ชุดเสริมทักษะโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเร่งรัดกิจกรรมแบบ PERT/CPM สนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Authors

  • ไพจิตร สุขสมบูรณ์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 119 หมู่ 9 ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100 โทร 054-237-399 โทรสาร 054-237-388

Keywords:

วิศวกรรมซอฟต์แวร์, การบริหารโครงงาน, สายงานวิกฤติ, Software Engineering, Project Management, Critical Paths

Abstract

บทความงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการสร้างสื่อสนับสนุนความรู้ความเข้าใจกระบวนการด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เรื่องการบริหารโครงการกรณีเร่งรัดกิจกรรมของโครงการ ด้วยการพัฒนาชุดเสริมทักษะโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเร่งรัดกิจกรรมแบบ PERT / CPM ซึ่งเป็นหลักการสำคัญหนึ่งที่วิศวกรซอฟต์แวร์ ที่มีบทบาทเป็นผู้บริหารโครงการต้องรู้และสามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ในการบริหารโครงการในอนาคตได้ ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อแสดงตัวอย่างการกำหนดกิจกรรม สร้างโครงข่ายงาน ค่าใช้จ่าย และใช้การคำนวณด้วยเทคนิค PERT / CPM และสร้างแบบทดสอบวัดทักษะก่อนและหลังเรียนรู้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของชุดเสริมทักษะนี้โดยกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 24 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test จากข้อมูลวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนาชุดเสริมทักษะได้รับการประเมินประสิทธิภาพในขั้นตอนเตรียมการผลิต และหลังพัฒนาเสร็จสมบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (2) กลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเร่งรัดกิจกรรมในโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์หลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.05 (3) ความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้เครื่องมือการวิจัยเรื่อง ชุดเสริมทักษะกรณีเร่งรัดกิจกรรมโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามหลักการของ PERT / CPM ด้านวิชาการและด้านการนำไปใช้ อยู่ในระดับดีมาก

 

Set of skills to accelerate software development activities PERT / CPM support learning in software engineering

The research aimed to develop skill enhancement software to increase understanding of software engineering. PERT/CPM are critical techniques in analyzing the tasks involved in completing projects so skill enhancement software for learning PERT/ CPM techniques was developed. The software can specify activities, networks, or costs in a given project using PERT/CPM techniques. The software was tested by 24 software engineering students from Lampang Rajabhat University. The data were analysed by means of percentage, mean, standard deviation and T-Test.

The result showed that (1) users assessed the skill enhancement software at the excellent level, (2) the level of understanding of the students was significantly higher after the post-test at p<0.05 and (3) the user’s satisfaction with the skill enhancement software was at the excellent level.

Downloads