไม่มีการบันทึกข้อมูลสินค้าคงคลัง ขาดการวางแผนการจัดซื้อ การจัดสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่ จากปัญหาดังกล่าวคณะวิจัยได้ทำการใช้เครื่องมือการจัดการ ในการแก้ไขปัญหาดังนี้ การจัดทำใบบันทึกรายการสินค้า (Stock card) การใช้ทฤษฎี ABC Analysis ทฤษฎี EOQ การกำหนดกระบวนการ การทำงานของการบริหารสินค้าคงคลัง แนวคิด 5 ส. สินค้าค้างสต๊อกมีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหาร สินค้าคงคลัง สามารถทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีการตรวจนับสินค้าคงคลังและจัดทำใบบันทึกรายการสินค้า (Stock card) สินค้าคงคลังมีการจัดเรียงหมวดหมู่ตามประเภท มีการวางแผนการ จัดซื้อที่เหมาะสม และมีการระบายสินค้าค้างสต๊อก ผลจากการดำเนินงานทำให้ต้นทุนสินค้าค้างสต๊อกลดลง สรุปผลการวิจัยจากการนำเครื่องมือมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าสินค้าคงคลังโดยลดการสั่งซื้อที่ซ้ำซ้อนสามารถคิดเป็นเงิน ลดลงได้ 1,533,600 บาท และปรับปรุงกระบวนการทำงานในระบบสินค้าคงคลังจัดทำกลุ่มของสินค้า (Product Category) ลดปริมาณสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บลงสามารถคิดเป็นเงินลดลงได้ 671,700 บาท

 

Development of Inventory Management Systems: A Case Study Involving the Installation and Maintenance of Machines for SMEs

The objectives of this research were to improve the efficiency of inventory management, to enhance the inventory process by categorizing products, and to reduce the level of non-moving inventory, storage volume and storage costs. The researchers used check sheets and Ishikawa diagrams to analyze the problem and to uncover solutions. The analysis showed that the inventory problems were the result of a lack of inventory management, poor records of products in stock, a lack of planning for purchasing, and a lack of product categories. To solve the problems, the research team employed ABC inventory analysis and the economic order quantity (EOQ) concept to implement better inventory processes. 5S inventory practices were used to check inventory, record the inventory onto stock cards, categorize products, plan purchasing, and reduce stock volume. The suggested inventory practices could save up to 1,533,600 baht in repeat purchases and the inventory management could improve product categorization, and reduce non-moving inventory, storage volume and storage costs to 671,700 baht.

Downloads