การใช้ระบบติดตามจีพีเอสแบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับควบคู่สมาร์ตโฟน เพื่อใช้ติดตามรถขนส่ง กรณีศึกษาน้ำดื่มทิพย์เขลางค์

Authors

  • วีรชัย สว่างทุกข์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เลขที่ 119 หมู่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100 โทร 054-237352 โทรสาร 054-241079

Keywords:

ระบบติดตาม, จีพีเอส, สมาร์ตโฟน, ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส, Tracking System, GPS, Smartphone, open source software

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของซอฟต์แวร์ติดตาม GPS แบบเปิดรหัสร่วมกับ สมาร์ตโฟนสำหรับติดตาม บันทึกเส้นทาง ความเร็ว ตำแหน่งของรถขนส่ง โดยตรวจสอบตำแหน่งพิกัด ด้วยการรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS แล้วส่งข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลอื่น ๆ จากซอฟต์แวร์ไคลเอนต์ ที่ติดตั้งในสมาร์ตโฟนด้วยการรับส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น GPRS มาจัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ เพื่อแสดงตำแหน่งและเส้นทางของรถขนส่งบนแผนที่ โดยนำไปใช้งานกับผู้ประกอบการน้ำดื่มทิพย์เขลางค์ แล้วใช้แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานและประสิทธิภาพ จากผู้ใช้งานจำนวน 15 คน

ผลการศึกษาการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบด้านการแสดงผล มีการจัด หมวดหมู่ข้อมูลสำหรับแสดงผลอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 การใช้รูปแบบของตัวอักษร อยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ด้านประสิทธิภาพ ความถูกต้องในการสืบค้นข้อมูลอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ความถูกต้องของการแสดงผลบนแผนที่อยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ด้านการใช้งาน แผนที่มีความถูกต้องอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ความสะดวกในการ ค้นหาข้อมูลอยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80

จากการศึกษาพบว่าสามารถนำไปใช้งานทดแทนการใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์การติดตาม ที่มีจำหน่ายอยู่ได้และมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ถูกกว่า ในการแสดงตำแหน่งของรถขนส่งบนแผนที่ ได้ถูกต้องเมื่อกำหนดให้ส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ในระยะเวลา 7 วินาที

 

Using open source GPS tracking system with smartphone for truck tracking case study of Tip Khelang drinking water

The objective of this research to study GPS tracking software open source with smart phone for tracking, monitoring path, location and truck speed. By receive signal from GPS satellite, then send location of truck and other information from smartphone by data channel of mobile phone such as GPRS, data will sent to storage in server for display location and route for truck on the map. Deployed to Tip Khelang drinking water, then satisfaction survey and performance by employee 15 person.

The result of study had the classification information for display average was 4.80, font display average was 4.47, accuracy of information average was 4.67, accuracy of marker on map average was 3.93, accuracy of map average was 4.67 and comfortable searching data average was 3.93.

This study had found that it can be instead of software and tracking devices available and saving cost, location of truck on map is correct when smart phone to send data to server for interval of 7 seconds.

Downloads