การหาพื้นที่ของรูปทรงสองมิติบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ด้วยการประมวลผลภาพ

Authors

  • เอกลักษณ์ สุมนพันธุ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 63000 โทร 055515303 โทรสาร 055515303
  • สมคิด สุขสวัสดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 63000 โทร 055515303 โทรสาร 055515303
  • จิรวัฒน์ แก้วคง สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 63000 โทร 055515303 โทรสาร 055515303
  • สุทธิพงศ์ ชัยประภา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 63000 โทร 055515303 โทรสาร 055515303

Keywords:

พื้นที่, รูปทรง, การประมวลผลภาพ, แอนดรอยด์, Area, Shape, Image Processing, Android

Abstract

การหาพื้นที่ของรูปทรง 2 มิติ ใด ๆ สามารถหาพื้นที่ได้ด้วยการคำนวณตามสมการพื้นฐาน ทั่วไป กรณีที่รูปทรงของวัตถุเป็นรูปทรงมาตรฐาน เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หรือวงกลม ฯลฯ ในกรณีที่วัตถุรูปทรง 2 มิติ ที่มีลักษณะของรูปทรงที่ไม่ใช่รูปทรงมาตรฐาน การคำนวณหาพื้นที่ทำได้ ยากเพราะต้องใช้สมการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น งานวิจัยนี้ ได้พัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ โดยถ่ายภาพตัวอย่างของรูปทรง 2 มิติที่ต้องการหาพื้นที่ พร้อมกับรูปทรงวัตถุตัวอย่าง 2 มิติใด ๆ ที่ทราบขนาดของพื้นที่แน่นอน เพื่อใช้หาอัตราส่วนของตารางเซนติเมตรต่อพิกเซล ในการ ปรับเทียบขนาดพื้นที่ของวัตถุรูปทรง 2 มิติที่ต้องการทราบขนาด จากผลการทดลองที่ได้พบว่าระยะ โฟกัสจากหน้ากล้องถึงตัววัตถุรูปทรงที่สามารถคำนวณระยะได้แม่นยำมากที่สุดเท่ากับ 35 เซนติเมตร และร้อยละค่าความผิดพลาดเฉลี่ยในการค านวณพื้นที่ของรูป 2 มิติเท่ากับร้อยละ 3.176

 

Finding the Two Dimension Shape Area on the Android Operating System by Image Processing

Basic equations may be used to find the area of two-dimensional shapes, including squares, triangles, circles, etc. In the case of the two-dimensional shapes that are non-standard, the area is more difficult to calculate because this requires complex equations. This research developed applications on the android operating system to carry out these calculations. Photographs of two-dimensional shapes were used as samples to calculate area and these were compared to shapes for which the area was already known. This helped to determine the ratio of square centimeters per pixel with regard to an object's size. This ratio was then used to calibrate the size of 2D images. The results showed that the focal length of the camera to the object contours can be calculated as 35 centimeter and the average percentage error was 3.176%.

Downloads